แนะนำหนังสือ Siamese melting pot: Ethnic minorities in the making of Bangkok ของ Edward Van Roy

คำสำคัญ : กรุงเทพมหานคร,
แนะนำหนังสือ Siamese melting pot: Ethnic minorities in the making of Bangkok ของ Edward Van Roy

ความน่าสนใจของผลงานชิ้นนี้ นับเป็นงานเขียนของนักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับไทยอย่างช้านาน Jean Baffie กล่าวถึงประวัติของ Edward Van Roy อย่างย่นย่อในรีวิวว่า “เขาเดินทางมาถึงประเทศไยตั้งแต่ ค.ศ.1963 (หรือเกินกว่าครึ่งศตวรรษนับถึงปัจจุบัน) โดยทำการศึกษาภาคสนามในอำเภอเชียงดาวและแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในงานวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยเท็กซัส” ผลงานดังกล่าวกลายเป็นหนังสือเล่มสำคัญคัญที่บอกเล่าถึงระบบเศรษฐกิจในภาคเหนือของไทย (Van Roy 1972) ช่วงเวลาดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาสังคมไทยของคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1966-1997 เขาทำงานให้หน่วยงานระหว่างประเทศในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นเวลาที่เขาศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์สำคัญ ๆ ในกรุงเทพอย่างต่อเนื่อง


หนังสือเรื่อง Siamese melting pot อธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ของกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานแลพัฒนากรุงเทพ (รวมธนบุรี) ตั้งแต่ ค.ศ.1767 ถึง ค.ศ.1782 เรื่อยมาใน 5 รัชกาลจนถึง ค.ศ. 1910 ในแต่ละบทให้คำอธิบายแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ถึงความเป็นมาและบทบาทต่อสังคมไทย ประกอบด้วยโปรตุเกส มอญ ลาว อิสลามกลุ่มต่าง ๆ และจีน ผู้คนเหล่านี้มาจากผู้ที่รอดพ้นจากความล่มสลายของอยุธยา เหล่าพ่อค้าวาณิช คนหนีภัยสงคราม กลุ่มคนหนีความยากจนจากบ้านเกิด และเชลยศึก เขาแสดงให้เห็นแผนที่ตั้งของถิ่นฐาน ราชวัง และสถานที่ของการสักการะบูชาของชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ เนื้อหาในแผนที่สะท้อนให้เห็นช่วงเวลาที่สาทร สีลม และกรุงเกษมมีคลองเป็นเส้นทางสัญจรสำคัญ


เรื่องราวของชาวโปรตุเกสเป็นชนต่างชาตินักเดินทางที่สร้างสายสัมพันธ์กับสยามตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 16 งานศึกษาถ่ายทอดเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์โปรตุเกสกับสยามจนถึงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงเทพ ประกอบด้วยพ่อค้า หมอสอนศาสนา และชุมชนเลือดผสมหรือที่เรียกว่า “mestizo” รวมถึงบทบาทของการค้าอาวุธเพื่อสร้างปราการปากน้ำเจ้าพระยาและในที่อื่น ๆ  
ชนชาติมอญในกรุงเทพและในประเทศไทยเคลื่อนย้ายสู่ดินแดนไทยในปัจจุบันตั้งแต่สมัยทวาราวดี คนมอญเข้าสู่สยามตั้งแต่สมัยอยุธยาเพื่อหนีภัยสงครามจากพม่าในสมัยหงสาวดี บางกลุ่มเข้าร่วมกับพระเจ้าตากสินในสมัยธนบุรี ในส่วนหนึ่ง Van Roy กล่าวถึงบทบาทสำคัญของชาวมอญกับการสถาปนาราชวงศ์จักรี ดังเช่น พระยามหาโยธาที่ได้รับพระราชทานยศและเป็นผู้คุมกำลังชาวมอญในการต่อสู้ทางตะวันตก รวมถึงบทบาทของชาวมอญในกองกำลังที่มีการขยายตัวในช่วงรัชกาลที่ 5 การสำรวจเมื่อ ค.ศ.1820 แสดงให้ประมาณการประชากรชาวมอญถึง 150,000 คน แต่เมื่อถึงทศวรรษ 1970 มีเพียง 94,000 คน ซึ่งสะท้อนให้เห็นการกลายเป็นคนไทย


สงครามในช่วง ค.ศ.1778-1779 และ ค.ศ. 1827-1828 ส่งผลให้เชลยศึกชาวลาวจำนวนหลายหมื่นคนถูกย้ายถิ่นฐานมาสู่สยามและกรุงเทพ ซึ่งส่งผลต่อการเกิดชุมชนลาว บ้างกลายเป็นข้าในราชสำนักและทาส บ้างเป็นช่างและตัวประกันโดยตั้งถิ่นฐานใกล้กับพระบรมมหาราชวัง หนึ่งในนั้นได้รับการเลี้ยงดูในราชสำนักและกลายเป็นฉายาในรัชกาลที่ 2 หนึ่งในพระราชโอรสกลายเป็นผู้ดูแลชุมชนชาวลาวในกรุงเทพและสระบุรี


การศึกษามุสลิมกลุ่มต่าง ๆ “แขกอิสลาม” (โดยให้ตั้งข้อสังเกตถึงคำเรียก “แขก” ที่ยังหมายถึงชาวอินเดียไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด) ประกอบด้วยชาวจามที่มีทักษะในการเป็นนักรบที่ชำนาญในการเดินเรือนและมาถึงสยามตั้งแต่สมัยอยุธยา พ่อค้าชาวเปอร์เซียที่ได้รับการสนับสนุนจากราชสำนัก รวมถึงพ่อค้าอาหรับและอินเดีย นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเชลยศึกชาวมาเลย์ ที่ข้าราชการ ช่างศิลป์ และทาส และคนอพยพจากอินโดนีเซีย ได้แก่ ชาวประมง คนทำสวนในราชสำนัก และบูกิสที่หนีจากอาณานิคมดัชต์ เมื่อเวลาผ่านไปกลุ่มเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสยามและไทย และอิงตัวเองกับความเป็นชาติพันธุ์ลดลงตามลำดับ แต่คงแสดงความเป็นกลุ่มคนมุสลิม หรือ “ไทยอิสลาม” ทั้งนี้ แฝงนัยของความเป็นอื่นจากชนส่วนใหญ่ที่เป็นพุทธศาสนิกชน
Jean Baffie ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับคำอธิบายเกี่ยวกับแขกจามในชุมชนบ้านครัว เขากล่าวว่าคำอธิบายของ Van Roy ช่างห่างไกลกับความจริง เช่นการแปลชื่อหมู่บ้าน “บ้านครัว” ที่ให้ความหมายถึงหมู่บ้านของมุสลิม แต่ Jean Baffie มีความเห็นแตกต่างออกไป เพราะคำว่าแขกครัวเป็นชื่อที่ใช้เรียกชาวจามในประเทศไทยมาตั้งศตวรรษที่ 19 และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการทอผ้าไหม ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2


สำหรับชนกลุ่มต่าง ๆ กลืนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยผ่านการแต่งงานและการติดต่อทางการค้าและราชสำนัก แต่ในกลุ่มคนอพยพชาวจีน ราชสำนักดำเนินการหลายประการเพื่อควบคุม เช่น ชุมชนคนแต้จิ๋วที่พัฒนากฎระเบียบในการดูแลตัวเอง รวมถึงธุรกิจที่ผิดกฎหมายและสมาคมลับต่าง ๆ กระทั่ง ค.ศ.1892 เกิดการปฏิรูปรูปแบบการปกครองและแต่งตั้งผู้นำที่ได้รับความไว้วางใจจากราชสำนักทำหน้าที่ดูแลกลุ่มคนจีนในแต่ละย่าน


นอกจากนี้เมื่อเกิดความวุ่นวายกลางเมืองระหว่างชุมชนแต้จิ๋วกับฮกเกี้ยน รัฐบาลพยายามควบคุมกิจการฝิ่นและสุรา การพนันและหวย และการขึ้นทะเบียนสมาคมลับ บุคคลที่เป็นพลเมืองสยามต้องใช้นามสกุลไทย รวมถึงการควบคุมเนื้อหาในการสอนในโรงเรียนเอกชนของชาวจีนและบังคับให้มีการเรียนการสอนภาษาไทยและประวัติศาสตร์ไทย ปัจจุบันนี้ ลูกหลานชาวจีนทำงานในภาครัฐบาล ภาคเอกชน และภาคการศึกษา โดยมีชื่อเป็นไทยและได้รับการศึกษาในโรงเรียนไทย การนิยามตัวตนทางชาติพันธุ์จีนลดทอนลงจากการแต่งงานระหว่างคนจีนกลุ่มต่าง ๆ กับคนไทย และมักเรียกตนเองว่า คนไทยเชื้อสายจีน


จากนั้นเป็นการกล่าวถึงกลุ่มย่อยต่าง ๆ ในกรุงเทพ ประกอบด้วย เขมร เวียดนาม ไท-ยวน ซิกข์ และฝรั่งในบทที่ 7 ในทัศนะของ Jean Baffie ชี้ให้เห็นข้อจำกัดหลายประการเกี่ยวกับเนื้อหาในบทนี้ เช่น การกล่าวถึงเวียดนามสะพานขาวที่ผู้เขียนไม่อ้างอิงงานเขียนของของ อคิน ระพีพัฒน์ (1975) ที่อธิบายถึงต้นกำเนิดของญวนสะพานขาว หรือการกล่าวถึงไท-ยวนที่หมายถึงคนไทยในล้านนา สามารถนำมาร่วมไว้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์นั้นเหมาะสมหรือไม่อย่างไร
หนังสือแสดงความชัดเจนถึงบทบาทของกลุ่มชาติพันธุ์ในการวางรากฐานของความเป็นกรุงเทพในปัจจุบัน โดยเฉพาะบทบาทความอยู่รอดของราชสำนักและพัฒนาการทางเศรษฐกิจของเมืองหลวง เมื่อเวลาผ่านไปความพยายามสร้างชาตินิยมผ่านสำนึกความเป็นไทยนับเป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเข้าอยู่หัว ที่ผลต่อความเปลี่ยนแปลงต่อสำนึกทางชาติพันธุ์และความเป็นส่วนหนึ่งของสังคมใหญ่
 
สำหรับผู้ที่สนใจงานวิเคราะห์หนังสือ โปรดอ่านบทสังเคราะห์ดังกล่าวในฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ เรื่อง Siamese melting pot: Ethnic minorities in the making of Bangkok
หรือสามารถยืมหนังสือต้นฉบับได้ที่ห้องสมุด ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)


หมายเหตุ ภาพประกอบบทความจาก https://bookshop.iseas.edu.sg/publication/2248, สืบค้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2562

อ้างอิง
Baffie, Jean. (2018). “Comptes rendus: Edward Van Roy, Siamese Melting Pot. Ethnic Minorities in the Making of Bangkok”, Moussons, No.32, pp.222-226.
Van Roy, Edward. (1972). Economic Systems of Northern Thailand. Structure and Change. Ithaca: Cornell University Press.
Van Roy, Edward. (2017). Siamese melting pot: Ethnic minorities in the making of Bangkok.
            Singapore: ISEAS Yusof Ishak Institute; Chiang Mai, Thailand: Silkworm Books.
Huguet, Jerrold W. (2018). “Book Review: Siamese melting pot: Ethnic minorities in the making of Bangkok, by Edward Van Roy” Journal of Mekong Societies, Vol.14, No.2.

แนะนำหนังสือ Siamese melting pot: Ethnic minorities in the making of Bangkok ของ Edward Van Roy

ความน่าสนใจของผลงานชิ้นนี้ นับเป็นงานเขียนของนักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับไทยอย่างช้านาน Jean Baffie กล่าวถึงประวัติของ Edward Van Roy อย่างย่นย่อในรีวิวว่า “เขาเดินทางมาถึงประเทศไยตั้งแต่ ค.ศ.1963 (หรือเกินกว่าครึ่งศตวรรษนับถึงปัจจุบัน) โดยทำการศึกษาภาคสนามในอำเภอเชียงดาวและแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในงานวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยเท็กซัส” ผลงานดังกล่าวกลายเป็นหนังสือเล่มสำคัญคัญที่บอกเล่าถึงระบบเศรษฐกิจในภาคเหนือของไทย (Van Roy 1972) ช่วงเวลาดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาสังคมไทยของคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1966-1997 เขาทำงานให้หน่วยงานระหว่างประเทศในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นเวลาที่เขาศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์สำคัญ ๆ ในกรุงเทพอย่างต่อเนื่อง


หนังสือเรื่อง Siamese melting pot อธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ของกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานแลพัฒนากรุงเทพ (รวมธนบุรี) ตั้งแต่ ค.ศ.1767 ถึง ค.ศ.1782 เรื่อยมาใน 5 รัชกาลจนถึง ค.ศ. 1910 ในแต่ละบทให้คำอธิบายแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ถึงความเป็นมาและบทบาทต่อสังคมไทย ประกอบด้วยโปรตุเกส มอญ ลาว อิสลามกลุ่มต่าง ๆ และจีน ผู้คนเหล่านี้มาจากผู้ที่รอดพ้นจากความล่มสลายของอยุธยา เหล่าพ่อค้าวาณิช คนหนีภัยสงคราม กลุ่มคนหนีความยากจนจากบ้านเกิด และเชลยศึก เขาแสดงให้เห็นแผนที่ตั้งของถิ่นฐาน ราชวัง และสถานที่ของการสักการะบูชาของชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ เนื้อหาในแผนที่สะท้อนให้เห็นช่วงเวลาที่สาทร สีลม และกรุงเกษมมีคลองเป็นเส้นทางสัญจรสำคัญ


เรื่องราวของชาวโปรตุเกสเป็นชนต่างชาตินักเดินทางที่สร้างสายสัมพันธ์กับสยามตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 16 งานศึกษาถ่ายทอดเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์โปรตุเกสกับสยามจนถึงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงเทพ ประกอบด้วยพ่อค้า หมอสอนศาสนา และชุมชนเลือดผสมหรือที่เรียกว่า “mestizo” รวมถึงบทบาทของการค้าอาวุธเพื่อสร้างปราการปากน้ำเจ้าพระยาและในที่อื่น ๆ  
ชนชาติมอญในกรุงเทพและในประเทศไทยเคลื่อนย้ายสู่ดินแดนไทยในปัจจุบันตั้งแต่สมัยทวาราวดี คนมอญเข้าสู่สยามตั้งแต่สมัยอยุธยาเพื่อหนีภัยสงครามจากพม่าในสมัยหงสาวดี บางกลุ่มเข้าร่วมกับพระเจ้าตากสินในสมัยธนบุรี ในส่วนหนึ่ง Van Roy กล่าวถึงบทบาทสำคัญของชาวมอญกับการสถาปนาราชวงศ์จักรี ดังเช่น พระยามหาโยธาที่ได้รับพระราชทานยศและเป็นผู้คุมกำลังชาวมอญในการต่อสู้ทางตะวันตก รวมถึงบทบาทของชาวมอญในกองกำลังที่มีการขยายตัวในช่วงรัชกาลที่ 5 การสำรวจเมื่อ ค.ศ.1820 แสดงให้ประมาณการประชากรชาวมอญถึง 150,000 คน แต่เมื่อถึงทศวรรษ 1970 มีเพียง 94,000 คน ซึ่งสะท้อนให้เห็นการกลายเป็นคนไทย


สงครามในช่วง ค.ศ.1778-1779 และ ค.ศ. 1827-1828 ส่งผลให้เชลยศึกชาวลาวจำนวนหลายหมื่นคนถูกย้ายถิ่นฐานมาสู่สยามและกรุงเทพ ซึ่งส่งผลต่อการเกิดชุมชนลาว บ้างกลายเป็นข้าในราชสำนักและทาส บ้างเป็นช่างและตัวประกันโดยตั้งถิ่นฐานใกล้กับพระบรมมหาราชวัง หนึ่งในนั้นได้รับการเลี้ยงดูในราชสำนักและกลายเป็นฉายาในรัชกาลที่ 2 หนึ่งในพระราชโอรสกลายเป็นผู้ดูแลชุมชนชาวลาวในกรุงเทพและสระบุรี


การศึกษามุสลิมกลุ่มต่าง ๆ “แขกอิสลาม” (โดยให้ตั้งข้อสังเกตถึงคำเรียก “แขก” ที่ยังหมายถึงชาวอินเดียไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด) ประกอบด้วยชาวจามที่มีทักษะในการเป็นนักรบที่ชำนาญในการเดินเรือนและมาถึงสยามตั้งแต่สมัยอยุธยา พ่อค้าชาวเปอร์เซียที่ได้รับการสนับสนุนจากราชสำนัก รวมถึงพ่อค้าอาหรับและอินเดีย นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเชลยศึกชาวมาเลย์ ที่ข้าราชการ ช่างศิลป์ และทาส และคนอพยพจากอินโดนีเซีย ได้แก่ ชาวประมง คนทำสวนในราชสำนัก และบูกิสที่หนีจากอาณานิคมดัชต์ เมื่อเวลาผ่านไปกลุ่มเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสยามและไทย และอิงตัวเองกับความเป็นชาติพันธุ์ลดลงตามลำดับ แต่คงแสดงความเป็นกลุ่มคนมุสลิม หรือ “ไทยอิสลาม” ทั้งนี้ แฝงนัยของความเป็นอื่นจากชนส่วนใหญ่ที่เป็นพุทธศาสนิกชน
Jean Baffie ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับคำอธิบายเกี่ยวกับแขกจามในชุมชนบ้านครัว เขากล่าวว่าคำอธิบายของ Van Roy ช่างห่างไกลกับความจริง เช่นการแปลชื่อหมู่บ้าน “บ้านครัว” ที่ให้ความหมายถึงหมู่บ้านของมุสลิม แต่ Jean Baffie มีความเห็นแตกต่างออกไป เพราะคำว่าแขกครัวเป็นชื่อที่ใช้เรียกชาวจามในประเทศไทยมาตั้งศตวรรษที่ 19 และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการทอผ้าไหม ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2


สำหรับชนกลุ่มต่าง ๆ กลืนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยผ่านการแต่งงานและการติดต่อทางการค้าและราชสำนัก แต่ในกลุ่มคนอพยพชาวจีน ราชสำนักดำเนินการหลายประการเพื่อควบคุม เช่น ชุมชนคนแต้จิ๋วที่พัฒนากฎระเบียบในการดูแลตัวเอง รวมถึงธุรกิจที่ผิดกฎหมายและสมาคมลับต่าง ๆ กระทั่ง ค.ศ.1892 เกิดการปฏิรูปรูปแบบการปกครองและแต่งตั้งผู้นำที่ได้รับความไว้วางใจจากราชสำนักทำหน้าที่ดูแลกลุ่มคนจีนในแต่ละย่าน


นอกจากนี้เมื่อเกิดความวุ่นวายกลางเมืองระหว่างชุมชนแต้จิ๋วกับฮกเกี้ยน รัฐบาลพยายามควบคุมกิจการฝิ่นและสุรา การพนันและหวย และการขึ้นทะเบียนสมาคมลับ บุคคลที่เป็นพลเมืองสยามต้องใช้นามสกุลไทย รวมถึงการควบคุมเนื้อหาในการสอนในโรงเรียนเอกชนของชาวจีนและบังคับให้มีการเรียนการสอนภาษาไทยและประวัติศาสตร์ไทย ปัจจุบันนี้ ลูกหลานชาวจีนทำงานในภาครัฐบาล ภาคเอกชน และภาคการศึกษา โดยมีชื่อเป็นไทยและได้รับการศึกษาในโรงเรียนไทย การนิยามตัวตนทางชาติพันธุ์จีนลดทอนลงจากการแต่งงานระหว่างคนจีนกลุ่มต่าง ๆ กับคนไทย และมักเรียกตนเองว่า คนไทยเชื้อสายจีน


จากนั้นเป็นการกล่าวถึงกลุ่มย่อยต่าง ๆ ในกรุงเทพ ประกอบด้วย เขมร เวียดนาม ไท-ยวน ซิกข์ และฝรั่งในบทที่ 7 ในทัศนะของ Jean Baffie ชี้ให้เห็นข้อจำกัดหลายประการเกี่ยวกับเนื้อหาในบทนี้ เช่น การกล่าวถึงเวียดนามสะพานขาวที่ผู้เขียนไม่อ้างอิงงานเขียนของของ อคิน ระพีพัฒน์ (1975) ที่อธิบายถึงต้นกำเนิดของญวนสะพานขาว หรือการกล่าวถึงไท-ยวนที่หมายถึงคนไทยในล้านนา สามารถนำมาร่วมไว้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์นั้นเหมาะสมหรือไม่อย่างไร
หนังสือแสดงความชัดเจนถึงบทบาทของกลุ่มชาติพันธุ์ในการวางรากฐานของความเป็นกรุงเทพในปัจจุบัน โดยเฉพาะบทบาทความอยู่รอดของราชสำนักและพัฒนาการทางเศรษฐกิจของเมืองหลวง เมื่อเวลาผ่านไปความพยายามสร้างชาตินิยมผ่านสำนึกความเป็นไทยนับเป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเข้าอยู่หัว ที่ผลต่อความเปลี่ยนแปลงต่อสำนึกทางชาติพันธุ์และความเป็นส่วนหนึ่งของสังคมใหญ่
 
สำหรับผู้ที่สนใจงานวิเคราะห์หนังสือ โปรดอ่านบทสังเคราะห์ดังกล่าวในฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ เรื่อง Siamese melting pot: Ethnic minorities in the making of Bangkok
หรือสามารถยืมหนังสือต้นฉบับได้ที่ห้องสมุด ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)


หมายเหตุ ภาพประกอบบทความจาก https://bookshop.iseas.edu.sg/publication/2248, สืบค้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2562

อ้างอิง
Baffie, Jean. (2018). “Comptes rendus: Edward Van Roy, Siamese Melting Pot. Ethnic Minorities in the Making of Bangkok”, Moussons, No.32, pp.222-226.
Van Roy, Edward. (1972). Economic Systems of Northern Thailand. Structure and Change. Ithaca: Cornell University Press.
Van Roy, Edward. (2017). Siamese melting pot: Ethnic minorities in the making of Bangkok.
            Singapore: ISEAS Yusof Ishak Institute; Chiang Mai, Thailand: Silkworm Books.
Huguet, Jerrold W. (2018). “Book Review: Siamese melting pot: Ethnic minorities in the making of Bangkok, by Edward Van Roy” Journal of Mekong Societies, Vol.14, No.2.