ในศิลปะสถาน : รู้จักศิลปินเพื่อรู้จักศิลปะร่วมสมัย

คำสำคัญ : กรุงเทพมหานคร,นครปฐม,นนทบุรี,ลำพูน,ศิลปะร่วมสมัย,เชียงราย,
ในศิลปะสถาน : รู้จักศิลปินเพื่อรู้จักศิลปะร่วมสมัย

“ศิลป อยู่ในจิตใจของผู้สร้างและผู้อ่าน ผู้ฟังหรือผู้ดู มากกว่าอยู่ที่ถ้อยคำ ตัวหนังสือ เสียงรูปและสี ซึ่งรวมเรียกว่ารูปธรรม” ศิลป์ พีระศรี


        คนจำนวนหนึ่งอาจมองว่า “ศิลปะร่วมสมัย” เป็นสิ่งไกลตัว การใช้เวลาว่าง หรือความสนใจเฉพาะกลุ่ม แต่ศิลปะร่วมสมัยนั้นมีหลากหลายรูปแบบให้เราได้เรียนรู้ สำคัญไปกว่านั้น การเรียนรู้ศิลปะผ่านวิธีคิดการทำงาน และความรู้สึกของศิลปิน อาจเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงศิลปะ ที่สุดท้ายแล้วไม่ใช่สิ่งไกลตัวอย่างที่คิด

        พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ที่นำเรื่องราวและผลงานของศิลปินในที่นี้ จำนวนหนึ่งมักเกี่ยวข้องกับแนวคิดทางพุทธศาสนา ซึ่งเรียกว่าไม่ห่างไกลจากพุทธศาสนิกชนมากนัก การเข้าหาและเรียนรู้ศิลปะที่สัมพันธ์กับพื้นเพและความเชื่อคงเป็นโอกาสให้เราได้ทบทวนถึงสิ่งที่อาจมองข้ามหรือไม่ได้นึกถึงในการดำเนินชีวิต “ศิลปะสถาน” ทั้ง 5 แห่งนี้ปรากฏลักษณะ การจัดตั้ง และรูปแบบการดำเนินงานแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่น่าสนใจนั่นคือ โอกาสที่ผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์จะใช้เวลารู้จักกับโลกของศิลปะที่แม้จะไม่ได้เกี่ยวกับชีวิตในแง่ของปากท้อง แต่เราคงไม่ลืมว่า ชีวิตในอีกส่วนหนึ่งคือ ความรู้สึกหรือจิตวิญญาณ ที่สามารถทำให้เราเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์


พิพิธภัณฑ์จ่าง แซ่ตั้ง เลขที่ 29/5 หมู่ 2 ตำบลบางกระทึกอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

“คุณพ่อน่าจะเป็นศิลปินคนเดียวที่บันทึกเรื่องราว ความรู้สึกต่าง ๆ ผ่านงานภาพวาด โดยไม่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก” ทิพย์ แซ่ตั้ง        

        “พิพิธภัณฑ์จ่าง แซ่ตั้ง” ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ตั้งชื่อตามนามของศิลปินแนวนามธรรม จ่าง แซ่ตั้งที่ฝึกฝนฝีมือการวาดภาพด้วยตัวเอง ในช่วงทศวรรษ 2500 เขาเริ่มเขียนบทกวี ที่มีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เรียกว่า "กวีรูปธรรม" (concrete poetry) ซึ่งมีที่มีการนำตัวอักษรมาร้อยเรียงเป็นภาพ นอกจากนี้ ยังมีงานจิตรกรรมที่บันทึกภาพใบหน้าของตนเองและสะท้อนความรู้สึกของยุคสมัยของการถูกกดขี่ของอำนาจที่ไม่ชอบธรรม จ่าง แซ่ตั้ง ถือว่าเป็นศิลปินประเภทนามธรรมคนแรก ๆ และมีอิทธิพลต่อวงการศิลปะในไทย พิพิธภัณฑ์จ่าง แซ่ตั้ง จัดเก็บผลงานของศิลปินผู้ล่วงลับ และ “ทิพย์ แซ่ตั้ง” คือทายาทผู้ทำหน้าที่ดูแลและร่วมจัดแสดงในนิทรรศการทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง



 มณเฑียร อาเตอลิเย่ เลขที่ 408 งามวงศ์วาน 25 ซอย 3 ถนนงามวงศ์วานอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

“ผมถือว่าวิธีการทำงานของผมทั้งหมดเป็นงานศิลปะไทย ศิลปะไทยตรงที่ว่าผมใช้ทัศนคติหรือคอนเซ็ปแบบคนพื้นบ้าน ง่าย ๆ ไม่มีลวดลายมาประดับหรือตกแต่งเกินไป ไม่เป็นลักษณะที่ผูกพันชนชั้นทางสังคม” มณเฑียร บุญมา


        มณเฑียร อาเตอลิเย่ ตั้งอยู่ในถนนงามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี เป็นสถานที่รวบรวมผลงานของ “มณเฑียร บุญมา” ศิลปินผู้บุกเบิกการทำงานศิลปะที่ผสมผสานงานจัดวาง งานสื่อผสมและงานเชิงความคิดสถานที่แห่งนี้เกิดขึ้นจาก “จุมพงษ์ บุญมา” ทายาท และโสมสุดา เปี่ยมสัมฤทธิ์ ในฐานะภัณฑารักษ์ ร่วมกันเปลี่ยนแปลงบ้านที่เคยร้างภายหลังมรณกรรมของศิลปิน ให้กลายเป็นสถานที่จัดแสดงสมุดบันทึก ภาพถ่าย จดหมาย วิดีโอสัมภาษณ์ ภาพร่าง เอกสารต่าง ๆ  ล้วนเป็นพยานถึงความคิดสร้างสรรค์ผลงานที่เชื่อมโยงกับช่วงชีวิต พุทธศาสนา และการตั้งคำถามถึงวิกฤตในชีวิต เมื่อ “จันทร์แจ่ม บุญมา” ผู้เป็นภรรยา ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็ง เรียกได้ว่าเป็น ศิลปะทำหน้าที่เยียวยาจิตใจ





พิพิธภัณฑ์บ้านดำ เลขที่ 414 หมู่ 13 บ้านนางแลตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

 “ผมพูดถึงเรื่องเดียวตั้งแต่ต้น ตั้งแต่กลางและจนจบ ผมไม่เคยไขว้เขวและออกเดินนอกลู่ทาง ผมได้ตระหนักทุกลมหายใจเข้าออกว่า ผมเป็นช่างวาดรูป และผมนำเอาความรักของผมมาปรากฏรูปด้วยความงาม สัจธรรม

และผมปูแผ่ความงามและสัจธรรมนั้น บนรากเหง้าของพุทธปรัชญา” ถวัลย์ ดัชนี


        กิลเบิร์ท บราวน์สโตนเขียนถึง “ถวัลย์ ดัชนี” ในฐานะศิลปินผู้สร้างสรรค์จิตรกรรมไทยสากลวิญญาณตะวันออก เรื่องราวและผลงานของอาจารย์ถวัลย์ สะท้อนความลุ่มลึกและความแกร่งไว้ในจิตวิญญาณของการผสมผสานระหว่างแนวปรัชญาตะวันออกและตะวันตก บ้านดำ เป็นสถานที่ที่เรียกได้ว่า “พิพิธภัณฑ์ศิลปะ” บนเนื้อหาที่กว่าร้อยไร่ ประกอบด้วยอาคารที่มีแนวคิดในการสร้างสรรค์แตกต่างกันถึง 40 หลัง นอกเหนือจากผลงานของศิลปิน ยังมีศิลปะพื้นบ้านโดยช่างท้องถิ่น ความงดงามที่ผู้มาเยือนจะได้สัมผัสจึงไม่ใช่เพียงผลงาน แต่ยังหมายรวมถึงอาคารที่สะท้อนความคิดและความรู้สึกของศิลปินที่ห้อมล้อมด้วยอาณาบริเวณของบ้าน “ดอยธิเบศร์ ดัชนี” ทายาทผู้เพียรทุกหนทางให้บ้านแห่งนี้ทำหน้าที่ “มรดกของชาติ คือบ้านของแผ่นดิน เป็นบ้านของคนไทยทุกคน”





บ้านจิตรกวีอังคาร กัลยาณพงศ์ เลขที่ 66 ซอยอิสระชัย ถนนพระราม 9 ตัดใหม่ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร

รูปเขียนบางรูปมีความเป็นกวีอยู่ในนั้น เพราะมาจากหัวใจอันเดียวกัน หัวใจอันอ่อนไหวที่รู้สึกในสิ่งนั้นอย่างลึกซึ้ง” อังคาร กัลยาณพงศ์


        หากจะนิยามกวีนิพนธ์และจิตรกรรมของ “อังคาร กัลยาณพงศ์” คงเรียกได้ว่าเป็น กุศลศิลป์อันหมายถึงศิลปะที่มุ่งเตือนมนุษย์ให้เห็นปัญญาในสังคม แต่ขณะเดียวกัน สามารถเรียนรู้จากธรรมชาติ เพื่อขจัดความเห็นแก่ตัวและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์ หากศิลปะเช่นนี้อยู่ในความสนใจ พิพิธภัณฑ์บ้านจิตรกร กวี แห่งนี้อยู่ในบ้านพักอาศัยของท่านอังคาร ในเขตสวนหลวง กรุงเทพฯ ผนังภายในบ้านเป็นสถานที่จัดแสดงภาพและบทกวีด้วยลายมือท่านอังคาร ภาพส่วนใหญ่เป็นภาพวาดด้วยเกรยองสีดำ บางรูปเขียนบทกวีไว้ด้านข้าง นอกจากนั้นยังมีชิ้นส่วนจากโบราณสถานเพื่อให้เป็นเครื่องเตือนใจถึงรากเหง้าของศิลปะในสังคมไทย




อุทยานธรรมะและหอศิลป์ อินสนธิ์ วงศ์สาม  เลขที่ 109/2 หมู่ที่ 1 บ้านป่าซางน้อย ตำบลบ้านแป้น อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

“ประติมากรรมมีโวลุม คอมโพสิชั่น และความรู้สึก มีสามอย่างใส่เข้าไป” อินสนธิ์ วงศ์สาม


            อินสนธิ์ วงศ์สาม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พ.ศ.2542 ร่วมกับ “ป้าแหม่ม” หรือ เวนีเซีย วอล์คกี (วนิดา วงศ์สาม) ผู้เป็นภริยา เปิดบ้านที่รายล้อมด้วยสวนจนสามารถเรียกได้ว่าเป็น อุทยานธรรม ณ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ผลงานศิลปะของทั้งสองสะท้อนแนวคิดพุทธศาสนา และส่งพลังให้ผู้มีปณิธานร่วมเรียนรู้และปฏิบัติ งานประติมากรรมของอินสนธิ์ขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่กลางแจ้ง นับเป็นผลงานในยุคแรกทำด้วยโลหะทรงเรขาคณิตและฉาบเคลือบด้วยสีฉูดฉาด จากนั้น ศิลปินให้ความสำคัญกับรูปทรงจากสภาวะจิตที่เขาได้สัมผัส จึงเปลี่ยนวัสดุเป็นไม้ที่สะท้อนถึงธรรมชาติ ส่วนหนึ่งในผลงานของ “ป้าแหม่ม” นำเสนอประติมากรรมอันเป็นสัญลักษณ์ของการเวียนว่ายตายเกิดไว้ในอาคารหลังสีขาว อุทยานธรรมะแห่งนี้จึงเปรียบเสมือนแกเลอรี่ที่เผยสัจธรรมเพื่อการเข้าถึง


 

 

ในศิลปะสถาน : รู้จักศิลปินเพื่อรู้จักศิลปะร่วมสมัย

“ศิลป อยู่ในจิตใจของผู้สร้างและผู้อ่าน ผู้ฟังหรือผู้ดู มากกว่าอยู่ที่ถ้อยคำ ตัวหนังสือ เสียงรูปและสี ซึ่งรวมเรียกว่ารูปธรรม” ศิลป์ พีระศรี


        คนจำนวนหนึ่งอาจมองว่า “ศิลปะร่วมสมัย” เป็นสิ่งไกลตัว การใช้เวลาว่าง หรือความสนใจเฉพาะกลุ่ม แต่ศิลปะร่วมสมัยนั้นมีหลากหลายรูปแบบให้เราได้เรียนรู้ สำคัญไปกว่านั้น การเรียนรู้ศิลปะผ่านวิธีคิดการทำงาน และความรู้สึกของศิลปิน อาจเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงศิลปะ ที่สุดท้ายแล้วไม่ใช่สิ่งไกลตัวอย่างที่คิด

        พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ที่นำเรื่องราวและผลงานของศิลปินในที่นี้ จำนวนหนึ่งมักเกี่ยวข้องกับแนวคิดทางพุทธศาสนา ซึ่งเรียกว่าไม่ห่างไกลจากพุทธศาสนิกชนมากนัก การเข้าหาและเรียนรู้ศิลปะที่สัมพันธ์กับพื้นเพและความเชื่อคงเป็นโอกาสให้เราได้ทบทวนถึงสิ่งที่อาจมองข้ามหรือไม่ได้นึกถึงในการดำเนินชีวิต “ศิลปะสถาน” ทั้ง 5 แห่งนี้ปรากฏลักษณะ การจัดตั้ง และรูปแบบการดำเนินงานแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่น่าสนใจนั่นคือ โอกาสที่ผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์จะใช้เวลารู้จักกับโลกของศิลปะที่แม้จะไม่ได้เกี่ยวกับชีวิตในแง่ของปากท้อง แต่เราคงไม่ลืมว่า ชีวิตในอีกส่วนหนึ่งคือ ความรู้สึกหรือจิตวิญญาณ ที่สามารถทำให้เราเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์


พิพิธภัณฑ์จ่าง แซ่ตั้ง เลขที่ 29/5 หมู่ 2 ตำบลบางกระทึกอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

“คุณพ่อน่าจะเป็นศิลปินคนเดียวที่บันทึกเรื่องราว ความรู้สึกต่าง ๆ ผ่านงานภาพวาด โดยไม่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก” ทิพย์ แซ่ตั้ง        

        “พิพิธภัณฑ์จ่าง แซ่ตั้ง” ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ตั้งชื่อตามนามของศิลปินแนวนามธรรม จ่าง แซ่ตั้งที่ฝึกฝนฝีมือการวาดภาพด้วยตัวเอง ในช่วงทศวรรษ 2500 เขาเริ่มเขียนบทกวี ที่มีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เรียกว่า "กวีรูปธรรม" (concrete poetry) ซึ่งมีที่มีการนำตัวอักษรมาร้อยเรียงเป็นภาพ นอกจากนี้ ยังมีงานจิตรกรรมที่บันทึกภาพใบหน้าของตนเองและสะท้อนความรู้สึกของยุคสมัยของการถูกกดขี่ของอำนาจที่ไม่ชอบธรรม จ่าง แซ่ตั้ง ถือว่าเป็นศิลปินประเภทนามธรรมคนแรก ๆ และมีอิทธิพลต่อวงการศิลปะในไทย พิพิธภัณฑ์จ่าง แซ่ตั้ง จัดเก็บผลงานของศิลปินผู้ล่วงลับ และ “ทิพย์ แซ่ตั้ง” คือทายาทผู้ทำหน้าที่ดูแลและร่วมจัดแสดงในนิทรรศการทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง



 มณเฑียร อาเตอลิเย่ เลขที่ 408 งามวงศ์วาน 25 ซอย 3 ถนนงามวงศ์วานอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

“ผมถือว่าวิธีการทำงานของผมทั้งหมดเป็นงานศิลปะไทย ศิลปะไทยตรงที่ว่าผมใช้ทัศนคติหรือคอนเซ็ปแบบคนพื้นบ้าน ง่าย ๆ ไม่มีลวดลายมาประดับหรือตกแต่งเกินไป ไม่เป็นลักษณะที่ผูกพันชนชั้นทางสังคม” มณเฑียร บุญมา


        มณเฑียร อาเตอลิเย่ ตั้งอยู่ในถนนงามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี เป็นสถานที่รวบรวมผลงานของ “มณเฑียร บุญมา” ศิลปินผู้บุกเบิกการทำงานศิลปะที่ผสมผสานงานจัดวาง งานสื่อผสมและงานเชิงความคิดสถานที่แห่งนี้เกิดขึ้นจาก “จุมพงษ์ บุญมา” ทายาท และโสมสุดา เปี่ยมสัมฤทธิ์ ในฐานะภัณฑารักษ์ ร่วมกันเปลี่ยนแปลงบ้านที่เคยร้างภายหลังมรณกรรมของศิลปิน ให้กลายเป็นสถานที่จัดแสดงสมุดบันทึก ภาพถ่าย จดหมาย วิดีโอสัมภาษณ์ ภาพร่าง เอกสารต่าง ๆ  ล้วนเป็นพยานถึงความคิดสร้างสรรค์ผลงานที่เชื่อมโยงกับช่วงชีวิต พุทธศาสนา และการตั้งคำถามถึงวิกฤตในชีวิต เมื่อ “จันทร์แจ่ม บุญมา” ผู้เป็นภรรยา ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็ง เรียกได้ว่าเป็น ศิลปะทำหน้าที่เยียวยาจิตใจ





พิพิธภัณฑ์บ้านดำ เลขที่ 414 หมู่ 13 บ้านนางแลตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

 “ผมพูดถึงเรื่องเดียวตั้งแต่ต้น ตั้งแต่กลางและจนจบ ผมไม่เคยไขว้เขวและออกเดินนอกลู่ทาง ผมได้ตระหนักทุกลมหายใจเข้าออกว่า ผมเป็นช่างวาดรูป และผมนำเอาความรักของผมมาปรากฏรูปด้วยความงาม สัจธรรม

และผมปูแผ่ความงามและสัจธรรมนั้น บนรากเหง้าของพุทธปรัชญา” ถวัลย์ ดัชนี


        กิลเบิร์ท บราวน์สโตนเขียนถึง “ถวัลย์ ดัชนี” ในฐานะศิลปินผู้สร้างสรรค์จิตรกรรมไทยสากลวิญญาณตะวันออก เรื่องราวและผลงานของอาจารย์ถวัลย์ สะท้อนความลุ่มลึกและความแกร่งไว้ในจิตวิญญาณของการผสมผสานระหว่างแนวปรัชญาตะวันออกและตะวันตก บ้านดำ เป็นสถานที่ที่เรียกได้ว่า “พิพิธภัณฑ์ศิลปะ” บนเนื้อหาที่กว่าร้อยไร่ ประกอบด้วยอาคารที่มีแนวคิดในการสร้างสรรค์แตกต่างกันถึง 40 หลัง นอกเหนือจากผลงานของศิลปิน ยังมีศิลปะพื้นบ้านโดยช่างท้องถิ่น ความงดงามที่ผู้มาเยือนจะได้สัมผัสจึงไม่ใช่เพียงผลงาน แต่ยังหมายรวมถึงอาคารที่สะท้อนความคิดและความรู้สึกของศิลปินที่ห้อมล้อมด้วยอาณาบริเวณของบ้าน “ดอยธิเบศร์ ดัชนี” ทายาทผู้เพียรทุกหนทางให้บ้านแห่งนี้ทำหน้าที่ “มรดกของชาติ คือบ้านของแผ่นดิน เป็นบ้านของคนไทยทุกคน”





บ้านจิตรกวีอังคาร กัลยาณพงศ์ เลขที่ 66 ซอยอิสระชัย ถนนพระราม 9 ตัดใหม่ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร

รูปเขียนบางรูปมีความเป็นกวีอยู่ในนั้น เพราะมาจากหัวใจอันเดียวกัน หัวใจอันอ่อนไหวที่รู้สึกในสิ่งนั้นอย่างลึกซึ้ง” อังคาร กัลยาณพงศ์


        หากจะนิยามกวีนิพนธ์และจิตรกรรมของ “อังคาร กัลยาณพงศ์” คงเรียกได้ว่าเป็น กุศลศิลป์อันหมายถึงศิลปะที่มุ่งเตือนมนุษย์ให้เห็นปัญญาในสังคม แต่ขณะเดียวกัน สามารถเรียนรู้จากธรรมชาติ เพื่อขจัดความเห็นแก่ตัวและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์ หากศิลปะเช่นนี้อยู่ในความสนใจ พิพิธภัณฑ์บ้านจิตรกร กวี แห่งนี้อยู่ในบ้านพักอาศัยของท่านอังคาร ในเขตสวนหลวง กรุงเทพฯ ผนังภายในบ้านเป็นสถานที่จัดแสดงภาพและบทกวีด้วยลายมือท่านอังคาร ภาพส่วนใหญ่เป็นภาพวาดด้วยเกรยองสีดำ บางรูปเขียนบทกวีไว้ด้านข้าง นอกจากนั้นยังมีชิ้นส่วนจากโบราณสถานเพื่อให้เป็นเครื่องเตือนใจถึงรากเหง้าของศิลปะในสังคมไทย




อุทยานธรรมะและหอศิลป์ อินสนธิ์ วงศ์สาม  เลขที่ 109/2 หมู่ที่ 1 บ้านป่าซางน้อย ตำบลบ้านแป้น อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

“ประติมากรรมมีโวลุม คอมโพสิชั่น และความรู้สึก มีสามอย่างใส่เข้าไป” อินสนธิ์ วงศ์สาม


            อินสนธิ์ วงศ์สาม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พ.ศ.2542 ร่วมกับ “ป้าแหม่ม” หรือ เวนีเซีย วอล์คกี (วนิดา วงศ์สาม) ผู้เป็นภริยา เปิดบ้านที่รายล้อมด้วยสวนจนสามารถเรียกได้ว่าเป็น อุทยานธรรม ณ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ผลงานศิลปะของทั้งสองสะท้อนแนวคิดพุทธศาสนา และส่งพลังให้ผู้มีปณิธานร่วมเรียนรู้และปฏิบัติ งานประติมากรรมของอินสนธิ์ขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่กลางแจ้ง นับเป็นผลงานในยุคแรกทำด้วยโลหะทรงเรขาคณิตและฉาบเคลือบด้วยสีฉูดฉาด จากนั้น ศิลปินให้ความสำคัญกับรูปทรงจากสภาวะจิตที่เขาได้สัมผัส จึงเปลี่ยนวัสดุเป็นไม้ที่สะท้อนถึงธรรมชาติ ส่วนหนึ่งในผลงานของ “ป้าแหม่ม” นำเสนอประติมากรรมอันเป็นสัญลักษณ์ของการเวียนว่ายตายเกิดไว้ในอาคารหลังสีขาว อุทยานธรรมะแห่งนี้จึงเปรียบเสมือนแกเลอรี่ที่เผยสัจธรรมเพื่อการเข้าถึง