Loading...

ลำดับเนื้อหา

ความหมายของบาบ๋า 

ในชีวิตประจำวัน

สมรักสมรัส : แต่งองค์ทรงเครื่องในพิธีมงคลสมรส

บทบาทเครื่องแต่งกายบาบ๋าร่วมสมัย

จีนโพ้นทะเล

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ชาวจีนอพยพจากทางใต้และทางตะวันออกจากมณฑลฝูเจี้ยน มีเมืองท่าสำคัญ เช่น เอ้หมึง ฝูโจว  มายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บางกลุ่มเดินทางมายังช่องแคบมะละกา ตั้งถิ่นฐานในปีนังและสิงคโปร์ ในยุคอาณานิคมอังกฤษ (ศตวรรษ 19) จากนั้น เข้ามาในภาคใต้ฝั่งอันดามันด้วยเส้นทางการค้า และนำวิทยาการขุดแร่เข้ามา

นอกจากนี้ ยังมีแรงงานบางกลุ่มที่เดินทางจากภาคกลางสู่ภูเก็ต และสัญญาแรงงานของกรมการเมืองภูเก็ต (..2449-2464)

(ภาพ : พิพิธภัณฑ์เพอรานากันภูเก็ต)

คนจีนมาทำอะไร

ส่วนใหญ่มาเป็นแรงงานในเหมืองหาบ กรรมกรแบกสินค่าท่าเรือ คนลากรถ (หลั่งเซี้ย) คนขายน้ำ (เชี้ยถุย) เปิดร้านขายของชำ (ขายจับโห้ย) ร้านตัดเสื้อ (ฉ้ายหอง) ทำประมง คนจีนเหล่านี้แต่งงานกับคนพื้นถิ่น และให้กำเนิดคนบาบ๋า

ใบต่างด้าว

ใบต่างด้าวของชาวจีนฮกเกี้ยนในสยาม แสดงให้เห็นเส้นทางการเดินทางจากปีนังถึงภูเก็ต และเข้ามาเป็นแรงงานกุลีเหมืองแร่

(ภาพ: สิ่งจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว) 

เมืองที่รุ่งเรือง

นอกจากนี้ ยังมีชาวจีนบางส่วนที่ตั้งรกรากและตั้งตัวได้ เป็นเจ้าของเหมืองแร่ เป็นพ่อค้าค้าขายระหว่างปีนังกับภูเก็ตจนร่ำรวย

ชุมชนชาวจีนและบาบ๋าที่สำคัญ ในเมืองภูเก็ต อยู่ทางตะวันออกขอเกาะ ได้แก่ 

    ชุมชนทุ่งคา ปัจจุบันเป็นอำเภอเมือง เคยเป็นที่ตั้งของเหมืองที่เป็นบ่อรวมวัฒนธรรมต่างชาติ

    ชุมชนบางเหนียว เป็นสถานที่สำคัญในการหาปลา

    ชุมชนซีเต็กค้า ที่เคยเป็นสถานที่ฝังศพของชาวจีน

    ชุมชนย่านเมืองเก่า ถนนถลางและถนนพังงา ที่มีทั้งโบสถ์คริสต์และศาลเข้าไหหลำ  

(ภาพ : แบบจำลองย่านเก่าเมืองภูเก็ต พิพิธภัณฑ์เพอรานากัน ภูเก็ต)

เมื่อคนจีนตั้งถิ่นฐาน

ปราณี สกุลพิพัฒน์ (2555) ให้คำอธิบายว่าบาบ๋าเป็นภาษาฮินดูสตานี ที่เรียกลูกที่เกิดจากการแต่งงานของคนจีนอพยพกับคนพื้นถิ่นภูเก็ต โดยไม่แบ่งว่าเป็นชายหรือหญิง แตกต่างจากชุมชนเพอรานากันในคาบสมุทรที่ใช้คำว่าบาบ๋าสำหรับชาย และยอนยาหรือยะหยาสำหรับหญิง

ชุมชนที่เปลี่ยนแปลง

ปัจจุบัน หลายครอบครัวย้ายถิ่นออกไปที่อื่น มีเพียงสถาปัตยกรรมเป็นหลักฐานของชุมชนบาบ๋าขนาดใหญ่ 

ความโดดเด่นของอาคารแบบชิโน-ยูโรเปียน ที่มีหงอคาคี่ (ทางเดินเชื่อมอาหารห้องแถว) แต่ปัจจุบันกลายเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล และไม่สามารถเดินไปมาดังเดิม

