Loading...

ทำไมต้อง “ภาพเล่าเรื่อง”?

    • การทำงานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนในการสืบค้นเรื่องราว
    • หนึ่งในวิธีการที่สร้างพลังของผู้คนให้ร่วมทำงาน คือ กิจกรรมที่รวมสมาชิกชุมชนต่างเพศต่างวัยได้ถ่ายทอดเรื่องราวจากประสบการณ์


• “เสียง” จากเรื่องเล่าเป็นทั้งภาพปะติดปะต่อของเหตุการณ์ บุคคล สถานที่ และเป็นโอกาสในการสร้างความรู้สึกของการเป็น “คนบ้านเดียวกัน” 
• ภาพถ่าย เป็นเสมือนกับสิ่งระลึกถึงอดีตให้สมาชิกได้ถ่ายทอดเรื่องราวตามมุมมองของตนเอง และเป็นบทบาทของผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ในการบันทึกและเรียบเรียงเรื่องราวต่าง ๆ ไว้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์

“ภาพถ่ายเก่า ไม่ใช่เพียงเครื่องมือหรือกุญแจที่พาทีมงานไปรู้จักกับผู้คนหรือเรื่องเล่าเท่านั้น ภาพถ่ายเก่ายังทำหน้าที่เป็นหลักฐานสำคัญในการยืนยันถึงคำบอกเล่าของคนรุ่นก่อนต่อสิ่งที่เคยมี อดีตที่เคยเป็น ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลง...

...ภาพถ่ายเก่าใช้เป็นเครื่องยืนยันการมีอยู่ของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเป็นอย่างดี และถ้าเรานำภาพภ่ายมาจัดเรียงใหม่ ภาพถ่ายจะเล่าถึงเหตุการณ์สำคัญของชุมชนได้ 



จุฑามาศ ลิ้มรัตนพันธ์ (2560)

    หน้าบันรูป “รวงข้าว” ของโบสถ์หลังเก่าวัดท่าพูด ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเมื่อครั้งที่วัดท่าพูดขอรับบริจาคข้าวเปลือกจากชาวบ้าน เพื่อนำข้าวเปลือกที่ได้รับบริจาคมา ไปขายแล้วนำเงินที่ได้มาสร้างโบสถ์ แต่ทุกวันนี้หน้าบันรวงข้าวไม่มีให้เห็นแล้ว เพราะทางวัดบูรณะโบสถ์ขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2535 


(ในภาพ ปรีชา เพ่งศรี ถ่ายภาพกับเพื่อน หน้าโบสถ์หลังเก่า จากสมุดภาพของทายาทปรีชา เพ่งศรี)

ขั้นตอนการทำงาน

 รูปแบบการทำงานอาศัยภาพเก่าที่ได้รับการคัดสรรตามประเด็นที่ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สนใจ

• อัดขยายภาพดังกล่าวและจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการ เพื่อให้สมาชิกชุมชนที่มีประสบการณ์ร่วมถ่ายทอดเรื่องราวสู่กันฟัง

• แต่ภาพถ่ายเป็นเพียง “หลักฐาน” ประเภทหนึ่ง เช่นเดียวกับคำบอกเล่าของสมาชิกชุมชน ฉะนั้น ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ต้องใช้หลักฐานที่หลากหลายในการสืบค้นประวัติชุมชน และติดตามบุคคลหรือเรื่องราวเพิ่มเติมเพื่อให้ “ภาพ” ของประเด็นนั้นมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

เวที "ภาพเล่าเรื่อง"

เวที "ภาพเล่าเรื่อง"

ชุมชนริมน้ำนครชัยศรี

การตั้งชุมชนมักเกิดขึ้นบริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำนครชัยศรีกับปากคลองสำคัญ ๆ

ที่ขุดขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางคมานาคมขนส่งพืชผลการเกษตรทั้งน้ำตาลและข้าว

บริเวณดังกล่าวมักมีบ้านเรือนหนาแน่น

มีวัดสำคัญ เป็นย่านตลาดและเป็นศูนย์กลางคมนาคม



เสวภา พรสิริพงษ์ และคณะ (2548)

การสัญจรทางน้ำ

(ภาพจากพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด)

ขบวนงานแห่บวชนาค

(ภาพจากพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด)

ขบวนงานแต่งงาน

(ภาพจากสมุดภาพของลุงปรีชา เพ่งศรี)

“... สมัยก่อนพ่อของยายเป็นคนแจวเรือรับจ้าง ค่าจ้างนิดเดียว

ยิ่งเวลาน้ำเชี่ยวๆ นะ แจวจนเหนื่อยได้ไม่กี่ตังค์หรอก...

เวลาเราจะไปไหน มาไหนนะ

เราก็แค่ไปยืนรอที่ท่าน้ำหน้าบ้านนี่แหละ

พอเรือมา เค้าก็จะตะโกนถามว่าจะไปไหน

ถ้าไปทางเดียวกัน เค้าก็จะเทียบท่าเข้ามารับ

ถ้าไม่ใช่ เราก็ต้องรอต่อไป...

ส่วนใหญ่คนมักจะจ้างเรือแจวไปส่ง

ตามท่าต่าง ๆ เช่น ท่าโพธิ์แก้ว ท่าหน้าวัดท่าพูด ไร่ขิง

แล้วก็ไปต่อเรือบริษัท...”

เรือหลากชนิด

“...เมื่อก่อนนี้ ในแม่น้ำมีเรือวิ่งเต็มไปหมด ทั้งเรือมาดของพ่อค้าลำใหญ่ใช้ขนข้าว

เรือมาดชาวบ้านลำเล็กกว่า เรือสำปั้นของแม่ค้า เรืออีป๊าบ เรือเอี้ยมจุ๊นก็มีนะ...

เวลาจะไปไหนมาไหน ถ้าใกล้ ๆ ก็พายไปเอง คนแถวนี้พายเรือกันเป็นทุกคน

แต่ถ้าขี้เกียจพายก็ไปเรือจ้าง หรือไม่ก็เรือแท็กซี่

หรือถ้าไปไหนไกลจริง ๆ ก็ต้องไปขึ้นเรือ 2 ชั้น เรือบริษัทนะ...

พอตกกลางคืนเอาละ เรือผีหลอกออกหาปลากันให้เต็มไปหมด เรือตกกุ้งก็มีนะ...”

เรือมาด

เรือขุดขนาดใหญ่ จุคนนั่งได้ถึง 20 คน ตามปกติจะใช้บรรทุกข้าวเปลือก และของใช้อื่นๆ มีรูปทรงคล้ายกระทะ หัว- ท้ายสั้นและแหลม ตรงกลางป่อง ท้องเรือเป็นรูปครึ่งวงกลม พ่อค้าข้าวนิยมใช้เรือมาดเป็นเรือขนส่งข้าวเปลือก


(ในภาพ เรือมาดใช้บรรทุกศพของคุณพ่ออ้น กลั่นประชา ออกจากบ้านไปที่วัด – สมุดภาพของผู้ใหญ่สวัสดิ์ กลั่นประชา)

เรือสำปั้น

    เป็นเรือต่อ ที่มีหน้าสั้น ท้ายสูง ตรงกลางลำเรือเป็นแอ่งลึก สามารถปูกระดานให้คนนั่งได้ 1- 2 คน และบรรทุกสินค้าเวลาพายคนส่วนใหญ่นิยมนำท้ายเรือมาเป็นหัวเรือ เพราะพายได้คล่องตัวกว่า


(ในภาพ เรือสำปั้น พาหนะสำคัญของแม่ค้าที่ขายของในแม่น้ำ จากสมุดภาพของลุงปรีชา เพ่งศรี)

เรืออีป๊าบ

    มีความยาวและสามารถบรรทุกสิ่งของได้มากกว่าเรือสำปั้น หัวและท้ายของเรือจะสั้น และเรียบสามารถปูกระดานนั่งได้สบายกว่า ต่อมามีการนำเครื่องยนต์มาติดตั้ง


(ในภาพ งานแห่นาคของผู้ใหญ่บุญนะ ชาวบ้านคลองฉาง พ.ศ. 2513 จากสมุดภาพของลุงพนม ศรีสนิท)

เรือแท็กซี่

    เป็นเรือต่อ หัวเรือแบนใหญ่เชิดขึ้น ท้ายเรือต่ำ มีหลังคาประทุนกันแดดกันฝน เป็นเรือที่ใช้เครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน เครื่องของเรือจะตั้งอยู่กลางลำเรือ มีใบพัดอยู่ด้านท้าย ด้านหน้ามีพวงมาลัยบังคับเลี้ยวซ้าย- ขวา


(ในภาพ เรือแท็กซี่นำคณะหัวโต การละเล่นนำหน้าขบวนแห่นาค เดินทางไปวัด สมุดภาพของลุงปรีชา เพ่งศรี)

เรือหางยาว

    เป็นเรือที่มีเพลาต่อจากเครื่องยนต์ลงน้ำ ในสมัยนั้นเรียกเครื่องยนต์ชนิดนี้ว่า เครื่องเรือหางยาวต่อมามีการพัฒนาแรงม้าทำให้เรือแล่นได้เร็วขึ้น และใช้กับเรือที่ขนาดใหญ่ขึ้น


(ในภาพ เรือหางยาวขบวนขันหมาก จากสมุดภาพส่วนตัวของลุงปรีชา เพ่งศรี

เรือบริษัท

    เป็นชื่อที่ชาวบ้านใช้เรียก เรือเมล์ของบริษัทสุพรรณบุรีขนส่ง เป็นบริษัทเดินเรือขนาดใหญ่ที่สุดในขณะนั้น เพราะมีเส้นทางการเดินเรือที่ครอบคลุมแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เชื่อมโยงจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร ชัยนาท และกรุงเทพมหานคร


(ในภาพ เรือเมล์ 2 ชั้น พระกำลังจะกลับกรุงเทพฯ ลงที่ท่าน้ำวัดไร่ขิง จากสมุดภาพของป้าเทพี สีผึ้ง)

ติดตามอ่านเรื่องราวเพิ่มเติม


    จุฑามาศ ลิ้มรัตนพันธ์. 2555. “ริมฝั่งแม่น้ำนครชัยศรี กับเรื่องเล่าจากความทรงจำ”  ใน คน ของ ท้องถิ่น : เรื่อง  เล่า "สยามใหม่" จากมุมมองของชุมชน, ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์  มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

    เสวภา พรสิริพงษ์ และคณะ. 2548. วิถีชุมชนลุ่มน้ำนครชัยศรี. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อ  พัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.


ตลาดริมน้ำ

    ตลาดริมน้ำ แสดงถึงความผูกพันกับสายน้ำ เพราะเป็นสถานที่พบปะของผู้คนจากชุมชนต่าง ๆ พ่อค้าจากถิ่นอื่นที่นำสินค้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน ในอดีตตลาดที่ชาวชุมชนท่าพูดมักไปซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ามีด้วยกันหลายแห่ง เช่น ในเขตอำเภอนครชัยศรีก็จะไปที่ ตลาดงิ้วราย ตลาดท่านา และตลาดน้ำปากคลองบางแก้ว 



    ส่วนตลาดที่อยู่ในเขตอำเภอสามพราน ได้แก่ ตลาดใหม่ ตลาดท่าเกวียน ตลาดสามพราน และตลาดดอนหวาย ในปัจจุบันนี้ตลาดบางแห่งไม่มีกิจกรรมการซื้อขายกันแล้ว ทิ้งให้เห็นแต่อาคารตลาดเก่าที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต บางตลาดก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการซื้อขายไป

ตลาดท่าเกวียน

    บางคนเรียก “ท่าเตียน” ตั้งอยู่ริมน้ำนครชัยศรี ระหว่างคลองฉางกับคลองบางยางในตำบลไร่ขิง ปัจจุบันมีถนนไร่ขิง-ทรงคะนอง ผ่านบริเวณด้านหลังตลาด



    คาดว่าสร้างรุ่นเดียวกับตลาดดอนหวาย และอาจสร้างขึ้นราวสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากกมีการสร้างและใช้สถานีรถไฟงิ้วราย และกิจการเรือโดยสารของบริษัทสุพรรณขนส่ง

    ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนมีเกวียนลากข้าวมาขายให้คนจีนในตลาด (ท่าเกวียน) และซื้อของจากตลาดกลับไป แต่คนรุ่นป้าก็ไม่เคยเห็นการลากเกวียนขายข้าวอีก รู้แต่เพียงว่าท่าจอดเกวียนอยู่บริเวณใด


  ประทุม สร้อยทอง

สภาพตลาด

    จากคำบอกเล่า ของผู้คนที่รู้จักตลาดท่าเกวียน นายจำปี สร้อยทองกับนางเลื่อน หิรัญสถิต เป็นเจ้าของตลาด และสร้างบนที่ดินของนางเลื่อนที่เป็นมรดกตกทอดจากผู้เป็นพ่อ ที่เป็นหลงจู๊ค้าข้าวในแถบนครชัยศรี


    ยายประทุม สร้อยทอง และป้าแน่งน้อย ลิมังกูร เล่าถึงตลาดท่าเกวียนที่เป็นห้องแถวสองข้าง ตัวอาคารเป็นไม้และหันหน้าเข้าหากัน ขนาบทางเดินตรงกลางที่มีสองข้างหลังคาคลุม

ตัวอย่างข้อมูลจากวงสนทนา

    การลำดับร้านค้าและห้องเช่าภายในตลาดท่าเกวียนตามคำบอกเล่า

ในบริเวณตลาดท่าเกวียน

    พื้นหลังของภาพถ่ายแสดงให้เห็นลักษณะของร้านค้า และทางเดินภายใน

    (ในภาพ ปรีชา เพ่งศรี (ซ้ายมือสุด) ภาพจากพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด)

ประเภทกิจการภายในตลาด

 ในภาพ คลินิกหมอสมพงษ์ บริเวณหน้าคลาดท่าเกวียน สะท้อนความเป็นศูนย์กลางของท้องที่ (ภาพจากพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด)

 

“เรือสุพรรณมีสองชั้นและเป็นเรือเมล์โดยสาร บางครั้งเรียก เรือไฟ หรือ เรือไอ และมีเรือของบริษัทเมืองสมุทร ที่รับส่งผู้โดยสารและสินค้าจากสมุทรสาคร

....ตลาดท่าเกวียนจึงคึกคักไปด้วยผู้คนที่มาจับจ่ายและมารอเรือโดยสาร” 

(ในภาพ บริเวณท่าเรือบริษัทสุพรรณขนส่งที่อยู่ติดกับเรือนของนายจำปี เจ้าของตลาดท่าเกวียน ถ่ายราว พ.ศ.2501 จากสมุดภาพของป้านงเยาว์ สร้อยทอง)

ติดตามอ่านเรื่องราวเพิ่มเติม


นวลพรรณ บุญธรรม. 2560. “ตลาดท่าเกวียนในความทรงจำ” ใน “ท่าพูด” ต่างมุมมอง, ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร   (องค์การมหาชน).

ในความเปลี่ยนแปลง


เมื่อมีถนนตัดผ่านเข้ามาในชุมชน เรือที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทาง

และการขนส่งสินค้าก็ลดบทบาทลง

ปัจจุบันบ้านเกือบทุกหลังที่อยู่ริมแม่น้ำหรือคลองต่าง

ก็ยังใช้เรือสำปั่น เรืออีป๊าบ หรือเรือสมัยใหม่ในการเดินทางอยู่บ้าง

โดยเฉพาะการข้ามฝั่งแม่น้ำชาวบ้านยังนิยมข้ามด้วยเรือ



แม้เรือตามบ้านจะมีบทบาทลดลง แต่ในการท่องเที่ยวทางน้ำ

เรือกลับมีบทบาทมากขึ้นในฐานะพาหนะนำเที่ยวให้กับผู้คน 

การดัดแปลงเรือเก่าในอดีต เช่น เรือต่อลำใหญ่ เรือแท็กซี่ หรือเรือรับจ้างให้เป็นเรือนำเที่ยว และร้านอาหาร

นับเป็นอีกความพยายามหนึ่งในการปรับตัวของเจ้าของเรือให้เข้ากับยุคสมัย 

ตลาดริมน้ำ

ตลาดท่าเกวียนที่ปัจจุบันคงเหลือเพียงเรื่องราวของความทรงจำของตลาด บริเวณดังกล่าวถูกปรับเปลี่ยนเป็นห้องเช่าเพื่อตอบสนองกับแรงงานเข้ามาในพื้นที่

ตลาดริมน้ำลดบทบาทหรือเปลี่ยนแปลงหน้าที่ เมื่อทางคมนาคมทางบกเข้ามาแทนที่ ถนนกลายเป็นเส้นทางการจราจรสำคัญ ทางเลือกในการซื้อสินค้ามีมากขึ้นเช่นกัน

ตลาดริมน้ำในชีวิตร่วมสมัย

ตลาดหลายแห่งได้รับการฟื้นฟูโดยชุมชน สำหรับเป็นทั้งตลาดต้อนรับนักท่องเที่ยวและพิพิธภัณฑ์สำหรับเรียนรู้ประวัติศาสตร์


• พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์ (ตลาดสามชุก) จังหวัดสุพรรณบุรี


• บ้านเก่าเล่าเรื่อง ตลาดบางหลวง จังหวัดนครปฐม


• พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตลาดน้ำวัดลำพญา จังหวัดนครปฐม


• พิพิธภัณฑ์ตลาดคลองสวน จังหวัดฉะเชิงเทรา


• พิพิธภัณฑ์ตลาดน้ำคลองลัดมะยม กรุงเทพมหานคร