
จังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวประเภทวัดวาอารามตั้งอยู่ริมน้ำเป็นจำนวนมาก
ลองเลาะเลียบวัดทั้ง 5 แห่งคงได้รู้จักทั้งประวัติศาสตร์และความงามของสถาปัตยกรรมได้เป็นอย่างดี
นับหนึ่งที่เกาะเกร็ด
เริ่มต้นที่หนึ่ง “เกาะเกร็ด” จังหวัดนนทบุรี คือ
วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหารสถานที่ตั้งของเจดีย์เอียงอันแปลกตา
เป็นวัดโบราณสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดปากอ่าว
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญตั้งบ้านเรือนบริเวณนี้
จึงมีการรวบรวมปัจจัยจากผู้มีจิตศรัทธาสร้างเจดีย์ทรงรามัญและพระพุทธไสยาสน์ขึ้น
ล่วงเลยมาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าวเพื่อเป็นพระราชกุศลแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ที่คอยอภิบาลบำรุงพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์
และพระราชทานนามพระอารามนี้ใหม่ว่า “วัดปรมัยยิกาวาส”

นอกจากเจดีย์เอียงที่เป็นจุดเด่นของวัด ยังมีส่วนของพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเครื่องมือใช้สอยในสมัยโบราณ
เครื่องปั้นดินเผาชนิดต่าง ๆ ตลอดจนของใช้ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร สิ่งของที่วัดได้รับพระราชทานในวาระสำคัญต่าง ๆ
คัมภีร์รามัญหรือคัมภีร์ภาษามอญ ข้าวของเครื่องใช้ในวัฒนธรรมมอญ
และสิ่งของเบ็ดเตล็ดทั่วไป
ปัจจุบันนี้ บริเวณโดยรอบของวัดกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้บรรดานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้มาช้อป ชิม ชิล ยิ่งถ้าเป็นวันเสาร์และอาทิตย์คนจะเยอะเป็นพิเศษ สร้างความคึกคักให้ชุมชนเป็นยิ่งนัก
นิวาสถานแห่งพระราชชนนีในรัชกาลที่ 3
จากวัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร
เมื่อล่องลงมาทางใต้ตามคลองลัดเกล็ดจนไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วล่องไปจนถึงตำบลบางศรีเมือง
จะพบวัดเฉลิมพระเกียรติ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างในพื้นที่ที่เคยเป็นนิวาสถานเดิมของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีในพระองค์
ภายในปรากฏพระอุโบสถสีขาวขนาดใหญ่ที่โดดเด่นและศิลปกรรมของวัดส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากจีน
ซึ่งเป็นพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 จะมีเพียงเจดีย์ประธานเท่านั้นที่เป็นทรงระฆังตามพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่
4 เพราะวัดนี้เริ่มสร้างในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 แต่มาแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 4
โดยใกล้ ๆ กัน เป็นสถานที่ตั้งของอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจของผู้คนในละแวกนั้น
และเป็นศูนย์รวมพันธุ์ไม้น้ำ ไม้ชายน้ำ พืชสวน และสัตว์น้ำอีกนานับชนิด
ลิงก์ภาพประกอบ

เรือสำเภาในวัด
จากวัดเฉลิมพระเกียรติ
ล่องเจ้าพระยาลงมาทางใต้ แล้วเลี้ยวขวาเข้าคลองบางกรวย จะพบทางแยกที่คลองบางกอกน้อยกับคลองอ้อมนนท์มาบรรจบ
เลี้ยวซ้ายเข้าคลองบางกอกน้อยไปไม่กี่อึดใจก็จะพบวัดชะลอ มีตลาดน้ำที่รอต้อนรับนักท่องเที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์
ด้วยสินค้าสารพัดชนิดทั้งของกินของใช้
สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เป็นพื้นที่ที่สายน้ำไหลเชี่ยวมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง มีเหตุการณ์สำเภาล่มจนลูกเรือเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
จึงต้องมีป้ายเขียนไว้ว่า “ช้ารอ” ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น “ชลอ” พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นในบริเวณนี้ พร้อมพระราชทานนามพระอารามแห่งนี้ว่า
“วัดชลอ”

อุโบสถเรือสุพรรณหงส์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
คือจุดที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด ส่วนอุโบสถหลังเดิม มีความโดดเด่นที่ฐานอุโบสถแอ่นโค้งเรียกว่า
“ทรงท้องเรือสำเภา” เพราะในระหว่างการก่อสร้างวัด ประสบอุปสรรคมาตลอด ต่อมาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีพระสุบินนิมิต
ว่ามีชายจีนมากราบทูลว่าต้องสร้างอุโบสถเป็นรูปเรือสำเภาเพื่อแก้อาถรรพ์ของพื้นที่
จึงเป็นที่มาของอุโบสถรูปทรงคล้ายสำเภา และการก่อสร้างวัดก็ราบรื่นมาตั้งแต่นั้น
วัดรักษ์ไว้ให้ลูกหลาน
จากวัดชลอ ให้ย้อนกลับไป
จะพบทางสามแพร่งที่เลี้ยวขวาเข้าคลองบางกรวย ให้เราเลี้ยวซ้ายเข้าคลองอ้อมนนท์
เพียงไม่กี่อึดใจ ก็จะพบวัดบางอ้อยช้าง ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย
เชื่อกันว่าชุมชนนี้เป็นชุมชนที่คอยรวบรวมเสบียงยามรบทัพจับศึกและเคยส่งชายฉกรรจ์ไปร่วมกู้ชาติกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชด้วย
ความน่าสนใจของวัดบางอ้อยช้างอยู่ในส่วนของพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาวัตถุโบราณของวัดและชุมชนบางอ้อยช้างเอาไว้ มีการจัดแสดงที่น่าสนใจ เช่น โตมร (สามง่าม) อายุร้อยกว่าปี ดาบปลายปืนของฝรั่งเศส ตำรายาต่าง ๆ ตลอดจนสูตรการทำขนมช่อม่วงแบบชาววังที่ใกล้เลือนหาย ตาลปัตรที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน รวมทั้งตะลุมที่มีอยู่ถึงหกใบ
ชุมชนในวรรณกรรม
ระยะทางจากวัดบางอ้อยช้างที่ต้องใช้เส้นคลองอ้อมนนท์แล้วเลี้ยวเข้าคลองบางใหญ่เพื่อจุดหมายคือวัดต้นเชือก
แม้จะไกลโข แต่ทิวทัศน์ธรรมชาติและวิถีชุมชนสองฟากฝั่ง
น่าจะช่วยสร้างความเพลิดเพลินระหว่างการเดินทางได้เป็นอย่างดี
วัดต้นเชือก สร้างในสมัยปลายกรุงธนบุรี เป็นวัดเพียงหนึ่งเดียวในตำบลบ้านใหม่
ทำให้มีชาวบ้านทั้งในและนอกตำบลมาทำบุญเป็นจำนวนมาก
จนกลายเป็นศูนย์รวมของชุมชนไปโดยปริยาย แม้ใน พ.ศ. 2558
จะเกิดอุบัติเหตุอุโบสถพังถล่ม แต่ชาวบ้านก็ยังคงศรัทธาอยู่ไม่เสื่อมคลาย โดยชุมชนบ้านใหม่ได้รับการกล่าวถึงในวรรณกรรมไทยด้วย
เช่น นิราศพระประธม โดย สุนทรภู่ และนิราศพระแท่นดงรัง โดย หมื่นพรหมสมพัตสร ที่กล่าวถึงสภาพชุมชนและบรรยากาศการดำเนินชีวิตในสมัยก่อนของชาวบ้านใหม่เมื่อเดินทางผ่าน
ในส่วนของพิพิธภัณฑ์วัดต้นเชือก ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูคุณความดีของอดีตเจ้าอาวาสวัดต้นเชือกสามรูปคือ พระครูนนทกิจพิศาล พระอธิการไพ และหลวงพ่อเพลิน รวมทั้งบอกเล่าประวัติความเป็นมาของชุมชนผ่านวรรณกรรมของกวีคนสำคัญและภาพเก่าเล่าเรื่องเพื่อเรียนรู้วิถีชุมชนในกาลก่อน

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมวัดและพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ริมน้ำ ในจังหวัดนนทบุรี
วัดเฉลิมพระเกียรติ
วัดชลอ
พิพิธภัณฑ์ปรมัยิกาวาส

จังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวประเภทวัดวาอารามตั้งอยู่ริมน้ำเป็นจำนวนมาก
ลองเลาะเลียบวัดทั้ง 5 แห่งคงได้รู้จักทั้งประวัติศาสตร์และความงามของสถาปัตยกรรมได้เป็นอย่างดี
นับหนึ่งที่เกาะเกร็ด
เริ่มต้นที่หนึ่ง “เกาะเกร็ด” จังหวัดนนทบุรี คือ
วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหารสถานที่ตั้งของเจดีย์เอียงอันแปลกตา
เป็นวัดโบราณสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดปากอ่าว
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญตั้งบ้านเรือนบริเวณนี้
จึงมีการรวบรวมปัจจัยจากผู้มีจิตศรัทธาสร้างเจดีย์ทรงรามัญและพระพุทธไสยาสน์ขึ้น
ล่วงเลยมาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าวเพื่อเป็นพระราชกุศลแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ที่คอยอภิบาลบำรุงพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์
และพระราชทานนามพระอารามนี้ใหม่ว่า “วัดปรมัยยิกาวาส”

นอกจากเจดีย์เอียงที่เป็นจุดเด่นของวัด ยังมีส่วนของพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเครื่องมือใช้สอยในสมัยโบราณ
เครื่องปั้นดินเผาชนิดต่าง ๆ ตลอดจนของใช้ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร สิ่งของที่วัดได้รับพระราชทานในวาระสำคัญต่าง ๆ
คัมภีร์รามัญหรือคัมภีร์ภาษามอญ ข้าวของเครื่องใช้ในวัฒนธรรมมอญ
และสิ่งของเบ็ดเตล็ดทั่วไป
ปัจจุบันนี้ บริเวณโดยรอบของวัดกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้บรรดานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้มาช้อป ชิม ชิล ยิ่งถ้าเป็นวันเสาร์และอาทิตย์คนจะเยอะเป็นพิเศษ สร้างความคึกคักให้ชุมชนเป็นยิ่งนัก
นิวาสถานแห่งพระราชชนนีในรัชกาลที่ 3
จากวัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร
เมื่อล่องลงมาทางใต้ตามคลองลัดเกล็ดจนไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วล่องไปจนถึงตำบลบางศรีเมือง
จะพบวัดเฉลิมพระเกียรติ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างในพื้นที่ที่เคยเป็นนิวาสถานเดิมของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีในพระองค์
ภายในปรากฏพระอุโบสถสีขาวขนาดใหญ่ที่โดดเด่นและศิลปกรรมของวัดส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากจีน
ซึ่งเป็นพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 จะมีเพียงเจดีย์ประธานเท่านั้นที่เป็นทรงระฆังตามพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่
4 เพราะวัดนี้เริ่มสร้างในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 แต่มาแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 4
โดยใกล้ ๆ กัน เป็นสถานที่ตั้งของอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจของผู้คนในละแวกนั้น
และเป็นศูนย์รวมพันธุ์ไม้น้ำ ไม้ชายน้ำ พืชสวน และสัตว์น้ำอีกนานับชนิด
ลิงก์ภาพประกอบ

เรือสำเภาในวัด
จากวัดเฉลิมพระเกียรติ
ล่องเจ้าพระยาลงมาทางใต้ แล้วเลี้ยวขวาเข้าคลองบางกรวย จะพบทางแยกที่คลองบางกอกน้อยกับคลองอ้อมนนท์มาบรรจบ
เลี้ยวซ้ายเข้าคลองบางกอกน้อยไปไม่กี่อึดใจก็จะพบวัดชะลอ มีตลาดน้ำที่รอต้อนรับนักท่องเที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์
ด้วยสินค้าสารพัดชนิดทั้งของกินของใช้
สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เป็นพื้นที่ที่สายน้ำไหลเชี่ยวมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง มีเหตุการณ์สำเภาล่มจนลูกเรือเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
จึงต้องมีป้ายเขียนไว้ว่า “ช้ารอ” ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น “ชลอ” พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นในบริเวณนี้ พร้อมพระราชทานนามพระอารามแห่งนี้ว่า
“วัดชลอ”

อุโบสถเรือสุพรรณหงส์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
คือจุดที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด ส่วนอุโบสถหลังเดิม มีความโดดเด่นที่ฐานอุโบสถแอ่นโค้งเรียกว่า
“ทรงท้องเรือสำเภา” เพราะในระหว่างการก่อสร้างวัด ประสบอุปสรรคมาตลอด ต่อมาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีพระสุบินนิมิต
ว่ามีชายจีนมากราบทูลว่าต้องสร้างอุโบสถเป็นรูปเรือสำเภาเพื่อแก้อาถรรพ์ของพื้นที่
จึงเป็นที่มาของอุโบสถรูปทรงคล้ายสำเภา และการก่อสร้างวัดก็ราบรื่นมาตั้งแต่นั้น
วัดรักษ์ไว้ให้ลูกหลาน
จากวัดชลอ ให้ย้อนกลับไป
จะพบทางสามแพร่งที่เลี้ยวขวาเข้าคลองบางกรวย ให้เราเลี้ยวซ้ายเข้าคลองอ้อมนนท์
เพียงไม่กี่อึดใจ ก็จะพบวัดบางอ้อยช้าง ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย
เชื่อกันว่าชุมชนนี้เป็นชุมชนที่คอยรวบรวมเสบียงยามรบทัพจับศึกและเคยส่งชายฉกรรจ์ไปร่วมกู้ชาติกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชด้วย
ความน่าสนใจของวัดบางอ้อยช้างอยู่ในส่วนของพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาวัตถุโบราณของวัดและชุมชนบางอ้อยช้างเอาไว้ มีการจัดแสดงที่น่าสนใจ เช่น โตมร (สามง่าม) อายุร้อยกว่าปี ดาบปลายปืนของฝรั่งเศส ตำรายาต่าง ๆ ตลอดจนสูตรการทำขนมช่อม่วงแบบชาววังที่ใกล้เลือนหาย ตาลปัตรที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน รวมทั้งตะลุมที่มีอยู่ถึงหกใบ
ชุมชนในวรรณกรรม
ระยะทางจากวัดบางอ้อยช้างที่ต้องใช้เส้นคลองอ้อมนนท์แล้วเลี้ยวเข้าคลองบางใหญ่เพื่อจุดหมายคือวัดต้นเชือก
แม้จะไกลโข แต่ทิวทัศน์ธรรมชาติและวิถีชุมชนสองฟากฝั่ง
น่าจะช่วยสร้างความเพลิดเพลินระหว่างการเดินทางได้เป็นอย่างดี
วัดต้นเชือก สร้างในสมัยปลายกรุงธนบุรี เป็นวัดเพียงหนึ่งเดียวในตำบลบ้านใหม่
ทำให้มีชาวบ้านทั้งในและนอกตำบลมาทำบุญเป็นจำนวนมาก
จนกลายเป็นศูนย์รวมของชุมชนไปโดยปริยาย แม้ใน พ.ศ. 2558
จะเกิดอุบัติเหตุอุโบสถพังถล่ม แต่ชาวบ้านก็ยังคงศรัทธาอยู่ไม่เสื่อมคลาย โดยชุมชนบ้านใหม่ได้รับการกล่าวถึงในวรรณกรรมไทยด้วย
เช่น นิราศพระประธม โดย สุนทรภู่ และนิราศพระแท่นดงรัง โดย หมื่นพรหมสมพัตสร ที่กล่าวถึงสภาพชุมชนและบรรยากาศการดำเนินชีวิตในสมัยก่อนของชาวบ้านใหม่เมื่อเดินทางผ่าน
ในส่วนของพิพิธภัณฑ์วัดต้นเชือก ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูคุณความดีของอดีตเจ้าอาวาสวัดต้นเชือกสามรูปคือ พระครูนนทกิจพิศาล พระอธิการไพ และหลวงพ่อเพลิน รวมทั้งบอกเล่าประวัติความเป็นมาของชุมชนผ่านวรรณกรรมของกวีคนสำคัญและภาพเก่าเล่าเรื่องเพื่อเรียนรู้วิถีชุมชนในกาลก่อน

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมวัดและพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ริมน้ำ ในจังหวัดนนทบุรี
วัดเฉลิมพระเกียรติ
วัดชลอ
พิพิธภัณฑ์ปรมัยิกาวาส