Loading...

พิพิธภัณฑ์บ้านดุริยางศิลปิน มนตรี ตราโมท

ตั้งอยู่ ณ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี บ้านในสวนในซอยพิชยนันท์ของครูมนตรีในวัยหลังเกษียณอายุราชการ พ.ศ.2505 บ้านดังกล่าวกลายเป็นสถานที่สำหรับเรียนรู้ชีวิตและผลงานของ ครูมนตรี ตราโมท ที่เกิดขึ้นในวาระร้อยปีชาตกาล เมื่อ พ.ศ.2543 


“ที่พำนักแห่งจิตวิญญาณ เพื่องานของแผ่นดิน”

พ่อไม่เคยหวงแหน ยึดติด ด้วยความคิดที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตเราหยิบยืมมาใช้ ...บ้านนี้คือบ้านที่พ่อยืมพักอาศัย
สำหรับผม บ้านหลังนี้คือ  ‘ที่พำนักแห่งจิตวิญญาณ เพื่องานของแผ่นดิน’”
ญาณี ตราโมทกล่าวถึงบ้านที่คงเป็นทั้งโรงเรียนสอนดนตรีไทยเพื่อรักษาทางเพลงของครูมนตรีและสถานที่ถ่ายทอดชีวิตอันสมถะของศิลปิน

ความผูกพันในบ้าน

ภายในเรือนไม้ดังกล่าวคงรูปแบบการตกแต่งหลัก เอาไว้แสดงให้เห็นการเป็นพุทธมามกะที่ดีและความเป็นระเบียบ

ภาพถ่ายสะท้อนช่วงชีวิตต่าง ของครูมนตรี รวมถึงสิ่งที่ประกาศเกียรติคุณล้วนยืนยันถึงคุณงามความดีของท่าน

เรือนเมื่อแรกสร้าง

ภาพบนผนังด้านหนึ่งแสดงให้เห็นสภาพของเรือนเมื่อครั้นที่ครูมนตรีเกษียณอายุราชการและเริ่มใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลาย  บ้านโสมส่องแสง

แม้แต่ห้องนอนก็เป็นสถานที่ทำงาน

บริเวณห้องนอนประกอบด้วยเตียงไม้และเครื่องเรือนไม่กี่ชิ้น

เตียงนี้ก่อนผมเกิด ตอนทำพิพิธภัณฑ์เตียงนี้หักหมด ต้องซ่อมใช้โครงเหล็กเข้าไป ...พ่อชอบแต่งเพลงตอนเช้ามืดหรือก่อนนอน มีการเคาะเสียงเป็นจังหวะเพลง

ญาณี ตราโมท ชี้ให้เห็นหัวเตียงที่มีร่องรอยของการเคาะจังหวะของครูมนตรี

ชีวิตการทำงาน

นอกเหนือจากเรือน จะทำให้ผู้มาเยือนได้รู้จักการดำเนินชีวิตอันเรียบง่ายของครูมนตรีแล้ว ส่วนล่างยังมีการต่อเติมเป็นนิทรรศการที่บอกเล่าประวัติและผลงาน ให้ผู้ชมได้เห็นโน้ตเพลง บทละคร ตำราวิชาการ และโต๊ะทำงานในกรมศิลปากร

ส่วนกิจกรรม

ทางเชื่อมมายังอาคารด้านหลังที่สร้างขึ้นเป็นพื้นที่กิจกรรม 

ส่วนกิจกรรม

พื้นที่ต่อเติมเพื่อเประกอบกิจกรรม พิธีไหว้ครู การแสดงดนตรี เป็นอาทิ

ครูดนตรี แบบอย่างของการดำเนินชีวิต

  • บ้านโสมส่องแสงอันเป็นสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ดุริยางคศิลปิน มนตรี ตราโมท ได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคาร โดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ..2548
  • ทายาทคงดำเนินกิจกรรมต่าง เช่น การจัดทำจดหมายเหตุครูมนตรี ตราโมท ที่รวบรวมเอกสารผลงานวิชาการ งานประพันธ์เพลง บทกวี ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษามรดกของศิลปินของแผ่นดิน ให้อนุชนสามารถศึกษาชีวิตและผลงานของท่านในภายภาคหน้า

พิพิธภัณฑ์ผ้าป้าดา

พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่  บ้านไร่ไผ่งาม บนถนนเชียงใหม่-ฮอด และเป็นสถานที่แสดงชีวิตและผลงานของศิลปินแห่งชาติ “แสงดา บันสิทธิ์” แม้ “ป้าดา” จากโลกนี้ไปแล้วกว่า 30 ปี แต่ชื่อเสียงและผลงาน “ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ” คงได้รับการสืบสานจากลูกหลาน

ผ้าหมื่นสี

ลายผ้าของเดิมมีเพียงไม่กี่ลาย ป้าดัดแปลงให้แปลกออกไปได้ลายใหม่ บางทีก็สอดสีให้แตกต่างจากเดิมบ้าง บางทีก็ดูจากผ้าสมัยใหม่ ดูลวดลายที่นิยมกันแล้วเอามาคิดทำลายทอผ้า ป้าทำหูกทอผ้าให้เป็นหกตะกอ ซึ่งทำให้คิดแบบลายได้มากขึ้น” (แสงดา บันสิทธิ์ อ้างใน อำนวย จั่นเงิน 2542)

จากเรือนสู่พิพิธภัณฑ์

• พิพิธภัณฑ์ผ้าป้าแสงดาเปิดต้อนรับผู้คนหนึ่งปีใหม่หลังจากการจากไปของป้าดาโดยลูกสาวเสาวนีย์ บันสิทธิ์เมื่อ .. 2537
• พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ใช้เรือนหลังเดิมที่ป้าดาและครอบครัวเคยอยู่อาศัยบันทึกและถ่ายทอดชีวิตความผูกพันของสมาชิกในครัวและการรังสรรค์ผลงานผ้าทอมือ รวมทั้งจัดแสดงผืนผ้าที่มีความโดดเด่นและสวยงาม
• ห้องต่าง ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการถ่ายทอดประวัติ การดำเนินชีวิต และผลงานของป้าดา

เนาวรัตน์ บันสิทธิ์ ผู้สืบสาน

“...พิพิธภัณฑ์ไม่ใช่แค่บ้านที่อยู่กับคุณยาย เพราะเคยเป็นเรือนเก่าของเจ้าแก้วนวรัฐ และเป็นเรือนที่มีเรื่องราวของคุณยาย

สัมผัสแรกของ “ป้าดา”

ระเบียงหน้าบ้านเคยเป็นบริเวณที่ป้าดาขายผ้า หน้าต่างได้รับการติดตั้งตั้งครั้งนั้นและเปิดรับผู้มาเยือนเสมอ แต่ปรับปรุงเป็นนิทรรศการ ผู้ชมทำความรู้จักเจ้าของเรือนในบริเวณแรกจากภาพถ่ายและตัวอย่างของใจฝ้ายและตัวอย่างของวัสดุธรรมชาติสำหรับย้อมสี

ห้องแสดงผลงาน

บริเวณนี้เคยเป็นห้องนอนของลูกสาวป้าดาเสาวนีย์ บันสิทธิ์ที่บอกเล่าเรื่องราวของสี การผสมผสานในการย้อม นำเสนอผลงานชิ้นงามให้เห็นถึงความสร้างสรรค์ของเจ้าของเรือน

โถงกลาง

จากห้องนั่งเล่น กลายเป็นสถานที่นำภาพถ่ายและหนังสือที่ตีพิมพ์ผลงานของป้าดาทั้งในภาษาไทย อังกฤษ และญี่ปุ่น และภาพส่งสการพิธีการปลงศพแบบล้านนา

ภาพบันทึกชีวิต

ภาพถ่ายบนผนังแสดงให้เห็นบุคคลสำคัญต่าง ในช่วงชีวิตป้าดา 

ชีวิตในเรือน

ห้องที่สะท้อนสภาพความเป็นอยู่ของป้าดาได้ชัดเจนคือ “ห้องนอน”  เครื่องเรือนได้รับการอนุรักษ์ หิ้งบูชาครูบาศรีวิชัยฉายภาพความศรัทธา มีเพียงภาพถ่ายที่เพิ่มเติมเท่านั้น

เรื่องเล่าในความทรงจำ

ห้องคุณยายจะเย็นสุด เพราะมีลมโกรกมาจากแม่น้ำ ตอนพี่ต้อมยังเด็ก ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ จุดตะเกียง คุณยายกางมุ้งเนาวรัตน์ บันสิทธิ์ ถ่ายทอดเรื่องราวอย่างมีชีวิตชีวา 

ความรู้ด้านการทอผ้า

  • การจัดแสดงกี่ทอผ้าของป้าดา อุปกรณ์การปั่นฝ้าย ตัวอย่างฝ้ายพื้นเมือง และตัวอย่างพันธุ์ไม้นานาชนิดสำหรับนำเสนอกระบวนการผลิตผ้าทอ
  • บริเวณดังกล่าวนี้เคยเป็นชานตากฝนที่ปรับเปลี่ยนเป็นส่วนหนึ่งของเรือนตั้งแต่ครั้งที่ป้าดามีชีวิตอยู่ เพื่อไม่น้ำฝนไหลลงสู่ใต้ถุนที่มีช่างทอผ้าทำงานอยู่

ครัวไฟและสำรับในบ้าน

ห้องครัวแสดงครัวไฟแบบดั้งเดิม เพราะป้าดาเป็นคนชอบทำครัวและคุ้นชินกับครัวไฟล้านนา แต่ก็นำเสนอเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ เพื่อฉายให้เห็นคนที่อยู่อาศัยหลายรุ่น

ใต้ถุนเรือน

คงเป็นสถานที่แสดงฝีมือของช่างทอผ้า ให้ผู้มาเยือนได้เห็นกรรมวิธีการผลิตในขั้นตอนต่าง ตั้งแต่การเตรียมเส้นดาย การย้อมสี และการทอผ้า 

ชีวิตของเรือนในหลายชั่วรุ่น

พิพิธภัณฑ์ผ้าป้าดานับเป็นมรดกของครอบครัวบันสิทธิ์ที่ไม่เพียงถ่ายทอดประวัติ ผลงาน ของแสงดา บันสิทธิ์แต่สร้างความรู้สึกของความเป็นบ้านให้กับผู้มาเยือน
เรื่องเล่าที่กำกับบริเวณต่าง สะท้อนให้เห็นความผูกพันระหว่างสมาชิกในครอบครัวกับเรือน เรือนจึงเป็นทั้งสถานที่พำนัก การทำงาน และถ่ายทอดหัตถศิลป์จากรุ่นสู่รุ่น

พิพิธภัณฑ์บ้านนักเขียนและแหล่งสร้างแรงบันดาลใจ

เสาว์ บุญเสนอ (..2452-2544) อุทิศที่ดินและบ้านไม้ชั้นเดียวที่มีสวนหลังบ้านในซอยเทวรัตน์ ย่านบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ให้กับสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ..2544 สถานที่แหล่งนี้เป็นที่ทำการของสมาคมและเป็นแห่งสร้างแรงบันดาลใจให้คนหน้าใหม่ในเส้นทางนักเขียน 

ชายผู้อดออม มีวินัย และช่างบันทึก

ชมัยภร แสงกระจ่าง อดีตนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กล่าวไว้ว่าลุงเสาว์ทำงานหนักและใช้เงินอย่างมัธยัสถ์รายได้จากการเขียนหนังสือและแปลบทภาพยนตร์ นอกจากจะใช้เพื่อยังชีพแล้ว ยังเก็บหอมรอมริบจนสามารถซื้อที่ดินและปลูกบ้านหลังนี้สำหรับอยู่กับภรรยา หรือศรีสุดา วิกเตอร์ 

ร้อยปีชาตกาล ส.บุญเสนอ พ.ศ.2552

เป็นวันเปิดพิพิธภัณฑ์และสำนักงานสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ชมัยภร แสงกระจ่างกล่าวถึงเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์บ้านนักเขียนแห่งนี้ ว่าตั้งชื่อพิพิธภัณฑ์บ้านนักเขียน อยากให้เห็นว่านักเขียนมีชีวิตที่เรียบง่าย ...ไม่ได้มีอะไรเกินไปกว่ามนุษย์ธรรมดาแล้วนักเขียนคนใดอยู่อย่างสมถะ จะสามารถอุทิศตนให้สังคม 

ในการสร้างสรรค์ผลงาน

  • ภายในพิพิธภัณฑ์ คงบรรยากาศอันเรียบง่ายของบ้านและผู้เป็นเจ้าของ 
  • หุ่นจำลองลุงเสาว์จัดแสดงไว้ที่โต๊ะทำงาน พร้อมเครื่องพิมพ์ดีดที่พิมพ์บทประพันธ์เรื่องสายแดงที่สร้างชื่อเสียงให้กับ .บุญเสนอ ส่วนหุ่นป้าศรีสุดา ภรรยายกถ้วยน้ำชา แสดงความรักและผูกพันของทั้งคู่

ผลงานบันทึกชีวิต

ในห้องทำงาน แสดงหนังสือพิมพ์ประมวญสาร ประมวญวัน และต้นฉบับงานเขียนของ .บุญเสนอ อันเป็นผลงานในแวดวงนักเขียน

ไม่มากมายแต่มีคุณค่า

นอกเหนือจากต้นฉบับและผลงานที่ตีพิมพ์แล้ว เครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องกระเบื้องเล็ก น้อย ได้รับการจัดเรียงไว้บนตู้ไม้ แม้ไม่มีมูลค่ามากมาย แต่สิ่งเหล่านี้ถ่ายทอดบุคลิกลักษณะของนักเขียนที่เป็นอยู่อย่างเรียบง่าย

เครื่องเรือนไม่กี่ชิ้น

ห้องนอนคงมีเตียงของ .บุญเสนอ และภรรยา ที่จัดวางไว้ที่เดิม โต๊ะเครื่องแป้งที่มีภาพป้าศรีสุด้าในวัยสาว และตู้เสื้อผ้า ทั้งหมดฉายภาพความผูกพันและความทรงจำของทั้งสอง

บ้านนักเขียนในการดูแลของสมาคม

การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มักเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดอบรมนักเขียนโดยสมาคม สำหรับถ่ายทอดอุดมการณ์ของความเรียบง่ายในอาชีพนักเขียน 
บูรพา อารัมภีร อดีตนายกสมาคมที่เคยดูแลบ้านนักเขียน และหาหนทางในการขอทุนสนับสนุน แต่คงเป็นความไม่ลงตัวกับหน่วยงานรัฐที่เรียกร้องให้ถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ 

พิพิธภัณฑ์บ้านของนักเขียน

  • พิพิธภัณฑ์บ้านนักเขียนเป็นสถานที่ของการรำลึกถึงผู้อุทิศสมบัติส่วนตัวเพื่อสาธารณะประโยชน์ 
  • บ้าน เครื่องเรือน พร้อมเรื่องเล่า ฉายภาพชีวิตของคนในบ้านที่ไม่ซับซ้อน เพื่อถ่ายทอดภาพลักษณ์ของวิชาชีพนักเขียนอย่างสมถะ 

มณเฑียร อัตเตอลิเยร์

พิพิธภัณฑ์บ้าน นามมณเฑียร์ อัตเตอลิเยร์ในย่านงามวงศ์วาน นนทบุรี เป็นสมบัติที่มณเฑียร บุญมา ศิลปินคนสำคัญในการบุกเบิกงานศิลปะสื่อผสม กว่าสามทศวรรษ ตกทอดให้กับบุตรชาย จุมพงษ์ บุญมา 

ความโดดเด่น

การแปรสภาพของสถานที่พำนักและทำงานของศิลปินให้กลายเป็นคลังสะสมต้นแบบผลงาน เอกสาร บันทึก และวัสดุต่าง ที่ถ่ายทอดพัฒนาการทางความคิด ความสนใจ และการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย 

ต้นฉบับและวัสดุต่าง ๆ

งานทุกอย่างพวกสเก็ตช์ ฟิล์ม ...ทุกอย่างอยู่ในโรงรถ ห้องเก็บของ ...ไม่มีใครดูเลยตั้งแต่คุณพ่อวางไว้ตอนนั้นจุมพงษ์ บุญมา บอกเล่าถึงต้นฉบับงานต่าง ของมณเฑียร ที่สามารถฉายให้เห็นพัฒนาการทางความคิดของศิลปิน

อัตเตอลิเยร์สร้างแรงบันดาลใจ

ทุกครั้งที่มาบ้านหลังนี้ เรารู้สึกถึงพลัง ถึงความคิดพิเศษของอาจารย์อยู่ในนั้น ซึ่งสิ่งนี้ยังอยู่ แล้วเรา inspire มาก...เราจะทำอย่างไรให้คนรู้สึกว่า มาที่นี่แล้ว รู้ถึงจิตวิญญาณของอาจารย์มณเฑียร  ...ไม่ใช่เชื่อมโยงด้วยบรรยากาศแบบเดิม เพราะบ้านถูก renovate ไปแล้ว” โสมสุดา เปี่ยมสัมฤทธิ์ สะท้อนให้เห็นถึงการตัดสินใจให้พิพิธภัณฑ์บ้านหลังนี้มีรูปแบบการนำเสนอเป็นแกลลอรี่ ไม่ใช่การจำลองบรรยากาศของบ้าน

ภาพครอบครัว

  • โดย นาวิน ลาวัลน์ชัยกุล ศิษย์ของมณเฑียร บุญมา
  • ภาพวาดดังกล่าวเป็นตัวแทนของบ้านคลอกับเสียงเปียโนเพลง Funeral March ของโชแปงจากวีดิโอบันทึกสภาพบ้านก่อนการเปลี่ยนแปลง ต้อนรับผู้ชมเมื่อขึ้นมายังแกลลอรี่ชั้นสอง

Idea Storage

• ในพื้นที่ 25 ตารางเมตรจากการปรับห้องนอนให้เห็นโถงโล่งเชื่อมต่อกัน ชั้นไม้ พื้นหลังเป็นผนังขาว นำเสนอสิ่งต่าง ตามลำดับการสร้างสรรค์ผลงาน
• งานร่างแบบ วัสดุทดลองต่าง ภาพถ่าย และสิ่งของเครื่องใช้ สะท้อนระหว่างทางในการทำงานเรียกได้ว่าเป็นจดหมายเหตุที่ส่งพลังถึงความเข้าใจในชิ้นงานของศิลปิน

ชีวิตและผลงาน

  • ผนังด้านหนึ่งเผยให้เห็นเส้นทางชีวิตของการทำงาน จากเด็กจิตรกรรมในรั้วศิลปากร สู่การเป็นครูในวิทยาลัยช่างศิลป์ สู่การศึกษาต่อในฝรั่งเศส แล้วเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จวบจนวาระสุดท้ายในบ้านหลังนี้

สิ่งจัดแสดง

  • เอกสารและผลงานต่าง  ครอบคลุมตั้งแต่ ..2517-2543
  • ในภาพแสดงตัวอย่างสมุดบันทึกความคิดของ “มณเฑียร 

ความตอนหนึ่งจากบันทึกส่วนตัวเพื่อสะท้อนการทำงานของศิลปิน

ยิ่ง sketch ก็ยิ่งเข้าใจในสิ่งที่จะสร้าง และเข้าใจเรื่องราวแง่มุมเพิ่มขึ้น ฉะนั้นงานวาดเส้นของพ่อเป็นการบันทคกความคิดที่จะทำให้เป็นรูปในผลงานนั้น จะร่างทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ idea เริ่มแรกจึงเขียนทุกอย่างลงไปแล้วค่อย แก้ใน sketch นั้น จนสมบูรณ์ขึ้น

คลังเปิด

ผู้สนใจศึกษาและต้องการทำความรู้จักมณเฑียรมากขึ้น ยังค้นคว้าได้จากหนังสือและเอกสารที่รวบรวมไว้มุมหนึ่ง 

จิตวิญญาณของการสร้างสรรค์ในรั้วบ้าน

  • พิพิธภัณฑ์บ้านหลังนี้แสดงให้เห็นถึงการสร้างสรรค์บ้านในรูปแบบการใช้งานใหม่ แกลลอรี่หรือ “คลังความคิด” เผยให้เห็นการปรับเปลี่ยนบ้านให้สอดคล้องกับการเป็นคลังสะสมงานทดลอง เอกสารสำหรับการรู้จักตัวตนของ “มณเฑียร บุญมา”
  • ในเวลานี้ พิพิธภัณฑ์บ้านอยู่ในความดูแลของ ”Estate of Montien Boonma” ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยทายาทและกรรมการที่เคยมีประสบการณ์ร่วมกับศิลปินเพื่อดูแลและเผยแพร่ผลงาน

ขอบคุณ

ช่างภาพ : ศิวพงษ์ วงศ์คูณ, ศุภกรานต์ พุ่มพฤกษ์
ผู้ให้ข้อมูล : เนาวรัตน์ บันสิทธิ์, ชมัยภร แสงกระจ่าง, บูรพา อารัมภี, ญาณี ตราโมท, จุมพงษ์ บุญมา, โสมสุดา เปี่ยมสัมฤทธิ์