Loading...

พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

ตั้งอยู่ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สถานที่ดังกล่าวเป็นเรือนของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี  ตั้งแต่มีการย้ายเมืองมายังกันตังเมื่อ พ.ศ. 2436 แต่ในช่วงทศวรรษ 2510-2530 เป็นระยะที่ไม่มีผู้อยู่อาศัย และมีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์โดยภาคส่วนต่าง ๆ ในระยะต่อมา

พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

ท่านมีช่วงชีวิตในรัชกาลที่ 5 และ 6 ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย จนได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการหลายจังหวัดในภาคใต้ เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต และเป็นองค์มนตรี ..2454
ท่านได้รับการขนานนามว่าบิดาแห่งยางพาราของไทยด้วยการส่งเสริมให้การปลูกยางพาราเป็นอาชีพหลักของคนในภาคใต้
ท่านถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2456

ความมุ่งหมายของพิพิธภัณฑ์

อดีตบ้านพักของท่านแห่งนี้อยู่ในความดูแลของลูกหลาน ในความรับผิดชอบของบริษัท เบียนเจง ณ ระนอง กับภรรยาและญาติมิตร ต่อมา พ.ศ. 2535-2536 การจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์โดยภาคส่วนต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ ในการการถ่ายทอดประวัติและคุณูปการของพระยารัษฎาฯ ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง

สุนทรี สังข์อยุทธ์ หนึ่งในผู้ร่วมจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

"เราทำข้อมูลก่อน จัดการหาคนอยู่ร่วมสมัยและคนอยู่ในบ้าน หนึ่งในนนั้นเป็นเครือญาติรุ่นหลานของท่านพระยารัษฎาฯ อีกกลุ่มเป็นบริวารในบ้าน รวมถึงคนภายนอกที่ทันเห็นพระยารัษฎาฯ เขาอายุ 70 ปีแล้วตอนที่เราไปสัมภาษณ์"

บรรยากาศภายในเรือน

เน้นการจำลองสภาพเรือน ให้สอดคล้องกับข้อมูลคำบอกเล่า 
เครื่องเรือนและเครื่องใช้คงอยู่ติดกับบ้าน จึงเสริมบรรยากาศให้พิพิธภัณฑ์ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้คนในเรือน

ในห้องหนังสือ

แกลอรี่ภาพผู้ว่าราชการจังหวัดตรังสมัยตั้งเมืองที่อำเภอกันตัง จากพระยารัษฎาฯ (.. 2433-2444) ถึงพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สิน เทพหัสดินทร์) (.. 2457-2459) และภาพถ่ายสถานที่สำคัญในกันตัง เช่น เทศบาลตำบลกันตัง ซึ่งหลายแห่งไม่มีให้เห็นแล้วในปัจจุบัน

โถงทางเข้า

หุ่นจำลองพระยารัษฎาฯเป็นสื่อแทนความหมายถึงบุคคลที่มีคุณค่าต่อสังคมและบ้านเมือง บุคคลที่ควรเคารพยกย่องจดจำไว้เป็นแบบอย่าง
เรื่องเล่าที่กล่าวถึงกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เคยถามพระยารัษฎาฯว่าทำอย่างไรจึงจะเป็นเจ้าเมืองที่ดีคำตอบคือต้องซดน้ำชาอยู่ที่จวน ซดเสร็จแล้วไปเที่ยวคุยกับราษฎรนั่นคือ พยายามชี้ให้เห็นว่า เจ้าเมืองต้องอาศัยการไตร่ตรองและวางแผน และพูดคุยกับราษฎรในพื้นที่

ในห้องครัว

กระทะใบบัวเป็นสิ่งที่บ่งบอกจำนวนผู้อยู่อาศัยยุวมัคคุเทศก์ชี้ชวนให้ผู้ชมสังเกตสิ่งต่าง ในการนำเสนอ

เรื่องราวของสมาชิกในครอบครัว

โถงกลางชั้นบนจัดแสดงภาพถ่ายสายตระกูลของพระยารัษฎาฯ เหนือโต๊ะคล้ายแท่นเคารพ และภายในห้องเบียนเจง แสดงภาพของกิจกรรมของทายาทที่ทำคุณูปการไว้กับจังหวัดตรัง

รูปแบบสำคัญของพิพิธภัณฑ์บ้านบุคคลสำคัญ

พิพิธภัณฑ์ต้องอาศัยกระบวนการทำงานจากทั้งวัตถุหลักฐานและคำให้การของผู้ที่เกี่ยวข้อง

บ้านและเจ้าของเรือนกลายเป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดแบบอย่างของผู้ที่ทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

บ้านหลวงราชไมตรี

ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ในเขต “ชุมชนริมน้ำจันทบูร” ในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี ที่เคยเป็นศูนย์กลางสำคัญและย่านการค้าของคนไทย คนจีน และคนณวณ ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ 

ย่านเก่าริมน้ำ

จากการขยายตัวของเส้นทางสัญจรทางบก ศูนย์กลางการค้าย้ายไปพื้นที่อื่น ส่งผลให้ย่านตลาดท่าหลวงซบเซาช่วง ทศวรรษ 2500
เหตุการเพลิงไหม้ 2533 ส่งผลให้ชาวชุมชนบางส่วนย้ายออกไปในพื้นที่ถัดออกมา ตลาดน้ำพุ ตลาดวัดส่วนมะม่วงเป็นอาทิ

การฟื้นฟูจากความร่วมมือ

•2552-2554 การสนับสนุนจากพาณิชย์จังหวัดจันทบุรีและการสนับสนุนทางวิชาการจากสถาบันอาศรมศิลป์ 

การจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วม การประกวดตั้งชื่อ ริมน้ำจันทบูร และสร้างสรรค์ตราสัญลักษณ์ที่มีดวงจันทร์และสายน้ำ คล้ายเลขสื่อถึงยุคสมัยรุ่งเรืองของพื้นที่

การปรับปรุงบ้านขุนอนุสรสมบัติเป็นบ้านเรียนรู้ของชุมชนและกิจกรรมที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องในการสืบค้นประวัติบ้านและความงามของสถาปัตยกรรม 

ประภาพรรณ ฉัตรมาลัย, ประธานชุมชนริมน้ำจันทบูร

ในระยะแรกยังผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนพูดคุยเพื่อหาแนวทาง แล้วพาไปดูงาน พอไปดูตลาดสามชุก บอกว่าไม่ชอบ เพราะเราเคยอยู่กันมาเงียบ ...พอตั้งชื่อเสร็จ เราก็จัดอีเวนต์ คือกิจกรรมเริ่มมาเองโดยไม่ได้คิดล่วงหน้า ...ชาวบ้านเองเริ่มคุยว่าเรามีนั่นมีนี่ ตัวเองก็ไปเก็บข้อมูล ก็เลยมากำหนดวิสัยทัศน์

ในการถ่ายทอดเรื่องราวของ "ชุมชนริมน้ำจันทบูร"

เรื่องราวต้องเกี่ยวข้องกับ 3 ประเด็น คือ  ความงดงามของอาคาร  ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5  วิถีชีวิตของชุมชน

โครงการเรือนพักประวัติศาสตร์

•“บ้านหลวงราชไมตรีเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองเก่าที่ต้องการให้สร้างรายได้แก่ชุมชน และยังเป็นสถานที่สำหรับการเรียนรู้และการท่องเที่ยว 

บริษัท จันทบูรรักษ์ จำกัด อาศัยการระดมทุนของคนในพื้นที่ และนอกพื้นที่ กลายเป็นกิจการเพื่อสังคมหรือ social enterprise 

สถาบันอาศรมศิลป์เป็นผู้ดูแลโครงการบูรณะอาคาร ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาชุมชนริมน้ำจันทบูร

ความหมายในความงาม

.. 2551 ครบร้อยปีชาตกาลของหลวงราชไมตรีบิดาแห่งยางพาราภาคตะวันออก” 
ชาวสวนยางพาราสร้างอนุสรณ์หลวงราชไมตรีไว้ที่ทางขึ้นน้ำตกพลิ้ว อันเป็นที่ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางจันทบุรี
บ้านหลวงราชไมตรีเป็นสถานที่ถ่ายทอดเรื่องราวคุณความดีของหลวงราชไมตรี และซึมซับกับบรรยากาศภายในที่มีการปรับปรุงเป็นห้องพัก 12 ห้อง และส่วนจัดแสดงข้าวของที่บอกเล่าชุมชนและประวัติเจ้าของเรือน

สิ่งจัดแสดง

พื้นที่ด้านล่าง ด้านหน้าปรับเป็นโถงต้อนรับ และมีห้องพักจำนวน 4 ห้อง

เอกสารและโบราณวัตถุได้รับการจัดแสดงไว้ในตู้กระจก ซึ่งเป็นสิ่งของที่ค้นพบในระหว่างการบูรณะบ้านหลวงราชไมตรี

พื้นที่ด้านหลัง

โรงครัวได้รับการปรับปรุงเป็นห้องพัก และใกล้กันนั้น กลายเป็นชานสำหรับการพักผ่อนและการรับประทานอาหาร 

บรรยากาศของสถานที่เชื้อเชิญให้ผู้มาเยือนสัมผัสกับแม่น้ำจันทบูร

ห้องพักเล่าประวัติเจ้าของเรือนและชุมชน

ชั้นบน ได้รับการจัดแบ่งห้องพักเพิ่มเติม ทั้งสิ้น 8 ห้อง 
แต่ละห้องกำหนดชื่อเรียกให้แตกต่างกัน และอาศัยการตกแต่งภายใน
การประดับตกแต่งเน้นเครื่องเรือนดั้งเดิมที่เป็นส่วนหนึ่งของอาคาร

ห้องวิถีจันท์

ใช้ภาพเก่า (สำเนา) ถ่ายทอดเรื่องราวของย่านท่าหลวง สถานที่สำคัญอย่างโบสถ์คริสต์ และการสัญจรทางน้ำ

ห้องอีสท์เอเชียติค

เป็นห้องพักบนชั้น 2 ติดริมน้ำ เตียงเคยเป็นเครื่องเรือนของสมาชิกในครอบครัวของหลวงราชไมตรี 

การเชื่อมต่อพื้นที่ภายใน

การปรับใช้พื้นที่ในอาคารเพื่อสอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยใหม่

บันไดเวียนนำขึ้นไปสู่ระเบียงนอกอาคาร ที่สร้างเป็นพื้นที่รองรับกับแขกผู้มาเยือนได้ชมบรรยากาศริมน้ำ

จุดบรรจบของประวัติศาสตร์กับกิจการเพื่อสังคม

• บ้านหลวงราชไมตรี นับเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้บ้านสู่เรือนพัก แต่คงบอกเล่าประวัติและสร้างบรรยากาศให้เหมาะสมกับสถานที่

• องค์ประกอบสำคัญ คือ กระบวนการจัดการ ดังที่ปัทมา ปรางค์พันธ์ ผู้จัดการเรือนพักประวัติศาสตร์แห่งนี้กล่าวไว้ว่า

เป้าหมายที่แท้จริงไม่ใช่กำไร แต่เป็นการส่งเสริมให้บ้านหลววงราชไมตรีและบ้านเรียนรู้ เลขที่ 69 อยู่คู่กับชุมชน ฉะนั้น การตลาดจึงต้องเรียนรู้เรื่องราวของชุมชนริมน้ำจันทรบูร และให้ความสำคัญกับพื้นที่และการท่องเที่ยวของจังหวัด

โฮงนิทัศน์ครูบาเจ้าศรีวิชัย

ตั้งอยู่  วัดจามเทวี อำเมืองเมืองลำพูน เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของประวัติครูบาศรีวิชัย และการเป็นประธานในการบูรณะและก่อสร้างวัดจามเทวีจนแล้วเสร็จ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดตั้งโดยกลุ่มสปิริตออฟลำพูน

ครูบาศรีวิชัยกับกิจกรรมเพื่อศาสนา

.. 2447-2481 ครูบาศรีวิขัยเป็นศูนย์รวมพลังศรัทธาของคนล้านนา เพื่องานสาธารณะประโยชน์  หนึ่งในนั้นคือ งานบูรณะวัดจามเทวี จังหวัดลำพูน รวมถึงการก่อสร้างพระวิหารและพระอุโบสถ ..2479-2480 


ศรัทธาไม่สิ้นสูญ

ด้วยความศรัทธาของลูกหลานชาวล้านนา ครูบาศรีวิชัยคงได้รับความเคารพนับถือในวัตรปฏิบัติ และเป็นแรงบันดาลใจ

ดังเช่น กิจกรรมสรงน้ำครูบา สงฺฆะ ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องในวันที่ 11 มิถุนายน อันเป็นวันคล้ายวันเกิดของครูบาศรีวิชัย 

(ในภาพ กู่ครูบาศรีวิขัยบรรจุเถ้าอัฐิในวัดจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน เป็น 1 ใน 6 แห่ง  เมื่อต้นทศวรรษ 2490)

สถานที่แห่งความทรงจำ

พระครูวินิฐธรรมโชติให้ใช้กุฏิหลังเดิมของครูบาชัยยะวงศาพัฒนา เพื่อเป็นโฮงนิทัศน์ครูบาเจ้าศรีวิชัย โดยกลุ่มสปิริตออฟลำพูนร่วมกันจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในการเผยแพร่ประวัติ และสะสมสิ่งจัดแสดงเพื่อสื่อถึงความศรัทธาของผู้คนต่อตนบุญแห่งล้านนา 


การจัดสรรพื้นที่การใช้ประโยชน์ใหม่ ภายหลังการบูรณะกุฏิ ประกอบด้วย
1.ห้องประดิษฐานรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย
2.ห้องจัดแสดงภายถ่ายครูบาฯ หลายอิริยาบถ
3.ห้องจัดแสดงหนังสือและสิ่งพิมพ์ที่สื่อถึงศรัทธา
4.ห้องจัดแสดงรูปภาพต้นฉบับ
5.ห้องแสดงพระบูชาครูบาศรีวิชัย
6.ห้องจำลองรูปเหมือนครูบาฯ ขณะรักษาอาการอาพาธ วัดจามเทวี

นเรนทร์ ปัญญาภู หนึ่งในสมาชิกกลุ่มสปิริตออฟลำพูน

โฮงเป็นคำที่ท่านเจ้าอาวาสกล่าวถึง เช่น โฮงเติมบุญ อันหมายถึงสถานที่ถวายปัจจัย
โฮงนิทศน์ครูบาเจ้าศรีวิชัย จึงเป็นทั้งสถานที่ของการสืบทอดมรดกความทรงจำสู่อนุชนรุ่นหลัง และยังเป็นบริเวณรองรับผู้คนจากโรงพยาบาลมาสักการะบูชา เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยและญาติ

สาระศึกษาครูบาเจ้าศรีวิชัย

เป็นห้องจัดแสดงเดียวที่มีภาพถ่ายต้นฉบับ ทั้งภาพถ่ายที่เคยอยู่หน้าศพครูบาศรีวิชัย และภาพบันทึกขบวนแห่ศพ

สื่อศรัทธาครูบาเจ้าศรีวิชัย

เกิดจากการรวบรวมสิ่งพิมพ์และวัตถุบูชาเกี่ยวเนื่องกับครูบาศรีชัย
สิ่งเหล่านี้สะท้อนศรัทธาของชาวล้านนาต่อครูบาฯ อย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น 

หมายเหตุครูบาเจ้าศรีวิชัย

ภาพถ่ายที่สื่อถึงครูบาศรีวิชัยในอิริยาบถและเหตุการณ์ต่าง
หนึ่งในนั่น แสดงภาพการห่มจีวรแบบภาคกลาง อันเป็นผลในการสอบอธิกรณ์ โดยปรากฏรูปพร้อมกับโยมอุปัฏฐาก โรงเรียนแห่งหนึ่งในนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร

ในบั้นปลาย

ห้องที่จำลองเหตุการณ์ในช่วงที่ครูบาศรีวิชัยจำพรรษา  กุฏิเดิมที่ใกล้กับกำแพงโรงพยาบาลลำพูน แต่การจำลองอาศัยข้อมูลจากการค้นคว้าจากคนในชุมชนที่แสดงให้เห็นว่าท่านไม่สะสมสิ่งใด เป็นอยู่อย่างสมถะ 
เราจำลองอากับปริยาของการนอนตะแคงเพราะเกิดจากการเจ็บป่วย เรายังใช้ผ้าที่เป็นฝ้าย เพราะท่านไม่ใช้ผ้าไหมที่มาจากสิ่งมีชีวิต

สถานที่เพื่อการรำลึก

แม้โฮงนิทัศน์ครูบาเจ้าศรีวิชัยไม่ใช่สถานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับครูบาฯ 

แต่วัตถุข้าวของ จากรูปเคารพถึงรูปจำลอง จากภาพถ่ายสู่สิ่งพิมพ์ สิ่งเหล่านี้สะท้อนความหมายของพิพิธภัณฑ์บ้านจากชุดสิ่งสะสมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

(ในภาพ ห้องสืบปฏิทา ครูบาเจ้าศรีวิชัย จัดแสดงรูปเคารพครูบาฯ อันเป็นวัตถุสักการะที่เชื่อมโยงความศรัทธาจากอดีตสู่ปัจจุบัน)

ชาติภูมิสถาน ป.อ.ปยุตฺโต

ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ณ ใบรัตนาคาร ในตลาดศรีประจันต์ เป็น "บ้านเกิด" ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ หรือที่ส่วนใหญ่คงรู้จักกันในนาม “ป.อ.ปยุตฺโต” พิพิธภัณฑ์บ้านแห่งนี้เกิดจากความร่วมมือของคนในตลาดศรีประจันต์และหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนับสนุน ในวาระที่ท่านได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพของยูเนสโก เมื่อครั้งที่ท่านดำรงสมณศักดิ์ “พระธรรมปิฎก” พ.ศ.2537 

ประวิทย์ บุญเรืองรอด หนึ่งในผู้ร่วมจัดตั้งชาติภูมิสถาน

•“ต้องการพัฒนาใบรัตนาคารให้เป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ ท่านเจ้าคุณสมเด็จฯ ที่ได้รับรางวัลระดับโลกเกิดตรงนี้
คณะทำงานและญาติของท่านเจ้าคุณซื้อใบรัตนคารและอาคารข้างเคียง และพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12  มกราคม 2549 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่าน

จำลองกิจการค้าดั้งเดิม

พื้นที่ส่วนหน้าจำลองกิจการค้าผ้า และการเย็บผ้า ของมารดาท่านเจ้าคุณสมเด็จฯ 

ตู้กระจกนำเสนอสินค้า จักรเย็บผ้า และเครื่องมืออุปกรณ์จัดเรียงเพื่อเล่าเรื่องราวและมีข้อความบอกเล่าถึงบทบาทของลูกสาวในการฝึกฝนการเย็บปักถักร้อย

สถานที่แรกของการศึกษา

ฉากห้องเรียนจำลองบอกเล่าถึงช่วง ..2480 ยังไม่มีโรงเรียนในตลาด 
•“มหาสำราญขออนุญาตกระทรวงธรรมการจัดตั้งโรงเรียนบำรุงวุฒิราษฎร์สำหรับสอนลูก และเด็กในละแวกบ้าน
ผนังจัดแสดงภาพในวัยเยาว์ของท่านเจ้าคุณสมเด็จฯ และเอกสารการศึกษาต่าง

ความเมตตาและความพอเพียง

ห้องครัวได้รับการปรับปรุงให้เป็นบริเวณในการถ่ายทอดบุคลิกภาพในช่วงท่าเจ้าคุณสมเด็จ

สำรับอาหารและหยูกยาที่สะท้อนความพอเพียงและความสมถะในสมณเพศ

ความเพียรและการใฝ่หาความรู้

ฉากตอนสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือ ภาพจำลองปกหนังสือต่าง ที่ท่านเจ้าคุณสมเด็จฯประพันธ์ 

ผลงานจำนวนมากนี้ชี้ชวนให้ผู้ชมเห็นถึงความไฝ่รู้และความเพียร 

กลิ่นอายของบ้านเรือน

บรรยากาศภายในเรือนเสริมด้วยเครื่องเรือนและสิ่งของจากการบริจาค วัตถุร่วมสมัยเหล่านี้ทำให้สภาพของใบรัตนาคารคงสภาพของความเป็นบ้านเกิดและสถานที่สำหรับการเรียนรู้ถึงแบบอย่างบุคคล 

ห้องฉายคุณธรรม

ห้องขนาดเล็กบนชั้นสองของชาติภูมิสถานเพิ่มเติมเรื่องราวเกี่ยวกับคุณธรรมอันเป็นแบบอย่างให้ผู้ชม ได้แก่ กตัญญู ขอไม่เป็นปก ประหยัดเนื้อที่ เป็นต้น

ส่วนกลางจัดแสดงวัตถุงานฝีมือที่ท่านเจ้าคุณสมเด็จฯ ประดิษฐ์ของเหลือใช้ให้กลับมาใช้งานอีกครั้ง 

การปรับเปลี่ยนครั้งล่าสุด

..2559 ท่านเจ้าคุณสมเด็จฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

นิทรรศการชั้นบนไล่เรียงเรื่องราวตั้งแต่ ..2448-2559 จนมาถึงภาพสุดท้าย “...ภาพพัดยศแสดงไว้ในตอนท้าย เพื่อให้ชาวบ้านที่มาแสดงความเคารพและบันทึกภาพไว้เป็นที่ระลึก

สถานที่เพื่อบ่มเพาะเยาวชนรุ่นหลัง

  • ชาติภูมิสถาน .. ปยุตฺโต ถ่ายทอดเรื่องราวเรียงร้อยของของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ จากวัยเยาว์สู่ปัจจุบัน 
  • แกนสำคัญคือการถ่ายทอดบุคลิกภาพและคุณธรรม ให้กับเยาวชนในการพัฒนาทั้งความรู้และคุณธรรมในตน 

บ้านหมอหวาน

ตั้งอยู่ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารสไตล์โคโลเนียล ย่านเสาชิงช้า ที่สืบทอดถึง 4 ชั่วอายุคน เป็นมรดกจาก นายหวาน รอดม่วง แพทย์แผนโบราณที่มีชีวิตในช่วง พ.ศ.2411-2488 

บำรุงชาติสาสนายาไทย

ปัจจุบัน คงเป็นทั้งบ้าน สถานปรุงยาและจำหน่าย และแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับยาแผนโบราณ ให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสกับคลังเรื่องราวของอดีตเจ้าของเรือน และความรู้ในการผลิตยาแผนไทย

รากฐาน

  • “หมอหวาน” เป็นแพทย์แผนไทยที่ต้องปรับตัวกับมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐที่มีต่อการแพทย์ในช่วงทศวรรษ 2440-2460  
  • ในเวลานั้น “บำรุงชาติสาสนายาไทย” เกิดขึ้นจากการปรับตัว โดยการใช้เครื่องมือแบบฝรั่งในการวินิจฉัยคนไข้ แต่คงใช้ตำรับยาแผนไทยในการรักษา

ภาสินี ยาโนทัย ทายาทรุ่นที่ 4

ความเปลี่ยนแปลงต่าง  เกิดขึ้น แม้จะมีการผลิตยาอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งปริมาณการผลิตและจำนวนลูกค้า ลดลงในช่วงหลายสิบปีนี้
•“เรารู้สึกว่าอาคารที่เป็นแหล่งผลิต ร้านขายยา และร้านที่หมอหวานใช้ชีวิต ต้องเป็นพิพิธภัณฑ์ เราต้องมีเรื่องเล่า
ภาสินี ใช้เวลาในการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับแพทย์แผนไทยและบูรณะอาคาร “บ้านหมอหวาน” ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

ทำนุบำรุง

การพัฒนาบ้านหมอหวานให้เป็นพิพิธภัณฑ์ ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์อาคาร และปรับภาพลักษณ์ให้ต้อนรับผู้คน
เช่น การใช้กรอบไม้และกระจกใส จัดแสดงขวดยาฝรั่ง เชื้อเชิญให้เข้ามาเยี่ยมเยือน และสร้างภาพแรกของสถานที่ปรุงยาและถ่ายทอดเรื่องราว

เครื่องเรือนไม้สร้างบรรยากาศ

การประดับตกแต่งภายในคงใช้เครื่องเรือนไม้ และจัดแสดงโบราณวัตถุ สร้างภาพลักษณ์ของความเก่าแก่และความน่าเชื่อถือให้กับสถานที่และผลิตภัณฑ์ที่ปรับให้เข้ายุคสมัย

รางบดยาโบราณ

รางบดยาโบราณ เสริมให้ผู้ชมเห็นกรรมวิธีผลิตยาไทยในอดีต 

ตัวอย่างสมุนไพร

ส่วนผสมเป็นสมุนไพรสำหรับปรุงยาเป็นส่วนหนึ่งของการอธิบายตำรับยาแผนไทย 

"พยานวัตถุ"

ขวดยาฝรั่งที่นำเข้าจากต่างประเทศสะท้อนการปรับตัวของหมอหวานเมื่อครั้งเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางการแพทย์ในสังคมไทย 

ภาพลักษณ์สินค้า

การพัฒนาแบรนด์มีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูให้ยาไทยเป็นที่นิยม และเป็นส่วนสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมของบ้านหมอหวานในฐานะพิพิธภัณฑ์
การปรับรูปแบบของเม็ดยา บรรจุภัณฑ์ รวมถึงสัญลักษณ์ที่ใช้ตราเฉลว ทำให้บ้านหมอหวานเป็นที่จดจำ

บ้าน-พิพิธภัณฑ์-ร้านจำหน่าย

บ้านหมอหวาน สะท้อนให้เห็นการประกอบการเชิงสร้างสรรค์ในยุคร่วมสมัย
กิจการผสมผสานทั้งภูมิปัญญาที่เป็นมรดกตกทอด และการพัฒนาต่อยอด จนกลายเป็นความลงตัวของแหล่งเรียนรู้กับกิจการเชิงพาณิชย์ที่ดำเนินไปควบคู่กัน

ขอบคุณ

ภาพถ่าย : ศิวพงษ์วงศ์คูณ
ผู้ให้ข้อมูล :อาจารย์สุนทรี สังข์อยุทธ์, ประภาพรรณ ฉัตรมาลัย, ปัทมา ปรางค์พันธ์, ภาสินี ญาโณทัย, อาจารย์ประวิทย์ บุญเรืองรอด, นเรนทร์ ปัญญาภู