ในช่วงกว่าสิบปีนี้ กระบวนการฟื้นฟูวัฒนธรรมบาบ๋าเกิดขึ้น โดลกลุ่มบุคคลและหน่วยงานต่าง หนึ่งในนั้นคือ วัฒนธรรมการแต่งกาย ในโอกาสสำคัญ และการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์บาบ๋าหรือเพอรานากัน

(ภาพ : อาคารห้องแถวหลายยุคสมัย ย่านเก่าภูเก็ต)

ผสมผสานมาเลย์ จีน และพื้นถิ่น

รสนิยมของกล่มุชาติพันธุ์ลูกผสมจีนบาบ๋า คือ การผสมผสานวัฒนธรรมการแต่งกายชาติต่าง และเกิดเป็นเอกลักษณ์ โดยได้หยิบยกเอาแนวคิดรูปแบบของชุดของชนมาเลย์และจีนมารวมกัน

เกอบาญาเป็นเสื้อท่อนบน ที่คล้ายกับมาเลย์แต่แตกต่างด้วยลายฉะลุ และใช้เข็มกลัดทองที่มีเพชรหรือหินมีค่าตกแต่ง เรียก โกสัง (Kerosang)  

นิยมนุ่งผ้าโสร่งปาเต๊ะ (Batik sarong) และสวมรองเท้าลูกปัด (Kasut manek)

ยังมีรูปแบบเครื่องแต่งกายที่ประยุกต์เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน

บาจู ปันจาง

เสื้อครุยยาวหรือ. บาจู ปันจาง มีความยาวประมาณน่อง แขนเสื้อยาว ได้รับความนิยมในช่วงทศวรรษ 1900 

เครื่องแต่งกายแบบนี้มี 3 ชิ้น เสื้อครุยสั้น โสร่ง และเสื้อตัวใน

จากยุคแรกที่ใช้ผ้าหนา สู่การใช้ผ้าป่านบางและมีลวดลาย

(ภาพ : ห้องโบตั๋น พิพิธภัณฑ์เพอรานากันภูเก็ต)

ลักษณะเด่น

เสื้อบาจูปันจางคอเป็นรูปตัววี ผ้าหน้า ไม่มีกระดุม กลัดด้วยเครื่องประดับที่เรียกว่า โกสัง คล้ายเข็มกลัดสามชิ้น

ปั่วตึ๋งแต้

เสื้อครุยครึ่งท่อนเป็นแฟชั่นที่ปรับมาจากเสื้อครุยยาว 

•“ปั่วแปลว่า ครึ่ง, “ตึ๋งแปลว่า ยาว, “เต้แปลว่า สั้น

(ภาพ : ห้องโบตั๋น พิพิธภัณฑ์เพอรานากันภูเก็ต)

ลักษณะเด่น

ปั่วตึ๋งแต้ตัดหลวม ไม่เน้นทรวดทรง ชายเสื้ออยู่ระดับเอว ตัดด้วยผ้าฝ้ายหรือผ้ามัสลิน ไม่มีกระดุมหน้า

เสื้อมือจีบ

ปัจจุบันเรียกเสื้อคอตั้งแขนจีบ 

เสื้อสั้นราวสะโพก คอตั้ง แขนเสื้อยาวจรดข้อมือ ปลายแขนจีบ ไม่เข้ารูป ไม่มีกระดุมในตัว แต่มีรังดุมใส่กระดุมกิมตู้น

สามารถใช้ใส่ไว้เป็นเสื้อในสำหรับเสื้อครุยท่อน เรียกว่า บาจูดาลัม

นิยมใช้ผ้าป่าน ผ้าฝ้าย จะดิดลูกไม้ชายเสื้อ

(ภาพ : ห้องเพชรน้ำหนึ่ง พิพิธภัณฑ์เพอรานากันภูเก็ต)

เกอบาญาลินดา

แฟชั่นช่วงทศวรรษ 1910 ในภาษามลายูเรียกว่าเกอบาญา” (kebaya) 

เสื้อผ่าหน้า ไม่มีกระดุม กลัดด้วยโกสังคล้ายเข็มกลัดสามชิ้น

ชายเสื้อ ปลายแขนเสื้อ ขอบปก คอเสื้อ มักตกแต่งด้วยผ้าลูกไม้ที่นำเข้าจากฮอลันดา จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก เกอบาญาลินดา (kebaya renda) ด้วยการตกแต่งลูกไม้จากฮอลันดา

(ภาพ : ห้องโบตั๋น พิพิธภัณฑ์เพอรานากันภูเก็ต)

