ไทดำ-ไทยทรงดำ: ถิ่นฐานและมรดกวัฒนธรรม

คำสำคัญ : นครปฐม, นครสวรรค์, ประจวบคีรีขันธ์, พิจิตร, พิษณุโลก, สุพรรณบุรี, เพชรบุรี, เลย,
ไทดำ-ไทยทรงดำ: ถิ่นฐานและมรดกวัฒนธรรม

คนไทดำอพยพมาจากสิบสองจุไทเมื่อกว่าสองร้อยปีที่แล้ว โดยมีการกล่าวถึงการเคลื่อนย้ายเข้ามาสู่ประเทศไทยหลายระลอกด้วยกัน  

เมื่อครั้นแผ่นดินสมัยพระเจ้าตากสิน เมื่อ พ.ศ.2323 คนไทดำเคลื่อนย้ายจากหลวงพระบางมาเมืองม้วยในหัวพันและเมืองแถน ลาว มาตั้งรกรากในเพชรบุรี ใน 2 ปีต่อมา คนไทดำจากเมืองพวนในเชียงขวางและเมืองแถน เคลื่อนย้ายมาตั้งถิ่นฐานในเพชรบุรีเช่นกัน และมีต่อมาอีกหลายระลอกในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตามลำดับ การอพยพของคนไทดำระลอกสุดท้ายเกิดขึ้นในช่วงที่ลาวเปลี่ยนเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2518 กลุ่มคนไทดำจำนวนหนึ่งเคลื่อนย้ายข้ามแม่น้ำโขงเข้าสู่หนองคาย แต่กลุ่มนี้อพยพไปยังประเทศที่สาม ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐ และออสเตรเลีย

กลุ่มชนไทดำจึงตั้งรกรากอยู่ในหลายจังหวัดด้วยกัน ในเพชรบุรี และเคลื่อนย้ายขยายครอบครัวไปตั้งรกรายังจังหวัดอื่น ๆ ราชบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และยังมีการเคลื่อนย้ายไปทางเหนือ ในจังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก และบางกลุ่มข้ามแม่น้ำโขง ตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเลย

ศูนย์วัฒนธรรมไทดำหรือไทยทรงดำเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของกลุ่มลูกหลานชาวไทดำหรือไทยทรงหรือลาวโซ่ง โดยแสดงอัตลักษณ์สำคัญเป็นเฮือนกระดองเต่า ซึ่งเป็นบ้านไม้ทรงไทดำที่ได้รับการเล่าขานว่าเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชน หลังคาบ้านมีลักษณะโค้งเป็นกระโจม ขณะที่ยอดจั่วบนหลังคาบ้านมีการประดับด้วยไม้แกะสลักเป็นกิ่งคล้ายเขาควาย หรือเขากวางไขว้กัน เรียกว่า ขอกุด ภายในมักนำเสนอเรื่องราวของการดำเนินชีวิตตามประเพณี เช่น ครัวไฟ ห้องผีหรือ “กะล้อห่อง” ส่วนใต้ถุนบ้านจะสูงโล่งกว้าง ใช้เก็บสิ่งของเครื่องใช้ ในปัจจุบัน แต่ละบ้าน มีกำหนดการจัดงานเฉลิมฉลองกลุ่มไทดำประจำปีหมุนเวียนกัน โดยการจัดงานมักใช้ลานในบริเวณใกล้เคียงศูนย์วัฒนธรรม