พิธีกรรมไทยทรงดำ/ไทดำ

คำสำคัญ : นครปฐม,ราชบุรี,ศาสนา,เพชรบุรี,ไทดำ,
พิธีกรรมไทยทรงดำ/ไทดำ

    ความเชื่อของคนไทยทรงดำสะท้อนในพิธี และยังปรากฏเป็นความพยายามในการธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมควบคู่กันไป ประเพณีบางอย่างได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่ บางอย่างได้สร้างเครือข่ายทางสังคมระหว่างชุมชนคนไทยทรงดำ ดังเช่นการจัดงานวันไทยทรงดำที่มีการฟ้อนแคนและการเล่นคอน โดยรวมแล้ว มักเชื่อมโยงกับความอยู่เย็นเป็นสุขและความเจริญก้าวหน้า และการแสดงความขอบคุณต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบรรพชน

    เนื้อหานำเสนอในที่นี้เป็นเพียงสรุปสาระสำคัญจากรายการฐานข้อมูล ที่ผู้สนใจสามารถเข้าชมรายละเอียดของข้อมูลได้เพิ่มเติมจากลิงก์


เฮ็ดแฮว หรือพิธีกรรมความตายวาระสุดท้ายของไทดำ


    ชาวไทยทรงดำถือว่าการตายเป็นเรื่องสำคัญมาก ญาติพี่น้องผีเรือนเดียวกันจะหยุดทำงานทุกอย่างเพื่อเป็นการไว้ทุกข์ เมื่อมีการตาย เรียกว่า “กำบ้าน กำเมือง จนกว่าจะนำศพไปเผาแล้ว เฮือนแฮ้วเป็นส่วนหนึ่งของพิธีการหลังเผาศพ ในวันรุ่งขึ้น ญาติพี่น้องและผู้สืบผีจะมาทำพิธี ณ บริเวณที่เผาศพ ขั้นแรก การเก็บกระดูกผู้ตาย ขั้นต่อมา สร้างแฮ้ว เรียกว่า เฮ็ดแฮ้ว  และประกอบพิธีส่งวิญญาณ นายเขยเป็นผู้บอกทางให้วิญญาณผู้ตายเดินทางกลับบ้านมาตุภูมิเดิม หรือเมืองแถง ประเทศเวียดนาม

    จากนั้นนายเขยจะบอกวิญญาณผู้ตาย เมื่อถึงมื้อเวนตง ก็ให้ผู้ตายกลับบ้านมารับเครื่องเซ่นทุก 10 วัน หรือที่เรียกว่า “ปาดตง” อีกด้วย เพราะตามความเชื่อ ผีผู้ล่วงลับสามารถให้คุณ ให้โทษแก่คนในครอบครัว จึงต้องมีการเชิญเป็นผีประจำบ้านเรือน เรียกว่า ผีเฮือน” โดยเชิญผีของผู้ที่ล่วงลับจากความเจ็บป่วยและหมดอายุเท่านั้น

เสนเรือน    

   


    นอกเหนือจากการเซ่นไหว้บรรพบุรุษในยามปกติแล้ว ชาวไทยทรงดำหรือไทดำประกอบพิธีที่เรียกว่า “เสนเรือน” ทุกปีหรือ 2-3 ปีครั้ง เพื่อให้ผีเรือนของตนได้มารับเครื่องเซ่นไหว้จากลูกหลาน ประเพณีนี้แสดงให้เห็นถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ อย่างที่กล่าวไว้แล้ว ผีที่ล่วงลับสามารถให้คุณให้โทษได้ ฉะนั้น หากเซ่นไหว้ผีเรือนอย่างเหมาะสม ผีเรือนจะปกป้องคุ้มครองรักษาสมาชิกในครอบครัวและบันดาลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าตามคติความเชื่อ

    การเซ่นไหว้มีความซับซ้อนและมีผู้ประกอบพิธีเฉพาะหรือที่เรียกว่า “หมอเสน” ประกอบพิธีเลี้ยงผีเรือน โดยมีสำรับเผื่อน ลักษณะคล้ายโตกสานด้วยไม้ไผ่ไว้ใส่เครื่องเซ่น หนึ่งในนั้นคือหมูที่มีการเลี้ยงไว้ก่อนหน้านั้น หมอเสนต้องอ่าน ปับผีเรือน” หรือบัญชีผีประจำบ้านเรียกให้มารับเครื่องเซ่น หลังจากเซ่นไหว้ผีเรือนเรียบร้อยแล้ว หมอเสนจะทำพิธีเสี่ยงทายเรียกว่า “ส่องไก่” ด้วยการพิจารณาลักษณะของตีนไก่ในแกงหน่อไม้เปรี้ยวหรือ “แกงหน่อส้ม” หากตีนไก่หงิกงอแสดงว่า ไม่ดี จะมีเรื่องร้าย เช่น การเจ็บป่วย การตาย หรือการทำมาหากินประสบปัญหาต่าง ๆ เป็นต้น แต่ถ้าตีนไก่เหยียดตรงแสดงว่าทุกคนในครอบครัวของเจ้าภาพจะประสบแต่ความสุขความเจริญ


อิ่นก๋อนฟ้อนแก๊น



    การละเล่นในกลุ่มคนไทยทรงดำหรือไทดำนี้ อาจเรียกว่าการเล่นคอน เดิมทีในเดือน 5 เมื่อว่างจากฤดูทำนาทำไร่ พวกหญิงสาวลาวโซ่งนั่งรวมกันเป็นกลุ่มประมาณ 15-20 คนขึ้นไป ณ บ้านใดบ้านหนึ่งสำหรับเป็น “ข่วง” เพื่อให้มานั่งทำงานฝีมือร่วมกัน และเป็นการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้เลือกคู่ครอง เมื่อถึงวัน 1 ค่ำฝ่ายชายจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มและตระเวนไปตามหมู่บ้านเพื่อไป “เล่นคอน” ซึ่งหมายถึงการเล่นทอดลูกช่วงนั่นเอง

    แต่ในปัจจุบันนี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูประเพณีในวันไทยทรงดำ ที่มีการจัดหมุนเวียนไปในแต่ละหมู่บ้านที่มีลูกหลานชาวไทยทรงดำหรือไทดำสืบเชื้อสาย เพื่อให้เกิดการไปหาสู่ระหว่างลูกหลานชาวไทยทรงดำ การเล่นลูกช่วงกลายเป็นการสาธิตทางวัฒนธรรมที่ให้หนุ่มสาวตั้งแถวและโยนโลก “มะกอน” สลับไปมาและยังมีการฟ้อนแคนที่อาศัยวงแคนจากการจ้าง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานที่แต่งกายด้วยชุดไทยทรงดำทั้งชายและหญิงรื่นเริง แต่ที่สำคัญกว่านั้น งานไทยทรงดำตอกย้ำถึงอัตลักษณ์ทางภาษา การแต่งกาย และประเพณีของคนไทดำที่ย้ายถิ่นและตั้งถิ่นฐานในสังคมมานานนับร้อยปี

 

สามารถอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเพณีการเล่นคอนได้ที่

ชีวสิทธิ์บุณยเกียรติ. (2557). ประเพณี อิ้นก๋อนฟ้อนแก๊น. ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์

สมทรง บุรุษพัฒน์. (2524). การเล่นคอนของลาวโซ่งที่บางกุ้ง. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.



 


พิธีกรรมไทยทรงดำ/ไทดำ

    ความเชื่อของคนไทยทรงดำสะท้อนในพิธี และยังปรากฏเป็นความพยายามในการธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมควบคู่กันไป ประเพณีบางอย่างได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่ บางอย่างได้สร้างเครือข่ายทางสังคมระหว่างชุมชนคนไทยทรงดำ ดังเช่นการจัดงานวันไทยทรงดำที่มีการฟ้อนแคนและการเล่นคอน โดยรวมแล้ว มักเชื่อมโยงกับความอยู่เย็นเป็นสุขและความเจริญก้าวหน้า และการแสดงความขอบคุณต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบรรพชน

    เนื้อหานำเสนอในที่นี้เป็นเพียงสรุปสาระสำคัญจากรายการฐานข้อมูล ที่ผู้สนใจสามารถเข้าชมรายละเอียดของข้อมูลได้เพิ่มเติมจากลิงก์


เฮ็ดแฮว หรือพิธีกรรมความตายวาระสุดท้ายของไทดำ


    ชาวไทยทรงดำถือว่าการตายเป็นเรื่องสำคัญมาก ญาติพี่น้องผีเรือนเดียวกันจะหยุดทำงานทุกอย่างเพื่อเป็นการไว้ทุกข์ เมื่อมีการตาย เรียกว่า “กำบ้าน กำเมือง จนกว่าจะนำศพไปเผาแล้ว เฮือนแฮ้วเป็นส่วนหนึ่งของพิธีการหลังเผาศพ ในวันรุ่งขึ้น ญาติพี่น้องและผู้สืบผีจะมาทำพิธี ณ บริเวณที่เผาศพ ขั้นแรก การเก็บกระดูกผู้ตาย ขั้นต่อมา สร้างแฮ้ว เรียกว่า เฮ็ดแฮ้ว  และประกอบพิธีส่งวิญญาณ นายเขยเป็นผู้บอกทางให้วิญญาณผู้ตายเดินทางกลับบ้านมาตุภูมิเดิม หรือเมืองแถง ประเทศเวียดนาม

    จากนั้นนายเขยจะบอกวิญญาณผู้ตาย เมื่อถึงมื้อเวนตง ก็ให้ผู้ตายกลับบ้านมารับเครื่องเซ่นทุก 10 วัน หรือที่เรียกว่า “ปาดตง” อีกด้วย เพราะตามความเชื่อ ผีผู้ล่วงลับสามารถให้คุณ ให้โทษแก่คนในครอบครัว จึงต้องมีการเชิญเป็นผีประจำบ้านเรือน เรียกว่า ผีเฮือน” โดยเชิญผีของผู้ที่ล่วงลับจากความเจ็บป่วยและหมดอายุเท่านั้น

เสนเรือน    

   


    นอกเหนือจากการเซ่นไหว้บรรพบุรุษในยามปกติแล้ว ชาวไทยทรงดำหรือไทดำประกอบพิธีที่เรียกว่า “เสนเรือน” ทุกปีหรือ 2-3 ปีครั้ง เพื่อให้ผีเรือนของตนได้มารับเครื่องเซ่นไหว้จากลูกหลาน ประเพณีนี้แสดงให้เห็นถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ อย่างที่กล่าวไว้แล้ว ผีที่ล่วงลับสามารถให้คุณให้โทษได้ ฉะนั้น หากเซ่นไหว้ผีเรือนอย่างเหมาะสม ผีเรือนจะปกป้องคุ้มครองรักษาสมาชิกในครอบครัวและบันดาลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าตามคติความเชื่อ

    การเซ่นไหว้มีความซับซ้อนและมีผู้ประกอบพิธีเฉพาะหรือที่เรียกว่า “หมอเสน” ประกอบพิธีเลี้ยงผีเรือน โดยมีสำรับเผื่อน ลักษณะคล้ายโตกสานด้วยไม้ไผ่ไว้ใส่เครื่องเซ่น หนึ่งในนั้นคือหมูที่มีการเลี้ยงไว้ก่อนหน้านั้น หมอเสนต้องอ่าน ปับผีเรือน” หรือบัญชีผีประจำบ้านเรียกให้มารับเครื่องเซ่น หลังจากเซ่นไหว้ผีเรือนเรียบร้อยแล้ว หมอเสนจะทำพิธีเสี่ยงทายเรียกว่า “ส่องไก่” ด้วยการพิจารณาลักษณะของตีนไก่ในแกงหน่อไม้เปรี้ยวหรือ “แกงหน่อส้ม” หากตีนไก่หงิกงอแสดงว่า ไม่ดี จะมีเรื่องร้าย เช่น การเจ็บป่วย การตาย หรือการทำมาหากินประสบปัญหาต่าง ๆ เป็นต้น แต่ถ้าตีนไก่เหยียดตรงแสดงว่าทุกคนในครอบครัวของเจ้าภาพจะประสบแต่ความสุขความเจริญ


อิ่นก๋อนฟ้อนแก๊น



    การละเล่นในกลุ่มคนไทยทรงดำหรือไทดำนี้ อาจเรียกว่าการเล่นคอน เดิมทีในเดือน 5 เมื่อว่างจากฤดูทำนาทำไร่ พวกหญิงสาวลาวโซ่งนั่งรวมกันเป็นกลุ่มประมาณ 15-20 คนขึ้นไป ณ บ้านใดบ้านหนึ่งสำหรับเป็น “ข่วง” เพื่อให้มานั่งทำงานฝีมือร่วมกัน และเป็นการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้เลือกคู่ครอง เมื่อถึงวัน 1 ค่ำฝ่ายชายจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มและตระเวนไปตามหมู่บ้านเพื่อไป “เล่นคอน” ซึ่งหมายถึงการเล่นทอดลูกช่วงนั่นเอง

    แต่ในปัจจุบันนี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูประเพณีในวันไทยทรงดำ ที่มีการจัดหมุนเวียนไปในแต่ละหมู่บ้านที่มีลูกหลานชาวไทยทรงดำหรือไทดำสืบเชื้อสาย เพื่อให้เกิดการไปหาสู่ระหว่างลูกหลานชาวไทยทรงดำ การเล่นลูกช่วงกลายเป็นการสาธิตทางวัฒนธรรมที่ให้หนุ่มสาวตั้งแถวและโยนโลก “มะกอน” สลับไปมาและยังมีการฟ้อนแคนที่อาศัยวงแคนจากการจ้าง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานที่แต่งกายด้วยชุดไทยทรงดำทั้งชายและหญิงรื่นเริง แต่ที่สำคัญกว่านั้น งานไทยทรงดำตอกย้ำถึงอัตลักษณ์ทางภาษา การแต่งกาย และประเพณีของคนไทดำที่ย้ายถิ่นและตั้งถิ่นฐานในสังคมมานานนับร้อยปี

 

สามารถอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเพณีการเล่นคอนได้ที่

ชีวสิทธิ์บุณยเกียรติ. (2557). ประเพณี อิ้นก๋อนฟ้อนแก๊น. ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์

สมทรง บุรุษพัฒน์. (2524). การเล่นคอนของลาวโซ่งที่บางกุ้ง. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.