เยี่ยมเยือนพิพิธภัณฑ์มอญ ได้รู้จักมอญ
คำสำคัญ : กรุงเทพมหานคร,นนทบุรี,ปทุมธานี,พระนครศรีอยุธยา,ราชบุรี,
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญ
บางกระดี่ กรุงเทพมหานคร
ธวัชพงศ์ มอญดะ ก่อตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญ บางกระดี่ เมื่อ พ.ศ. 2538 โดยใช้พื้นที่บริเวณใต้ถุนบ้านและศาลาริมน้ำในการจัดแสดงภาพถ่ายประเพณีการบวช การแต่งงาน งานศพ การแต่งกาย ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ตามเป็นวิถีมอญ โดยในเวลาต่อมาได้มีการสร้างเครือข่ายกับกลุ่มวัฒนธรรมมอญอื่น ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายมอญ บ้านขนมหวาน บ้านแส้ กลุ่มบ้านสานกก เป็นต้น เพื่อการท่องเที่ยววิถีมอญที่หลากหลาย ทั้งการทำขนมหวาน การเย็บจาก การชมศิลปวัฒนธรรมมอญและการละเล่นท้องถิ่น เป็นต้น
ด้วยการบริหารจัดการที่ดีเยี่ยม ทำให้เมื่อ พ.ศ. 2550
ชุมชนชาวมอญ บางกระดี่ ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของชาวมอญบางกระดี่ (5-19 เมษายน ของทุกปี)
ถือเป็นช่วงเวลาสุดแสนพิเศษ เพราะจะมีกิจกรรมวิถีมอญที่หลากหลาย เช่น
การร่วมด้วยช่วยกันกวนกะละแม การหุงข้าวแช่ การสรงน้ำพระ การเล่นสะบ้า การทรงเจ้า
เป็นต้น ถือเป็นเสน่ห์แห่งชุมชนที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด


พิพิธภัณฑ์วัดสิงห์ ปทุมธานี
พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่หลังกุฏิพระสงฆ์วัดสิงห์
อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากกรุสมบัติของวัด เช่น
พระพุทธรูป ตุ่มสามโคกของแท้ อิฐมอญแปดรู
แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ทรงถวายแด่พญากราย ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสเชื้อสายมอญในขณะนั้น
และรอยพระพุทธบาทไม้ที่จะนำออกมาให้ประชาชนสักการะเฉพาะในงานประจำปีของวัดเท่านั้น
สถานที่ต้องชมหากได้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วัดสิงห์นั้น
ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามนอกบริเวณวัด นั่นคือ เตาเผาตุ่มสามโคก
เป็นเตาที่ชาวมอญสร้างไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งอพยพมาบริเวณนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
เพื่อทำเครื่องปั้นดินเผา เช่น หม้อ โอ่ง ครก สำหรับค้าขาย จึงได้ว่าเป็นอีกพิพิธภัณฑ์วิถีมอญที่น่าหาโอกาสมาเยี่ยมชมยิ่งนัก


พิพิธภัณฑ์วัดปรมัยยิกาวาส นนทบุรี
พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในบริเวณวัดปรมัยยิกาวาส
เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาเป็นหลัก
เช่น เตาเผาจำลอง หุ่นจำลองเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
เพราะเป็นงานฝีมือที่มีชื่อเสียงของชาวเกาะเกร็ดและเป็นที่รู้จักถึงชื่อเสียงของเครื่องปั้นดินเผา
ภายในยังจัดแสดงสิ่งของอันเนื่องในวัฒนธรรมมอญที่สำคัญอีกหลายชิ้น
เช่น เหม (โกศมอญ) ที่ใช้ในงานพระราชทานเพลิงศพอดีตเจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส
พระไตรปิฎกภาษามอญ ที่ทำขึ้นในสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คัมภีร์รามัญต่าง ๆ
ในภาษามอญ กากะเยียหรือเครื่องสำหรับวางหนังสือใบลาน เป็นต้น



พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดทองบ่อและศูนย์ศึกษาชุมชนมอญ พระนครศรีอยุธยา
พิพิธภัณฑ์
ณ วัดทองบ่อ ก่อตั้งโดยพระครูอาทรพิพัฒนโกศล ภายในประดับตกแต่งด้วย โหน่
(ธงหรือตุง) สัญลักษณ์ของชาวมอญ และจัดแสดงสิ่งของที่เป็นสมบัติของวัดทองบ่อ เช่น
พระพุทธรูปทรงมอญ พระสาทิสลักษณ์กษัตริย์มอญหลายพระองค์
คัมภีร์งาช้างที่จารึกอักขระมอญโบราณ จารึกบทสวดมนต์และสรรพวิชาภาษามอญอีกมากมาย
ด้านหน้าวัด มีเสากระโดงเรือที่สันนิษฐานว่าเคยมีสำเภามาอับปางที่หน้าวัดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่มาของชื่อชุมชนบ้านเสากระโดง ท่านพระครูอาทรพิพัฒนโกศลตั้งใจฟื้นฟูและอนุรักษ์อัตลักษณ์ชาวมอญให้คงอยู่คู่กับชุมชนสืบไป
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง ราชบุรี
พิพิธภัณฑ์
ณ วัดม่วงเกิดขึ้นเมื่อราว
30 ปีที่แล้ว โดยเกิดจากการรวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ สะท้อนวิถีชีวิตชาวมอญที่เคลื่อนย้ายมาตั้งชุมชนริมแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันตกครั้งปลายกรุงศรีอยุธยา
ในระยะกว่าสิบปีที่ผ่านไป
มีการปรับปรุงและพัฒนาเป็น “ศูนย์มอญศึกษา” ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก นำเสนอเรื่องราวของมอญในแง่มุมต่าง
ๆ เช่น มอญในตำนานที่แสดงการสร้างบ้านสร้างเมืองตาม ภาษามอญและจารึกมอญ ฉายภาพวิวัฒนาการภาษามอญและจารึกต่าง
ๆ หรือประเพณีและวัฒนธรรมมอญ สะท้อนเรื่องราวประเพณี 12 เดือน รวมถึงประวัติมอญอพยพ
ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมเรื่องราวของมอญอย่างครบวงจรในที่เดียว

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดคงคาราม ราชบุรี
พิพิธภัณฑ์ ณ วัดคงคาราม จังหวัดราชบุรี ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2542 บนกุฏิเรือนไม้ทรงไทยจำนวนเก้าห้องที่มีความสวยงาม ภายในพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุล้ำค่าที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตชาวมอญ เช่น โลงมอญแกะสลักลายดอกพุดตานอายุกว่า 200 ปี คัมภีร์ใบลานและสมุดไทยที่จารเป็นภาษามอญ เครื่องปั้นดินเผาศิลปะมอญ ตาลปัตร พัดยศ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เป็นต้น ในบริเวณวัดยังมีพระอุโบสถที่มีเจดีย์ทรงรามัญเจ็ดองค์รายรอบ ภายในอุโบสถ ปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สะท้อนความงดงามเชิงช่าง แต่นับวันภาพดังกล่าวจะเลือนตามกาลเวลา

ผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ของชุมชนคนไทยเชื้อสายมอญ สามารถเข้าชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญ
บางกระดี่ กรุงเทพมหานคร
ธวัชพงศ์ มอญดะ ก่อตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญ บางกระดี่ เมื่อ พ.ศ. 2538 โดยใช้พื้นที่บริเวณใต้ถุนบ้านและศาลาริมน้ำในการจัดแสดงภาพถ่ายประเพณีการบวช การแต่งงาน งานศพ การแต่งกาย ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ตามเป็นวิถีมอญ โดยในเวลาต่อมาได้มีการสร้างเครือข่ายกับกลุ่มวัฒนธรรมมอญอื่น ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายมอญ บ้านขนมหวาน บ้านแส้ กลุ่มบ้านสานกก เป็นต้น เพื่อการท่องเที่ยววิถีมอญที่หลากหลาย ทั้งการทำขนมหวาน การเย็บจาก การชมศิลปวัฒนธรรมมอญและการละเล่นท้องถิ่น เป็นต้น
ด้วยการบริหารจัดการที่ดีเยี่ยม ทำให้เมื่อ พ.ศ. 2550
ชุมชนชาวมอญ บางกระดี่ ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของชาวมอญบางกระดี่ (5-19 เมษายน ของทุกปี)
ถือเป็นช่วงเวลาสุดแสนพิเศษ เพราะจะมีกิจกรรมวิถีมอญที่หลากหลาย เช่น
การร่วมด้วยช่วยกันกวนกะละแม การหุงข้าวแช่ การสรงน้ำพระ การเล่นสะบ้า การทรงเจ้า
เป็นต้น ถือเป็นเสน่ห์แห่งชุมชนที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด


พิพิธภัณฑ์วัดสิงห์ ปทุมธานี
พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่หลังกุฏิพระสงฆ์วัดสิงห์
อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากกรุสมบัติของวัด เช่น
พระพุทธรูป ตุ่มสามโคกของแท้ อิฐมอญแปดรู
แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ทรงถวายแด่พญากราย ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสเชื้อสายมอญในขณะนั้น
และรอยพระพุทธบาทไม้ที่จะนำออกมาให้ประชาชนสักการะเฉพาะในงานประจำปีของวัดเท่านั้น
สถานที่ต้องชมหากได้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วัดสิงห์นั้น
ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามนอกบริเวณวัด นั่นคือ เตาเผาตุ่มสามโคก
เป็นเตาที่ชาวมอญสร้างไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งอพยพมาบริเวณนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
เพื่อทำเครื่องปั้นดินเผา เช่น หม้อ โอ่ง ครก สำหรับค้าขาย จึงได้ว่าเป็นอีกพิพิธภัณฑ์วิถีมอญที่น่าหาโอกาสมาเยี่ยมชมยิ่งนัก


พิพิธภัณฑ์วัดปรมัยยิกาวาส นนทบุรี
พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในบริเวณวัดปรมัยยิกาวาส
เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาเป็นหลัก
เช่น เตาเผาจำลอง หุ่นจำลองเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
เพราะเป็นงานฝีมือที่มีชื่อเสียงของชาวเกาะเกร็ดและเป็นที่รู้จักถึงชื่อเสียงของเครื่องปั้นดินเผา
ภายในยังจัดแสดงสิ่งของอันเนื่องในวัฒนธรรมมอญที่สำคัญอีกหลายชิ้น
เช่น เหม (โกศมอญ) ที่ใช้ในงานพระราชทานเพลิงศพอดีตเจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส
พระไตรปิฎกภาษามอญ ที่ทำขึ้นในสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คัมภีร์รามัญต่าง ๆ
ในภาษามอญ กากะเยียหรือเครื่องสำหรับวางหนังสือใบลาน เป็นต้น



พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดทองบ่อและศูนย์ศึกษาชุมชนมอญ พระนครศรีอยุธยา
พิพิธภัณฑ์
ณ วัดทองบ่อ ก่อตั้งโดยพระครูอาทรพิพัฒนโกศล ภายในประดับตกแต่งด้วย โหน่
(ธงหรือตุง) สัญลักษณ์ของชาวมอญ และจัดแสดงสิ่งของที่เป็นสมบัติของวัดทองบ่อ เช่น
พระพุทธรูปทรงมอญ พระสาทิสลักษณ์กษัตริย์มอญหลายพระองค์
คัมภีร์งาช้างที่จารึกอักขระมอญโบราณ จารึกบทสวดมนต์และสรรพวิชาภาษามอญอีกมากมาย
ด้านหน้าวัด มีเสากระโดงเรือที่สันนิษฐานว่าเคยมีสำเภามาอับปางที่หน้าวัดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่มาของชื่อชุมชนบ้านเสากระโดง ท่านพระครูอาทรพิพัฒนโกศลตั้งใจฟื้นฟูและอนุรักษ์อัตลักษณ์ชาวมอญให้คงอยู่คู่กับชุมชนสืบไป
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง ราชบุรี
พิพิธภัณฑ์
ณ วัดม่วงเกิดขึ้นเมื่อราว
30 ปีที่แล้ว โดยเกิดจากการรวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ สะท้อนวิถีชีวิตชาวมอญที่เคลื่อนย้ายมาตั้งชุมชนริมแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันตกครั้งปลายกรุงศรีอยุธยา
ในระยะกว่าสิบปีที่ผ่านไป
มีการปรับปรุงและพัฒนาเป็น “ศูนย์มอญศึกษา” ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก นำเสนอเรื่องราวของมอญในแง่มุมต่าง
ๆ เช่น มอญในตำนานที่แสดงการสร้างบ้านสร้างเมืองตาม ภาษามอญและจารึกมอญ ฉายภาพวิวัฒนาการภาษามอญและจารึกต่าง
ๆ หรือประเพณีและวัฒนธรรมมอญ สะท้อนเรื่องราวประเพณี 12 เดือน รวมถึงประวัติมอญอพยพ
ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมเรื่องราวของมอญอย่างครบวงจรในที่เดียว

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดคงคาราม ราชบุรี
พิพิธภัณฑ์ ณ วัดคงคาราม จังหวัดราชบุรี ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2542 บนกุฏิเรือนไม้ทรงไทยจำนวนเก้าห้องที่มีความสวยงาม ภายในพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุล้ำค่าที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตชาวมอญ เช่น โลงมอญแกะสลักลายดอกพุดตานอายุกว่า 200 ปี คัมภีร์ใบลานและสมุดไทยที่จารเป็นภาษามอญ เครื่องปั้นดินเผาศิลปะมอญ ตาลปัตร พัดยศ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เป็นต้น ในบริเวณวัดยังมีพระอุโบสถที่มีเจดีย์ทรงรามัญเจ็ดองค์รายรอบ ภายในอุโบสถ ปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สะท้อนความงดงามเชิงช่าง แต่นับวันภาพดังกล่าวจะเลือนตามกาลเวลา

ผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ของชุมชนคนไทยเชื้อสายมอญ สามารถเข้าชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย