เรือนไทยทรงดำในความทรงจำ

คำสำคัญ : นครปฐม,นครสวรรค์,พิจิตร,พิษณุโลก,ราชบุรี,สุพรรณบุรี,สุโขทัย,เพชรบุรี,ไทดำ,
เรือนไทยทรงดำในความทรงจำ

        การสร้างเฮือนกระดองเต่านั้นไม่ใช้ตะปูในการตอก แต่ใช้หวายในการมัดตั้งแต่โครงหลังคาและปูด้วยหญ้าคา ส่วนโครงสร้างหลักก็อาศัยการเข้าไม้ตามแบบโบราณ ข้อสังเกตถึงความโดดเด่นของเฮือนกระดองเต่า น่าจะมองได้ 3 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างเรือน เทคนิคการก่อสร้าง และคติของการใช้พื้นที่ภายใน


โครงสร้างและบางเทคนิคก่อสร้าง


         หลังคาโค้งดังกล่าวจะเรียกว่า กวางตุ๊บ สร้างขึ้นจากไม้รวกที่ถูกมัดรวบด้วยกันเป็นลักษณะกลม โดยการเหลื่อมของไม้รวกทำให้สามารถต่อได้ยาวตลาดรอบเรือน ภูมิชาย พันธุ์ไพโรจน์ กล่าวว่าโครงส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นแปและช่วยรัดรวบเสริมให้เกิดความแข็งแรงโดยรวมกับหลังคาทั้งหมด ยอดจั่วบนหลังคาบ้านมีการประดับด้วยไม้แกะสลักเป็นกิ่งคล้ายเขาควาย หรือเขากวางไขว้กัน เรียกว่า “ขอกุด”

ซึ่งแบ่งตามฐานะและตระกูล เช่น ขอกุดจิม ขอกุดบัว ขอกุดหม้าย เป็นต้น
ลวกเป็นลำ แต่การที่เราต้องเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เราก็ต้องรับแขก 
เพื่อความมั่นคงแข็งแรง ก็ต้องกลายเป็นแบบนี้ นอกชาน ก็เป็นไม้
กระดานวางห่าง ๆ หากฝนตก แดดออก ก็ตากแดด น้ำก็รอดลงใต้ถุน

การใช้สอยพื้นที่ในเรือน


จั่วนั้นจะต้องขึ้นเหนือและลงใต้ เป็นบ้านขวางตะวัน ในคำว่า บ้านขวางตะวัน

บ้านจะบังแดด เวลาตกก็จะบังแดด และบ้านก็จะรับลมเหนือและใต้

เขาสร้างบ้านตามหลักภูมิศาสตร์ด้วย ให้บังแดด ให้รับลม เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษ

เขาตั้งเป็นกฎเกณฑ์ไว้เพื่อให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้


         อธิป ย้อนเพชร ผู้ดูแลศูนย์ฟื้นฟูวัฒนธรรมไตดำโบราณ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวถึงรูปแบบการก่อสร้างโดยรอบของเรือนไทดำ ลักษณะสำคัญดังกล่าวมักจะเป็นเรือนที่แบบหลังคาไม่มีจั่ว หลังคายกอกไก่สูง มุงด้วยตับต้นกกและลาดคลุมเป็นรูปคล้ายกระโจมจรดฝา เมื่อมองจากระยะไกล เหมือนไม่มีฝาบ้าน เพราะหลังคาคลุมจนมองไม่เห็น เรือนแบบนี้ไม่มีหน้าต่างเพราะภูมิประเทศในเวียดนามและลาว อยู่ตามเทือกเขา อากาศหนาวเย็น ส่วนพื้นปูด้วยฟากไม้ไผ่ มีใต้ถุนบ้านสูงโดยใต้ถุนบ้านใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ด้วย



ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำบ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี, ชุดเอกสารของ ดร.ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ


กวางตุ๊บหลังคาโค้งที่ใช้กับมัดไม้รวกดัดเป็นโครงหลังคาศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี



พื้นเรือนที่มีการสร้างแบบดั้งเดิมเพื่อแสดงให้เห็นเทคนิคการมัดและรูปแบบของเรือนดั้งเดิม วัดดอนมะเกลือ จังหวัดสุพรรณบุรี



ขอกุดเอกลักษณ์ของเรือน ที่เกี่ยวข้องกับตำนานของชาวไทยทรงดำศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำวัดดอนอภัย ตำบลบ่อทอง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก


ลักษณะของพื้นเรือที่ใช้ไม้เนื้อแข็งสำหรับรองรำปริมาณผู้มาเยือนศูนย์วัฒนธรรมศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำดอนมะนาว วัดดอนมะนาว ตำบลบางเลน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี



ชานเรือนพื้นปูนและเสาคอนกรีตรองรับผู้มาเยือนจำนวนมากและกั้นเป็นผนังทางเข้าเรือนให้มีลักษณะเป็นสัดส่วนศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหนองจิกบ้านหนองจิก ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี



สังเกตหลังคากระเบื้องลอนวัสดุทดแทนการมุงด้วยวัสดุธรรมชาติเพื่อประหยัดงบประมาณในการดูแลศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำบ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี


        เรือนกระดองเต่าของศูนย์วัฒนธรรมหลายแห่งเป็นสถานที่สำคัญ ในหนึ่งรอบปี มีการจัดงานวันไทยทรงดำเพื่อเฉลิมฉลองและแสดงถึงความเป็นไทยทรงดำหรือไทดำ ส่วนภายในเรือน มักได้รับการจัดแสดงภายในมักนำเสนอภาพของการดำเนินชีวิตตามจินตนาการหรือความทรงจำ

        บริเวณของเรือนแบ่งได้เป็นส่วน บนเรือน มีส่วนที่เป็นหน้าบ้านหรือเรียกว่ากวานต้าว หรือสถานที่ที่หลับนอนของบรรพบุรุษในบ้านในสมัยก่อน แขกสำคัญหรือแขกที่มาหาเรื่องงานพิธีอย่างเป็นทางการ จะต้องมาหาด้วยการขึ้นลงทางนี้ นอกจากนี้ ยังเป็นทางขึ้นของผู้ชาย บันไดในบริเวณกวานต้าว สามารถยกขึ้นมาเก็บไปได้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนขึ้น” ส่วนอีกฝั่งเป็นชานบ้านที่เรียกเนาะจาน หรือกวานจาน ตามคติปฏิบัติถือว่าเป็นทางขึ้นของผู้หญิง หรือฝั่งลูกเขยและลูกสะใภ้ ชานที่ยื่นออกไปกลางแจ้งเป็นบริเวณสำหรับการซักล้าง

        ภายในเรือน มักถ่ายทอดเรื่องราวใน 2 ลักษณะ นั่นคือ ความเป็นอยู่และความเชื่อ

        บริเวณที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่มักแสดงถึงการดำเนินชีวิต เช่น การประกอบอาหารหรือส่วนที่เรียกว่าครัวไฟ ครัวไฟมีส่วนสำคัญในการให้ความอบอุ่นกับบ้านเพราะบริเวณที่ตั้งถิ่นฐานแต่เดิมนั้นอากาศเย็น นอกจากนี้ เรือนทรงกระดองเต่ามักทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ฟาก หญ้าคา ควันและละอองจากการจุดไฟเป็นสารช่วยให้แมลงไม่เข้ามาอยู่ในบ้าน และรักษาบ้านให้คงทน เหนือเตาไฟมีส่วนที่เรียกว่า ‘ ส่า ’ สำหรับมีการถนอมอาหารที่วางไว้ในบริเวณนั้น

        นอกจากการทำครัวแล้ว เรื่องราวของกิจวัตรประจำวันยังปรากฏในบริเวณที่เป็นพื้นที่สำหรับการหลับนอน มักนำเสนอด้วยมุ้งสีดำและ “ เสื่อ ” หรือฟูกที่เป็นสีดำ มีการทำลวดลายอยู่ที่ด้านข้าง แสดงให้เห็นทิศทางการนอนของสมาชิกภายในครัวเรือน


ครัวไฟ ห้องนอน และห้องบรรพบุรุษ ศูนย์ฟื้นฟูวัฒนธรรมไตดำโบราณ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี



        บริเวณที่เป็นกะล้อห่องหรือห้องบรรพบุรุษ มีผนังไม้ไผ่กั้นไว้อย่างเป็นสัดส่วน สมาชิกผู้ชายและผู้อาวุโสจะเข้าไปเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษตามรอบวันที่กำหนดไว้แตกต่างกันระหว่างครอบครัวที่สืบทอดจากผู้ต้าว (บรรพชนเป็นท้าว) กับผู้น้อย (บรรพชนเป็นคนสามัญ) ภายในไม่มีรูปเคารพ แต่อาศัยการกำหนดมุมของเรือนเป็นบริเวณสำหรับเซ่นไหว้บรรพชน ในศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ / ไทดำอีกหลายแห่ง ไม่พบการแบ่งห้องบรรพบุรุษไว้อย่างเป็นสัดส่วน อาศัยเพียงการวางเครื่องเซ่นไว้ที่มุมเสาฝั่งตรงข้ามกับบันไดทางขึ้นเรือน

        ส่วนใต้ถุนบ้านจะสูงโล่งกว้าง ใช้เก็บสิ่งของเครื่องใช้ ในทุกวันนี้ ใต้ถุนกลายเป็นสถานที่ของการนำเสนอการทอผ้าและใช้เป็นบริเวณต้อนรับผู้มาเยือน หลายแห่งจะพบกี่ทอผ้าเพียงหนึ่งถึงสองหลัง ในขณะที่อีกหลายแห่ง กลายเป็นศูนย์หัตถกรรมของกลุ่มแม่บ้านที่ผลิตสินค้าวัฒนธรรมจากงานฝีมือให้กับผู้สนใจ


ไม้ง่ามเสาเรือน ศูนย์ฟื้นฟูวัฒนธรรมไตดำโบราณ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

        นอกเหนือจากเรื่องราวของโครงสร้างเรือนและพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านแล้ว ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ / ไทดำมักนำเสนอหุ่นจัดแสดงเครื่องแต่งกายทั้งชายและหญิงได้รับการนำเสนอเอาไว้ ที่เป็นชุดแต่งกายในชีวิตประจำวันและที่ใช้ในพิธีกรรม และงานปักผ้าเปียวและการตกแต่งหน้าหมอน เพื่ออธิบายถึงการสืบทอดวัฒนธรรมการทอผ้าของผู้หญิงไทดำและความพร้อมในการออกเหย้าออกเรือน

        ส่วนเครื่องจักสานที่เป็นทั้งเครื่องมือทางการเกษตรและเครื่องใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกะเหล็บที่ใช้ใส่ข้าวของ มีรูปทรงคล้ายตุ่มน้ำดินเผา แต่มีก้นสอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปากกลม ถักด้วยหวาย สำหรับบอกเล่าถึงความสามารถของผู้ชายที่ต้องสานกะเหล็บเป็น และแสดงว่าตนเองนั้นเป็นผู้ที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้าครอบครัว



เครื่องแต่งกาย ศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยทรงดำ ดอนคลัง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง ตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

เรือนไทยทรงดำในความทรงจำ

        การสร้างเฮือนกระดองเต่านั้นไม่ใช้ตะปูในการตอก แต่ใช้หวายในการมัดตั้งแต่โครงหลังคาและปูด้วยหญ้าคา ส่วนโครงสร้างหลักก็อาศัยการเข้าไม้ตามแบบโบราณ ข้อสังเกตถึงความโดดเด่นของเฮือนกระดองเต่า น่าจะมองได้ 3 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างเรือน เทคนิคการก่อสร้าง และคติของการใช้พื้นที่ภายใน


โครงสร้างและบางเทคนิคก่อสร้าง


         หลังคาโค้งดังกล่าวจะเรียกว่า กวางตุ๊บ สร้างขึ้นจากไม้รวกที่ถูกมัดรวบด้วยกันเป็นลักษณะกลม โดยการเหลื่อมของไม้รวกทำให้สามารถต่อได้ยาวตลาดรอบเรือน ภูมิชาย พันธุ์ไพโรจน์ กล่าวว่าโครงส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นแปและช่วยรัดรวบเสริมให้เกิดความแข็งแรงโดยรวมกับหลังคาทั้งหมด ยอดจั่วบนหลังคาบ้านมีการประดับด้วยไม้แกะสลักเป็นกิ่งคล้ายเขาควาย หรือเขากวางไขว้กัน เรียกว่า “ขอกุด”

ซึ่งแบ่งตามฐานะและตระกูล เช่น ขอกุดจิม ขอกุดบัว ขอกุดหม้าย เป็นต้น
ลวกเป็นลำ แต่การที่เราต้องเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เราก็ต้องรับแขก 
เพื่อความมั่นคงแข็งแรง ก็ต้องกลายเป็นแบบนี้ นอกชาน ก็เป็นไม้
กระดานวางห่าง ๆ หากฝนตก แดดออก ก็ตากแดด น้ำก็รอดลงใต้ถุน

การใช้สอยพื้นที่ในเรือน


จั่วนั้นจะต้องขึ้นเหนือและลงใต้ เป็นบ้านขวางตะวัน ในคำว่า บ้านขวางตะวัน

บ้านจะบังแดด เวลาตกก็จะบังแดด และบ้านก็จะรับลมเหนือและใต้

เขาสร้างบ้านตามหลักภูมิศาสตร์ด้วย ให้บังแดด ให้รับลม เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษ

เขาตั้งเป็นกฎเกณฑ์ไว้เพื่อให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้


         อธิป ย้อนเพชร ผู้ดูแลศูนย์ฟื้นฟูวัฒนธรรมไตดำโบราณ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวถึงรูปแบบการก่อสร้างโดยรอบของเรือนไทดำ ลักษณะสำคัญดังกล่าวมักจะเป็นเรือนที่แบบหลังคาไม่มีจั่ว หลังคายกอกไก่สูง มุงด้วยตับต้นกกและลาดคลุมเป็นรูปคล้ายกระโจมจรดฝา เมื่อมองจากระยะไกล เหมือนไม่มีฝาบ้าน เพราะหลังคาคลุมจนมองไม่เห็น เรือนแบบนี้ไม่มีหน้าต่างเพราะภูมิประเทศในเวียดนามและลาว อยู่ตามเทือกเขา อากาศหนาวเย็น ส่วนพื้นปูด้วยฟากไม้ไผ่ มีใต้ถุนบ้านสูงโดยใต้ถุนบ้านใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ด้วย



ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำบ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี, ชุดเอกสารของ ดร.ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ


กวางตุ๊บหลังคาโค้งที่ใช้กับมัดไม้รวกดัดเป็นโครงหลังคาศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี



พื้นเรือนที่มีการสร้างแบบดั้งเดิมเพื่อแสดงให้เห็นเทคนิคการมัดและรูปแบบของเรือนดั้งเดิม วัดดอนมะเกลือ จังหวัดสุพรรณบุรี



ขอกุดเอกลักษณ์ของเรือน ที่เกี่ยวข้องกับตำนานของชาวไทยทรงดำศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำวัดดอนอภัย ตำบลบ่อทอง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก


ลักษณะของพื้นเรือที่ใช้ไม้เนื้อแข็งสำหรับรองรำปริมาณผู้มาเยือนศูนย์วัฒนธรรมศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำดอนมะนาว วัดดอนมะนาว ตำบลบางเลน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี



ชานเรือนพื้นปูนและเสาคอนกรีตรองรับผู้มาเยือนจำนวนมากและกั้นเป็นผนังทางเข้าเรือนให้มีลักษณะเป็นสัดส่วนศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหนองจิกบ้านหนองจิก ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี



สังเกตหลังคากระเบื้องลอนวัสดุทดแทนการมุงด้วยวัสดุธรรมชาติเพื่อประหยัดงบประมาณในการดูแลศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำบ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี


        เรือนกระดองเต่าของศูนย์วัฒนธรรมหลายแห่งเป็นสถานที่สำคัญ ในหนึ่งรอบปี มีการจัดงานวันไทยทรงดำเพื่อเฉลิมฉลองและแสดงถึงความเป็นไทยทรงดำหรือไทดำ ส่วนภายในเรือน มักได้รับการจัดแสดงภายในมักนำเสนอภาพของการดำเนินชีวิตตามจินตนาการหรือความทรงจำ

        บริเวณของเรือนแบ่งได้เป็นส่วน บนเรือน มีส่วนที่เป็นหน้าบ้านหรือเรียกว่ากวานต้าว หรือสถานที่ที่หลับนอนของบรรพบุรุษในบ้านในสมัยก่อน แขกสำคัญหรือแขกที่มาหาเรื่องงานพิธีอย่างเป็นทางการ จะต้องมาหาด้วยการขึ้นลงทางนี้ นอกจากนี้ ยังเป็นทางขึ้นของผู้ชาย บันไดในบริเวณกวานต้าว สามารถยกขึ้นมาเก็บไปได้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนขึ้น” ส่วนอีกฝั่งเป็นชานบ้านที่เรียกเนาะจาน หรือกวานจาน ตามคติปฏิบัติถือว่าเป็นทางขึ้นของผู้หญิง หรือฝั่งลูกเขยและลูกสะใภ้ ชานที่ยื่นออกไปกลางแจ้งเป็นบริเวณสำหรับการซักล้าง

        ภายในเรือน มักถ่ายทอดเรื่องราวใน 2 ลักษณะ นั่นคือ ความเป็นอยู่และความเชื่อ

        บริเวณที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่มักแสดงถึงการดำเนินชีวิต เช่น การประกอบอาหารหรือส่วนที่เรียกว่าครัวไฟ ครัวไฟมีส่วนสำคัญในการให้ความอบอุ่นกับบ้านเพราะบริเวณที่ตั้งถิ่นฐานแต่เดิมนั้นอากาศเย็น นอกจากนี้ เรือนทรงกระดองเต่ามักทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ฟาก หญ้าคา ควันและละอองจากการจุดไฟเป็นสารช่วยให้แมลงไม่เข้ามาอยู่ในบ้าน และรักษาบ้านให้คงทน เหนือเตาไฟมีส่วนที่เรียกว่า ‘ ส่า ’ สำหรับมีการถนอมอาหารที่วางไว้ในบริเวณนั้น

        นอกจากการทำครัวแล้ว เรื่องราวของกิจวัตรประจำวันยังปรากฏในบริเวณที่เป็นพื้นที่สำหรับการหลับนอน มักนำเสนอด้วยมุ้งสีดำและ “ เสื่อ ” หรือฟูกที่เป็นสีดำ มีการทำลวดลายอยู่ที่ด้านข้าง แสดงให้เห็นทิศทางการนอนของสมาชิกภายในครัวเรือน


ครัวไฟ ห้องนอน และห้องบรรพบุรุษ ศูนย์ฟื้นฟูวัฒนธรรมไตดำโบราณ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี



        บริเวณที่เป็นกะล้อห่องหรือห้องบรรพบุรุษ มีผนังไม้ไผ่กั้นไว้อย่างเป็นสัดส่วน สมาชิกผู้ชายและผู้อาวุโสจะเข้าไปเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษตามรอบวันที่กำหนดไว้แตกต่างกันระหว่างครอบครัวที่สืบทอดจากผู้ต้าว (บรรพชนเป็นท้าว) กับผู้น้อย (บรรพชนเป็นคนสามัญ) ภายในไม่มีรูปเคารพ แต่อาศัยการกำหนดมุมของเรือนเป็นบริเวณสำหรับเซ่นไหว้บรรพชน ในศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ / ไทดำอีกหลายแห่ง ไม่พบการแบ่งห้องบรรพบุรุษไว้อย่างเป็นสัดส่วน อาศัยเพียงการวางเครื่องเซ่นไว้ที่มุมเสาฝั่งตรงข้ามกับบันไดทางขึ้นเรือน

        ส่วนใต้ถุนบ้านจะสูงโล่งกว้าง ใช้เก็บสิ่งของเครื่องใช้ ในทุกวันนี้ ใต้ถุนกลายเป็นสถานที่ของการนำเสนอการทอผ้าและใช้เป็นบริเวณต้อนรับผู้มาเยือน หลายแห่งจะพบกี่ทอผ้าเพียงหนึ่งถึงสองหลัง ในขณะที่อีกหลายแห่ง กลายเป็นศูนย์หัตถกรรมของกลุ่มแม่บ้านที่ผลิตสินค้าวัฒนธรรมจากงานฝีมือให้กับผู้สนใจ


ไม้ง่ามเสาเรือน ศูนย์ฟื้นฟูวัฒนธรรมไตดำโบราณ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

        นอกเหนือจากเรื่องราวของโครงสร้างเรือนและพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านแล้ว ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ / ไทดำมักนำเสนอหุ่นจัดแสดงเครื่องแต่งกายทั้งชายและหญิงได้รับการนำเสนอเอาไว้ ที่เป็นชุดแต่งกายในชีวิตประจำวันและที่ใช้ในพิธีกรรม และงานปักผ้าเปียวและการตกแต่งหน้าหมอน เพื่ออธิบายถึงการสืบทอดวัฒนธรรมการทอผ้าของผู้หญิงไทดำและความพร้อมในการออกเหย้าออกเรือน

        ส่วนเครื่องจักสานที่เป็นทั้งเครื่องมือทางการเกษตรและเครื่องใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกะเหล็บที่ใช้ใส่ข้าวของ มีรูปทรงคล้ายตุ่มน้ำดินเผา แต่มีก้นสอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปากกลม ถักด้วยหวาย สำหรับบอกเล่าถึงความสามารถของผู้ชายที่ต้องสานกะเหล็บเป็น และแสดงว่าตนเองนั้นเป็นผู้ที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้าครอบครัว



เครื่องแต่งกาย ศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยทรงดำ ดอนคลัง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง ตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี