“ข้าว” ในพิธีกรรม

คำสำคัญ : ฉะเชิงเทรา,นครนายก,นครปฐม,นครสวรรค์,พิธีกรรม,ราชบุรี,เพชรบุรี,
“ข้าว” ในพิธีกรรม

        ข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเพณีที่จะกล่าวต่อไปนี้ มักอยู่ในวงจรของการทำนา โดยเฉพาะในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อชาวนาได้ผลผลิตจากการลงแรงแล้ว ไม่ลืมถึงบุญคุณของสิ่งต่าง ๆ

        “บรรพชน” ที่ส่งทอดผืนดินอันเป็นมรดกตกทอด นั่นหมายรวมถึงการระลึกถึงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับและทำบุญเพื่อให้รับสิ่งที่เป็นดอกผลจากการทำงานของผู้เป็นลูกหลาน

        “แม่โพสพ” เป็นหนึ่งในความเชื่อของชาวนาที่แสดงความเคารพและระลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพตลอดช่วงเวลาเพาะปลูก โดยเชื่อกันว่าเป็นเทวดาประจำพืชที่หล่อเลี้ยงให้ข้าวเติบโต

        พิธีกรรมในสังคมการเกษตรเหล่านี้ยังเชื่อมโยงกับพุทธศาสนา ดังจะปรากฏให้เห็นถึงพระภิกษุที่เป็นส่วนหนึ่งของการประกอบพิธีอยู่เนื่อง ๆ ดั้งเดิมแล้วพิธีกรรมที่เกี่ยวกับข้าวอยู่ในเกือบทุกขั้นตอนของการทำนา ตั้งแต่ก่อนการเพาะปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว แต่ปัจจุบันพิธีกรรมหลายอย่างลดความสำคัญลง หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปฏิบัติ เช่นการลดความซับซ้อนในการเตรียมเครื่องประกอบพิธี ความเป็นทางการของการประกอบพิธีด้วยต้องอาศัยงบประมาณจากองค์กรปกครองในพื้นที่ ไปจนถึงการพัฒนาให้พิธีกรรมเป็นกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ดึงดูดคนจากภายนอกชุมชน

        ข้าวในพิธีกรรมในอีกลักษณะหนึ่งอาจไม่เกี่ยวโยงกับวิถีทางการเกษตรโดยตรง แต่เป็นเครื่องประกอบพิธีสำคัญที่แสดงให้เห็นความกตัญญูของลูกหลานต่อสมาชิกในครอบครัว ดังปรากฏในพิธีสารท หรือความต้องการทำบุญถวายข้าวให้กับภิกษุสงฆ์ตามความศรัทธาของกลุ่ม

 

ทำขวัญข้าว     




        ประเพณีทำขวัญข้าวหลังเก็บเกี่ยวของชุมชนคลองบางซื่อ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เชื่อมโยงกับความเชื่อเรื่องขวัญ ที่เชื่อว่าทั้งคน สัตว์ สรรพสิ่งต่างมี ขวัญประจำอยู่ เดิมทีมีการทำขวัญข้าวตั้งแต่เมื่อข้าวตั้งท้องและเมื่อขนข้าวขึ้นยุ้งฉาง ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านในชีวิตของข้าว จากการปฏิบัติในระดับครัวเรือน การทำขวัญข้าวกลายเป็นการทำบุญแบบรวมหมู่ มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์ในตอนเย็น และเรียกขวัญในลักษณะที่เป็นการเวียนเทียน เช้ารุ่งขึ้นชาวบ้านนิมนต์พระมาสวดมนต์เช้าและถวายภัตตาหาร เป็นอันจบพิธี งานดังกล่าวยังคงจัดอย่างต่อเนื่องมากว่าสามสิบกว่าปีแล้ว ในระยะหลัง จัดงานอย่างเป็นทางการมากขึ้นจากงบประมาณที่ท้องถิ่นให้การสนับสนุน

        ผู้สนใจสามารถเข้ารวมนิทรรศการออนไลน์ เรื่อง แม่โพสพในความเปลี่ยนแปลง สำหรับรายละเอียดของพิธีและวีดิทัศน์ที่ถ่ายทอดมุมมองของชาวบ้านต่อความเชื่อเรื่องขวัญข้าว


บุญคูณลาน     




        บุญคูณลาน เป็นการทำบุญขวัญข้าวที่นวดเสร็จและกองไว้แล้วในลานข้าว โดยแต่ละบ้านจะทำไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าวว่าแล้วเสร็จเมื่อใด วันที่จะขนข้าวขึ้นยุ้งฉางจะเป็นวันทำบุญคูณลาน ญาติพี่น้องให้มาร่วมทำบุญตอนเย็นของวันดังกล่าว มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ที่ลานข้าว จากนั้นเป็นมหรสพ เมื่อสว่างถวายภัตตาหารแด่ภิกษุสงฆ์ ผู้ร่วมพิธีอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติที่ตายแล้วตลอดจนเทพยดา บางแห่งจะมีการประกอบพิธีสู่ขวัญยุ้งฉาง เมื่อขนข้าวใส่ยุ้ง ทุกวันนี้ ข้าวที่ได้จากการเก็บเกี่ยวจะเป็นข้าวเปลือกที่สีข้าวจากรวงและใส่กระสอบ จึงไม่มีการทำบุญคูณลานดังเช่นแต่เดิม


กินข้าวห่อ กะเหรี่ยง     





        ประเพณีกินข้าวห่อเป็นประเพณีของชาวกะเหรี่ยงในแถบภูมิภาคตะวันตก จัดขึ้นในช่วงเดือน 9 ของทุกปี (ราวเดือนสิงหาคมถึงกันยายน) นับเป็นช่วงเวลาที่พืชผลกำลังงอกงามอุดมสมบูรณ์ และรอการเก็บเกี่ยว ทำให้มีเวลาว่างในการรวมญาติและเป็นการเฉลิมฉลอง พิธีกินเวลาราว 2-3 วัน  โดย 2 วันแรก เป็นการเตรียมทำข้าวห่อ โดยลูกหลานในชุมชนและที่เดินทางกลับจากแดนไกล

        จากนั้น เป็นพิธีเรียกขวัญ ในตอนเย็นก่อนกินข้าวห่อหนึ่งครั้ง และตอนเช้าก่อนทำพิธีกินข้าวห่ออีกครั้ง แล้วจึงเป็นการผูกขวัญด้วยด้ายสีแดง สัญลักษณ์แทนความดีและความบริสุทธิ์ใจ หลังจากผูกข้อมือเสร็จ ทุกครัวเรือนต่างนำเครื่องเซ่นไปไหว้วิญญาณผีบรรพชน พร้อมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้ผีมากินข้าวห่อด้วย ปัจจุบันชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่หันมานับถือศาสนาพุทธ จึงนำข้าวห่อไปถวายแด่พระสงฆ์ที่วัดแทน บางหมู่บ้านนำประเพณีกินข้าวห่อมาส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้คนต่างถิ่นมาร่วมในพิธีกรรม


สารทพวน    


        ประเพณีสารทพวน คล้ายกับประเพณีสารทไทยหรือประเพณีบุญข้าวห่อหรือบุญข้าวประดับดินของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว คนไทยพวนในแต่ละแห่งจะจัดงานสารทพวนแตกต่างกัน ดังเช่น

            - ชาวไทยพวน ในอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายกจัดบุญข้าวห่อในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 9 ถึงเดือน 10 เรียกงานบุญ ข้าวสะหรือข้าวสาก ลักษณะงานคล้ายกับสลากภัต ด้วยการนำกระจาดเครื่องไทยธรรมไปถวายพระ เพื่อทำบุญต่อบรรพบุรุษ 

            - ชาวไทยพวน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ จะจัดงานสารทในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 โดยทำบุญกระจาด ใส่ข้าวของเครื่องใช้อุทิศให้กับบรรพบุรุษ และนำห่อข้าวไปวางไว้ตามท้องนา เพื่อบูชาแม่โพสพ และก่อนงานจะช่วยกันกวนกระยาสารทเพื่อไปทำบุญถวายพระภิกษุที่วัดในวันรุ่งขึ้น

            - ชาวไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดนครสวรรค์ เริ่มเตรียมงานตั้งแต่คืนก่อนวันแรม 15 ค่ำ เดือน 9 โดยจะทำข้าวห่อที่ประกอบด้วยอาหารคาวหวาน ขนม แล้วนำไปวางบนธาตุหรือเจดีย์บรรจุอัฐิบรรพบุรุษ เพื่ออุทิศอาหารนั้นแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ จากนั้นจะไปปักตาเหลวในท้องนาพร้อมห่อข้าว เพื่อบูชาแม่โพสพ ในวันแรม 15 ค่ำ จึงนำภัตตาหารพร้อมกระยาสารทไปทำบุญที่วัด


ขึ้นเขาเผาข้าวหลาม




        “บุญข้าวหลามของชาวลาวเวียงในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดจากความศรัทธาในพุทธศาสนา มีการพบรอยพระพุทธบาทที่เขาดงยาง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวัดสุวรรณคีรี เดิมทีชาวบ้านเดินเท้าเพื่อไปสักการะปิดทอง จึงได้ทำเผาข้าวหลามกันในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 3 เพื่อนำไปถวายพระและเป็นเสบียงสำหรับการเดินทางไปทำบุญในเช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา

        ทุกวันนี้ กลายเป็นการจัดงานใหญ่ในระดับอำเภอที่มาจากการสนับสนุนของภาคราชการ โรงเรียนและเอกชน ภายในงานมีขบวนแห่รถตกแต่งข้าวหลามยักษ์และผลิตภัณฑ์ชุมชน การมาทำบุญของผู้คนอาจไม่ได้มีข้าวหลามติดมือมาเหมือนแต่ก่อน แต่คงเน้นการมาทำบุญในวันพระใหญ่หรือวันมาฆบูชา

 


“ข้าว” ในพิธีกรรม

        ข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเพณีที่จะกล่าวต่อไปนี้ มักอยู่ในวงจรของการทำนา โดยเฉพาะในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อชาวนาได้ผลผลิตจากการลงแรงแล้ว ไม่ลืมถึงบุญคุณของสิ่งต่าง ๆ

        “บรรพชน” ที่ส่งทอดผืนดินอันเป็นมรดกตกทอด นั่นหมายรวมถึงการระลึกถึงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับและทำบุญเพื่อให้รับสิ่งที่เป็นดอกผลจากการทำงานของผู้เป็นลูกหลาน

        “แม่โพสพ” เป็นหนึ่งในความเชื่อของชาวนาที่แสดงความเคารพและระลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพตลอดช่วงเวลาเพาะปลูก โดยเชื่อกันว่าเป็นเทวดาประจำพืชที่หล่อเลี้ยงให้ข้าวเติบโต

        พิธีกรรมในสังคมการเกษตรเหล่านี้ยังเชื่อมโยงกับพุทธศาสนา ดังจะปรากฏให้เห็นถึงพระภิกษุที่เป็นส่วนหนึ่งของการประกอบพิธีอยู่เนื่อง ๆ ดั้งเดิมแล้วพิธีกรรมที่เกี่ยวกับข้าวอยู่ในเกือบทุกขั้นตอนของการทำนา ตั้งแต่ก่อนการเพาะปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว แต่ปัจจุบันพิธีกรรมหลายอย่างลดความสำคัญลง หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปฏิบัติ เช่นการลดความซับซ้อนในการเตรียมเครื่องประกอบพิธี ความเป็นทางการของการประกอบพิธีด้วยต้องอาศัยงบประมาณจากองค์กรปกครองในพื้นที่ ไปจนถึงการพัฒนาให้พิธีกรรมเป็นกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ดึงดูดคนจากภายนอกชุมชน

        ข้าวในพิธีกรรมในอีกลักษณะหนึ่งอาจไม่เกี่ยวโยงกับวิถีทางการเกษตรโดยตรง แต่เป็นเครื่องประกอบพิธีสำคัญที่แสดงให้เห็นความกตัญญูของลูกหลานต่อสมาชิกในครอบครัว ดังปรากฏในพิธีสารท หรือความต้องการทำบุญถวายข้าวให้กับภิกษุสงฆ์ตามความศรัทธาของกลุ่ม

 

ทำขวัญข้าว     




        ประเพณีทำขวัญข้าวหลังเก็บเกี่ยวของชุมชนคลองบางซื่อ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เชื่อมโยงกับความเชื่อเรื่องขวัญ ที่เชื่อว่าทั้งคน สัตว์ สรรพสิ่งต่างมี ขวัญประจำอยู่ เดิมทีมีการทำขวัญข้าวตั้งแต่เมื่อข้าวตั้งท้องและเมื่อขนข้าวขึ้นยุ้งฉาง ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านในชีวิตของข้าว จากการปฏิบัติในระดับครัวเรือน การทำขวัญข้าวกลายเป็นการทำบุญแบบรวมหมู่ มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์ในตอนเย็น และเรียกขวัญในลักษณะที่เป็นการเวียนเทียน เช้ารุ่งขึ้นชาวบ้านนิมนต์พระมาสวดมนต์เช้าและถวายภัตตาหาร เป็นอันจบพิธี งานดังกล่าวยังคงจัดอย่างต่อเนื่องมากว่าสามสิบกว่าปีแล้ว ในระยะหลัง จัดงานอย่างเป็นทางการมากขึ้นจากงบประมาณที่ท้องถิ่นให้การสนับสนุน

        ผู้สนใจสามารถเข้ารวมนิทรรศการออนไลน์ เรื่อง แม่โพสพในความเปลี่ยนแปลง สำหรับรายละเอียดของพิธีและวีดิทัศน์ที่ถ่ายทอดมุมมองของชาวบ้านต่อความเชื่อเรื่องขวัญข้าว


บุญคูณลาน     




        บุญคูณลาน เป็นการทำบุญขวัญข้าวที่นวดเสร็จและกองไว้แล้วในลานข้าว โดยแต่ละบ้านจะทำไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าวว่าแล้วเสร็จเมื่อใด วันที่จะขนข้าวขึ้นยุ้งฉางจะเป็นวันทำบุญคูณลาน ญาติพี่น้องให้มาร่วมทำบุญตอนเย็นของวันดังกล่าว มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ที่ลานข้าว จากนั้นเป็นมหรสพ เมื่อสว่างถวายภัตตาหารแด่ภิกษุสงฆ์ ผู้ร่วมพิธีอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติที่ตายแล้วตลอดจนเทพยดา บางแห่งจะมีการประกอบพิธีสู่ขวัญยุ้งฉาง เมื่อขนข้าวใส่ยุ้ง ทุกวันนี้ ข้าวที่ได้จากการเก็บเกี่ยวจะเป็นข้าวเปลือกที่สีข้าวจากรวงและใส่กระสอบ จึงไม่มีการทำบุญคูณลานดังเช่นแต่เดิม


กินข้าวห่อ กะเหรี่ยง     





        ประเพณีกินข้าวห่อเป็นประเพณีของชาวกะเหรี่ยงในแถบภูมิภาคตะวันตก จัดขึ้นในช่วงเดือน 9 ของทุกปี (ราวเดือนสิงหาคมถึงกันยายน) นับเป็นช่วงเวลาที่พืชผลกำลังงอกงามอุดมสมบูรณ์ และรอการเก็บเกี่ยว ทำให้มีเวลาว่างในการรวมญาติและเป็นการเฉลิมฉลอง พิธีกินเวลาราว 2-3 วัน  โดย 2 วันแรก เป็นการเตรียมทำข้าวห่อ โดยลูกหลานในชุมชนและที่เดินทางกลับจากแดนไกล

        จากนั้น เป็นพิธีเรียกขวัญ ในตอนเย็นก่อนกินข้าวห่อหนึ่งครั้ง และตอนเช้าก่อนทำพิธีกินข้าวห่ออีกครั้ง แล้วจึงเป็นการผูกขวัญด้วยด้ายสีแดง สัญลักษณ์แทนความดีและความบริสุทธิ์ใจ หลังจากผูกข้อมือเสร็จ ทุกครัวเรือนต่างนำเครื่องเซ่นไปไหว้วิญญาณผีบรรพชน พร้อมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้ผีมากินข้าวห่อด้วย ปัจจุบันชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่หันมานับถือศาสนาพุทธ จึงนำข้าวห่อไปถวายแด่พระสงฆ์ที่วัดแทน บางหมู่บ้านนำประเพณีกินข้าวห่อมาส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้คนต่างถิ่นมาร่วมในพิธีกรรม


สารทพวน    


        ประเพณีสารทพวน คล้ายกับประเพณีสารทไทยหรือประเพณีบุญข้าวห่อหรือบุญข้าวประดับดินของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว คนไทยพวนในแต่ละแห่งจะจัดงานสารทพวนแตกต่างกัน ดังเช่น

            - ชาวไทยพวน ในอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายกจัดบุญข้าวห่อในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 9 ถึงเดือน 10 เรียกงานบุญ ข้าวสะหรือข้าวสาก ลักษณะงานคล้ายกับสลากภัต ด้วยการนำกระจาดเครื่องไทยธรรมไปถวายพระ เพื่อทำบุญต่อบรรพบุรุษ 

            - ชาวไทยพวน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ จะจัดงานสารทในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 โดยทำบุญกระจาด ใส่ข้าวของเครื่องใช้อุทิศให้กับบรรพบุรุษ และนำห่อข้าวไปวางไว้ตามท้องนา เพื่อบูชาแม่โพสพ และก่อนงานจะช่วยกันกวนกระยาสารทเพื่อไปทำบุญถวายพระภิกษุที่วัดในวันรุ่งขึ้น

            - ชาวไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดนครสวรรค์ เริ่มเตรียมงานตั้งแต่คืนก่อนวันแรม 15 ค่ำ เดือน 9 โดยจะทำข้าวห่อที่ประกอบด้วยอาหารคาวหวาน ขนม แล้วนำไปวางบนธาตุหรือเจดีย์บรรจุอัฐิบรรพบุรุษ เพื่ออุทิศอาหารนั้นแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ จากนั้นจะไปปักตาเหลวในท้องนาพร้อมห่อข้าว เพื่อบูชาแม่โพสพ ในวันแรม 15 ค่ำ จึงนำภัตตาหารพร้อมกระยาสารทไปทำบุญที่วัด


ขึ้นเขาเผาข้าวหลาม




        “บุญข้าวหลามของชาวลาวเวียงในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดจากความศรัทธาในพุทธศาสนา มีการพบรอยพระพุทธบาทที่เขาดงยาง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวัดสุวรรณคีรี เดิมทีชาวบ้านเดินเท้าเพื่อไปสักการะปิดทอง จึงได้ทำเผาข้าวหลามกันในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 3 เพื่อนำไปถวายพระและเป็นเสบียงสำหรับการเดินทางไปทำบุญในเช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา

        ทุกวันนี้ กลายเป็นการจัดงานใหญ่ในระดับอำเภอที่มาจากการสนับสนุนของภาคราชการ โรงเรียนและเอกชน ภายในงานมีขบวนแห่รถตกแต่งข้าวหลามยักษ์และผลิตภัณฑ์ชุมชน การมาทำบุญของผู้คนอาจไม่ได้มีข้าวหลามติดมือมาเหมือนแต่ก่อน แต่คงเน้นการมาทำบุญในวันพระใหญ่หรือวันมาฆบูชา