
ผู้คนใช้สอยเรือในหลายลักษณะการเดินทางเพื่อไปมาหาสู่
การขนส่งสินค้า หรือการค้าขายในระดับครัวเรือน เมื่อก่อนนี้ในแม่น้ำหลายสายในภาคกลาง
ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำสุพรรณบุรี มีทั้งเรือใหญ่เรือเล็ก
เรือส่วนตัว และเรือรับจ้างแล่นกันขวักไขว่
แต่เมื่อมีถนนเข้ามายังตัวเมืองใหญ่ตามภูมิภาคและมีอีกหลายสายขยายสู่ตำบลและหมู่บ้านต่าง
ๆ จึงส่งผลให้ ในช่วงกว่าครึ่งศตวรรษให้หลังนี้
การเดินทางทางเรือจึงถูกลืมเลือนไปจากความทรงจำ
ปัจจุบันเรือขนาดเล็ก
ๆ ที่ใช้กันในครัวเรือนในกิจวัตรประจำวันนั้นแทบจะไม่มีหลงเหลือให้เห็น เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง
ๆ ทำให้มีการสร้างเส้นทางทางบกและทางอากาศเพื่อการคมนาคมเพิ่มขึ้น
ทำให้เรือไทยลดจำนวนและบทบาทลง มีเพียงเรือขนาดใหญ่ที่ใช้ขนส่งสินค้า เช่น ทราย
ที่คงใช้เรือในการลำเลียง หรือจะพบเห็นบ้างในบางในบางพื้นที่ที่คงใช้เรือในบางโอกาส
เช่น พระภิกษุพายเรือบณฑบาตรบ้างยามเช้า
หรือประเพณีทางน้ำที่มีการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองล่องเรือให้ผู้คนได้สักการะบูชาตามวันสำคัญทางศาสนา
เวลานี้เรือที่เคยจอดไว้ท่าน้ำหน้าบ้าน
ก็ถูกยกขึ้นคาน มีโรงรถเข้ามาแทนที่ หน้าบ้านก็หันออกถนน เรือไม้จำนวนหนึ่งกลายเป็นสิ่งสะสมของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหลายแห่งในภาคกลาง
เพื่อเปิดโอกาสให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้เรื่องราวความผูกพันของผู้คนกับสายน้ำ
นอกจากนี้ ยังมีเจ้าของพิพิธภัณฑ์อีกจำนวนหนึ่งที่มีทักษะในการสร้างสรรค์เรือจำลอง
ประดิษฐ์สร้างเรือขนาดเล็กและจัดแสดงเพื่อให้ความรู้กับผู้ที่สนใจ
ลองทำความรู้จักกับพิพิธภัณฑ์ 4 แห่งนี้ที่มีเรือที่เคยใช้งานและเรือจำลองเป็นสิ่งสะสม
และหากมีโอกาส เดินทางไปเยี่ยมชม
เพื่อเรียนรู้เรื่องราวของคนไทยในอดีตที่ใช้ชีวิตอยู่กับสายน้ำ
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมหาราช สุวรรณโสรัตรังสรรค์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แม้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สะสมข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านเป็นหลัก
แต่มีเรือขุดและเรือพายหลากหลายแบบ เรือขุดประมาณ 10 ลำนั้นเป็นของชาวบ้าน
หลายต้นทำจากไม้ตะเคียน เพราะในอดีตช่วงเวลาปกติเรือเหล่านี้เป็นเรือสำหรับพระลูกวัดนำออกไปบิณฑบาต
แต่ช่วงฤดูน้ำหลากหรือประมาณกลางเดือน 12 (ราวตุลาคมและพฤศจิกายน)
ชาวบ้านจะมาขอยืมเรือไปใช้แข่งขันเรือพายกันในท้องถิ่น นอกจากเรือขุดแล้วยังมีเรือกระแชงที่ใช้บรรทุกข้าว
และเรือพายมาศที่เคยใช้สัญจรทั่วไป
พิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน วัดยาง ณ รังสี จังหวัดลพบุรี
พิพิธภัณฑ์ของวัดยางฯ
สะสมเรือหลายประเภทเอาไว้ให้ศึกษา มีอาคารหลัก 2 แห่ง ได้แก่
ศาลาการเปรียญเดิมที่ปัจจุบันใช้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์แรก และอาคารจัดสร้างใหม่
ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียวสำหรับจัดแสดงเรือโบราณ
ทั้งสองแห่งจัดแสดงเรือที่เคยใช้แล่นในแม่น้ำลพบุรี
อาคารแรกจัดแสดงเรือประเภทเรือขุด
หมายถึงเรือที่ใช้ไม้ทั้งท่อนทำเป็นเรือด้วยวิธีวิธีการขุด และขุดเอาเนื้อไม้ออก ความยาวของเรือขุดแต่ละลำประมาณ
7-8 เมตร นอกจากนั้นยังมีเรือสำปั้นเพรียว หรือเรือสำปั้นขุดขนาดเล็กที่ว่าถ้าคนพายไม่มีความสามารถจริง
ก็อาจจะล่มตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้นพายก็ได้ เรือมาดที่เป็นเรือต่อขนาดใหญ่ เคยใช้ขนข้าวเปลือกไปขายยังโรงสีที่ตั้งอยู่ริมน้ำ
ส่วนอาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่ จัดแสดงเรือต่อ คือเรือขนาดเล็กที่ต่อขึ้นจากไม้หลายขนาดด้วยกัน ที่น่าสนใจคือ เรือสำปั้นขนาดหนึ่งคนนั่ง
ที่ตีโครงเรือและประกอบเป็นเรือด้วยความละเอียดลออ ไ
ใครมีโอกาสมาเยี่ยมเยือนพิพิธภัณฑ์เรือแห่งนี้
จะได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับวิถีชาวน้ำ เพราะมีป้ายความรู้เรือประเภทต่าง ๆ
พร้อมภาพลายเส้นประกอบที่น่าตื่นตาต่นใจทีเดียว
พิพิธภัณฑ์อนันต์ชัยไทยโบท จังหวัดสมุทรสงคราม
พิพิธภัณฑ์เรือในนาม
“พิพิธภัณฑ์อนันต์ชัยไทยโบท” จะเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก และนำเสนอเรือจำลอง
แต่เรียกได้ว่า เป็นสถานที่ที่ให้ความรู้หลากหลาย
เนื้อหาบอกเล่าวิวัฒนาการของเรือไทย ที่เริ่มใช้วัสดุลอยน้ำมาทำเป็นแพ
และสู่การนำไม้มาขุดเป็นเรือ
อีกส่วนที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือการแสดงขั้นตอนของการสร้างเรือขุด
จากท่อนไม้มาเป็นเรือให้พร้อมแล่นในสายน้ำ อีกส่วนหนึ่งแสดงชนิดเรือไทยพื้นบ้านจำลอง
ราว 20 ประเภท ไม่ว่าจะเป็นเรือเข็ม เรือมาดประทุน เรือชะล่า เรือกระแชง
เรือข้างกระดาน เรือเอี้ยมจุ๊น เรือผีหลอก เรือบด เป็นต้น เรือจำลองจากฝีมือของเจ้าของจะทำให้ผู้ชมตื่นตาตื่นใจและอดไม่ได้ที่จะเดินเข้าไป
และร่วมเรียนรู้ความผูกพันของคนในอดีตกับสายน้ำ
พิพิธภัณฑ์เรือจิ๋วและอู่เรือจิ๋ว กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์เรือจิ๋วหรือเรือจำลองแห่งนี้ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เรือจำลองที่เป็นสิ่งสะสมนั้นหลากหลาย ทั้งที่เป็นเรือที่ใช้ในแม่น้ำและสำหรับล่องในทะเล เรียกได้ว่า พิพิธภัณฑ์สามารถฉายภาพของวีถีชีวิตของผู้คนที่พึ่งพาการสัญจรทางน้ำอย่างสมบูรณ์ ตัวอย่างของเรื่องราวในที่นี้เป็นเรือจำลองที่เรียกว่า “เรือกระแชง” ที่ยังคงพบเห็นได้ตามลำน้ำ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน โดยมีสินค้าที่บรรทุก เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาร ทราย หิน ไม้ฟืน เป็นต้น ลักษณะของเรือมีส่วนท้องใหญ่โค้งรูปรีคล้ายแตงโมผ่าครึ่ง ส่วนดาดฟ้าทำเป็นประทุนครอบใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ทั้งครอบครัว คำว่า “กระแชง” คือเครื่องบังแดดบังฝนที่เดิมทีใช้ใบจากมาเย็บเป็นแผง จึงเรียกว่า “เรือกระแชง” เรือชนิดนี้เคลื่อนที่โดยใช้เรือยนต์ลากจูงถ้าระยะทางไกล ถ้าระยะใกล้จะใช้ถ่อ พิพิธภัณฑ์ยังมีเรืออีกหลากหลายประเภทให้เรียนรู้อย่างจุใจ ต้องลองเยี่ยมเยือนด้วยตนเอง
เรื่องราวของเรือที่สะท้อนชีวิตของผู้คนกับสายน้ำยังมีให้ศึกษาอีกมาก
พิพิธภัณฑ์ทั้งสี่แห่งน่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้เบื้องต้นให้กับผู้ที่สนใจทำความรู้จักทั้งจากเรือที่เคยใช้งานหรือเรือจำลอง
เรียกได้ว่าสามารถสร้างความเข้าใจพัฒนาการของการคมนาคมของสังคมในลุ่มน้ำภาคกลาง
จนถึงความเปลี่ยนแปลงที่เส้นทางคมนาคมทางบกเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น
และแทนที่เรือไทยเหล่านี้.

ผู้คนใช้สอยเรือในหลายลักษณะการเดินทางเพื่อไปมาหาสู่
การขนส่งสินค้า หรือการค้าขายในระดับครัวเรือน เมื่อก่อนนี้ในแม่น้ำหลายสายในภาคกลาง
ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำสุพรรณบุรี มีทั้งเรือใหญ่เรือเล็ก
เรือส่วนตัว และเรือรับจ้างแล่นกันขวักไขว่
แต่เมื่อมีถนนเข้ามายังตัวเมืองใหญ่ตามภูมิภาคและมีอีกหลายสายขยายสู่ตำบลและหมู่บ้านต่าง
ๆ จึงส่งผลให้ ในช่วงกว่าครึ่งศตวรรษให้หลังนี้
การเดินทางทางเรือจึงถูกลืมเลือนไปจากความทรงจำ
ปัจจุบันเรือขนาดเล็ก
ๆ ที่ใช้กันในครัวเรือนในกิจวัตรประจำวันนั้นแทบจะไม่มีหลงเหลือให้เห็น เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง
ๆ ทำให้มีการสร้างเส้นทางทางบกและทางอากาศเพื่อการคมนาคมเพิ่มขึ้น
ทำให้เรือไทยลดจำนวนและบทบาทลง มีเพียงเรือขนาดใหญ่ที่ใช้ขนส่งสินค้า เช่น ทราย
ที่คงใช้เรือในการลำเลียง หรือจะพบเห็นบ้างในบางในบางพื้นที่ที่คงใช้เรือในบางโอกาส
เช่น พระภิกษุพายเรือบณฑบาตรบ้างยามเช้า
หรือประเพณีทางน้ำที่มีการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองล่องเรือให้ผู้คนได้สักการะบูชาตามวันสำคัญทางศาสนา
เวลานี้เรือที่เคยจอดไว้ท่าน้ำหน้าบ้าน
ก็ถูกยกขึ้นคาน มีโรงรถเข้ามาแทนที่ หน้าบ้านก็หันออกถนน เรือไม้จำนวนหนึ่งกลายเป็นสิ่งสะสมของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหลายแห่งในภาคกลาง
เพื่อเปิดโอกาสให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้เรื่องราวความผูกพันของผู้คนกับสายน้ำ
นอกจากนี้ ยังมีเจ้าของพิพิธภัณฑ์อีกจำนวนหนึ่งที่มีทักษะในการสร้างสรรค์เรือจำลอง
ประดิษฐ์สร้างเรือขนาดเล็กและจัดแสดงเพื่อให้ความรู้กับผู้ที่สนใจ
ลองทำความรู้จักกับพิพิธภัณฑ์ 4 แห่งนี้ที่มีเรือที่เคยใช้งานและเรือจำลองเป็นสิ่งสะสม
และหากมีโอกาส เดินทางไปเยี่ยมชม
เพื่อเรียนรู้เรื่องราวของคนไทยในอดีตที่ใช้ชีวิตอยู่กับสายน้ำ
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมหาราช สุวรรณโสรัตรังสรรค์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แม้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สะสมข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านเป็นหลัก
แต่มีเรือขุดและเรือพายหลากหลายแบบ เรือขุดประมาณ 10 ลำนั้นเป็นของชาวบ้าน
หลายต้นทำจากไม้ตะเคียน เพราะในอดีตช่วงเวลาปกติเรือเหล่านี้เป็นเรือสำหรับพระลูกวัดนำออกไปบิณฑบาต
แต่ช่วงฤดูน้ำหลากหรือประมาณกลางเดือน 12 (ราวตุลาคมและพฤศจิกายน)
ชาวบ้านจะมาขอยืมเรือไปใช้แข่งขันเรือพายกันในท้องถิ่น นอกจากเรือขุดแล้วยังมีเรือกระแชงที่ใช้บรรทุกข้าว
และเรือพายมาศที่เคยใช้สัญจรทั่วไป
พิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน วัดยาง ณ รังสี จังหวัดลพบุรี
พิพิธภัณฑ์ของวัดยางฯ
สะสมเรือหลายประเภทเอาไว้ให้ศึกษา มีอาคารหลัก 2 แห่ง ได้แก่
ศาลาการเปรียญเดิมที่ปัจจุบันใช้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์แรก และอาคารจัดสร้างใหม่
ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียวสำหรับจัดแสดงเรือโบราณ
ทั้งสองแห่งจัดแสดงเรือที่เคยใช้แล่นในแม่น้ำลพบุรี
อาคารแรกจัดแสดงเรือประเภทเรือขุด
หมายถึงเรือที่ใช้ไม้ทั้งท่อนทำเป็นเรือด้วยวิธีวิธีการขุด และขุดเอาเนื้อไม้ออก ความยาวของเรือขุดแต่ละลำประมาณ
7-8 เมตร นอกจากนั้นยังมีเรือสำปั้นเพรียว หรือเรือสำปั้นขุดขนาดเล็กที่ว่าถ้าคนพายไม่มีความสามารถจริง
ก็อาจจะล่มตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้นพายก็ได้ เรือมาดที่เป็นเรือต่อขนาดใหญ่ เคยใช้ขนข้าวเปลือกไปขายยังโรงสีที่ตั้งอยู่ริมน้ำ
ส่วนอาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่ จัดแสดงเรือต่อ คือเรือขนาดเล็กที่ต่อขึ้นจากไม้หลายขนาดด้วยกัน ที่น่าสนใจคือ เรือสำปั้นขนาดหนึ่งคนนั่ง
ที่ตีโครงเรือและประกอบเป็นเรือด้วยความละเอียดลออ ไ
ใครมีโอกาสมาเยี่ยมเยือนพิพิธภัณฑ์เรือแห่งนี้
จะได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับวิถีชาวน้ำ เพราะมีป้ายความรู้เรือประเภทต่าง ๆ
พร้อมภาพลายเส้นประกอบที่น่าตื่นตาต่นใจทีเดียว
พิพิธภัณฑ์อนันต์ชัยไทยโบท จังหวัดสมุทรสงคราม
พิพิธภัณฑ์เรือในนาม
“พิพิธภัณฑ์อนันต์ชัยไทยโบท” จะเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก และนำเสนอเรือจำลอง
แต่เรียกได้ว่า เป็นสถานที่ที่ให้ความรู้หลากหลาย
เนื้อหาบอกเล่าวิวัฒนาการของเรือไทย ที่เริ่มใช้วัสดุลอยน้ำมาทำเป็นแพ
และสู่การนำไม้มาขุดเป็นเรือ
อีกส่วนที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือการแสดงขั้นตอนของการสร้างเรือขุด
จากท่อนไม้มาเป็นเรือให้พร้อมแล่นในสายน้ำ อีกส่วนหนึ่งแสดงชนิดเรือไทยพื้นบ้านจำลอง
ราว 20 ประเภท ไม่ว่าจะเป็นเรือเข็ม เรือมาดประทุน เรือชะล่า เรือกระแชง
เรือข้างกระดาน เรือเอี้ยมจุ๊น เรือผีหลอก เรือบด เป็นต้น เรือจำลองจากฝีมือของเจ้าของจะทำให้ผู้ชมตื่นตาตื่นใจและอดไม่ได้ที่จะเดินเข้าไป
และร่วมเรียนรู้ความผูกพันของคนในอดีตกับสายน้ำ
พิพิธภัณฑ์เรือจิ๋วและอู่เรือจิ๋ว กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์เรือจิ๋วหรือเรือจำลองแห่งนี้ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เรือจำลองที่เป็นสิ่งสะสมนั้นหลากหลาย ทั้งที่เป็นเรือที่ใช้ในแม่น้ำและสำหรับล่องในทะเล เรียกได้ว่า พิพิธภัณฑ์สามารถฉายภาพของวีถีชีวิตของผู้คนที่พึ่งพาการสัญจรทางน้ำอย่างสมบูรณ์ ตัวอย่างของเรื่องราวในที่นี้เป็นเรือจำลองที่เรียกว่า “เรือกระแชง” ที่ยังคงพบเห็นได้ตามลำน้ำ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน โดยมีสินค้าที่บรรทุก เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาร ทราย หิน ไม้ฟืน เป็นต้น ลักษณะของเรือมีส่วนท้องใหญ่โค้งรูปรีคล้ายแตงโมผ่าครึ่ง ส่วนดาดฟ้าทำเป็นประทุนครอบใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ทั้งครอบครัว คำว่า “กระแชง” คือเครื่องบังแดดบังฝนที่เดิมทีใช้ใบจากมาเย็บเป็นแผง จึงเรียกว่า “เรือกระแชง” เรือชนิดนี้เคลื่อนที่โดยใช้เรือยนต์ลากจูงถ้าระยะทางไกล ถ้าระยะใกล้จะใช้ถ่อ พิพิธภัณฑ์ยังมีเรืออีกหลากหลายประเภทให้เรียนรู้อย่างจุใจ ต้องลองเยี่ยมเยือนด้วยตนเอง
เรื่องราวของเรือที่สะท้อนชีวิตของผู้คนกับสายน้ำยังมีให้ศึกษาอีกมาก
พิพิธภัณฑ์ทั้งสี่แห่งน่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้เบื้องต้นให้กับผู้ที่สนใจทำความรู้จักทั้งจากเรือที่เคยใช้งานหรือเรือจำลอง
เรียกได้ว่าสามารถสร้างความเข้าใจพัฒนาการของการคมนาคมของสังคมในลุ่มน้ำภาคกลาง
จนถึงความเปลี่ยนแปลงที่เส้นทางคมนาคมทางบกเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น
และแทนที่เรือไทยเหล่านี้.