เกอบาญาบีกู

แฟชั่นในทศวรรษ 1920 เป็นเสื้อสีพื้นที่มีลวดลายจากการฉลุ ด้วยเทคโนโลยีการตัดเย็บก้าวหน้า มีเครื่องจักรชนิดฉลุผ้า 

(ภาพ : ห้องโบตั๋น พิพิธภัณฑ์เพอรานากันภูเก็ต)

ลักษณะเด่น

เกอบาญาบีกูเน้นการฉลุลายที่สาบเสื้อด้านหน้า และบริเวณรอบสะโพก เช่น ลายหอยแครงและหยักโค้ง โดยหญิงบาบ๋าในอดีตปักลวดลายเหล่านี้ด้วยตัวเอง

เกอบาญาซูแลม

แฟชั่นทศวรรษ 1930 ถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนที่จะหมดความนิยมลง 

เมื่อมีการฟื้นฟูวัฒนธรรม เกอบาญาซูแลมกลายเป็นแฟชั่นที่กลับมาใช้ในการแต่งกายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในย่านเมืองเก่า

(ภาพ : ห้องโบตั๋น พิพิธภัณฑ์เพอรานากันภูเก็ต)

ลักษณะเด่น

เกอบาญาซูแลมเน้นการตัดเย็บที่เน้นทรวดทรงมากขึ้น และใส่เสื้อชั้นในแบบบราเซีย โดยมีลวดลายฉลุที่มากกว่าเกอบาญาบีกู ตั้งแต่สาบเสื้อด้านหน้าถึงชายเสื้อ มักเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษาและสัตว์มงคล 

เสื้อสามส่วน

การแต่งกายของสาวภูเก็ตนี้เน้นให้เหมาะกับการทำงาน เป็นกลุ่มผู้หญิงที่ไม่นิยมเสื้อเกอบาญา 

คงนุ่งผ้าโสร่งที่หาซื้อได้จากตลาด ซึ่งเป็นสินค้านำเข้า

(ภาพ : ห้องโบตั๋น พิพิธภัณฑ์เพอรานากันภูเก็ต)

ลักษณะเด่น

เสื้อสามส่วนตัดด้วยผ้าพื้นธรรมดาหรือมีลวดลายเล็กน้อย มีทั้งคอกลม คอสามเหลี่ยม คอสี่เหลี่ยม กลัดกระดุมหน้าหรือติดซิบหลัง

เสื้อผ้าลูกไม้และลูกไม้ต่อดอก

เป็นเสื้อผ้าที่ได้รับอิทธิพลของเกอบาญา ด้วยการใช้ลูกไม้ และหาซื้อได้ง่าย เข้ากับผ้าโสร่ง ผ้าซิ่น กระโปรง จึงได้รับความนิยมมากกว่าเสื้อเกอบาญา

(ภาพ : ห้องโบตั๋น พิพิธภัณฑ์เพอรานากันภูเก็ต)

ลักษณะเด่น

เสื้อผ้าลูกไม้หรือผ้าต่อดอก มีกระดุมด้านหน้ามักเลือกให้สีเข้ากับสีของลูกไม้ สำหรับลูกไม้ต่อตอก ต้องอาศัยความประณีตของช่างในการนำลายดอกมาซ้อนกัน เรียกว่าเป็นการประกบดอกที่เย็บด้วยมือ ทำให้ไม่มีตะเข็บ

เซี่ยงไฮ้ข่อ

•“เซียงไฮ้คือเมืองท่าทางใต้ของจีน ส่วนคำว่าข่อแปลว่า กางเกง เรียกได้ว่าเป็นแฟชั่นที่มาจากเมืองเซียงไฮ้

ชุดสวมใส่ในชีวิตประจำวัน สีสันไม่ฉูดฉาด มีลวดลายดอกทั้งเสื้อและกางเกงเข้าชุดกัน 

(ภาพ : ห้องโบตั๋น พิพิธภัณฑ์เพอรานากันภูเก็ต)

ลักษณะเด่น

เซียงไฮ้ข่อมีคอเสื้อแบบคอจีน เป็นเสื้อป้ายข้างผ่าตลอด ติดด้วยกระดุมผ้าเรียกว่าป้อสิ่วส่วนทับด้านในมีกระเป๋าขนาดเล็กเก็บเงินหรือผ้าเช็ดหน้า

ตึ่งพ่าวและเต่พ่าว

ตึ่งพ่าวหรือกี่เพ้ายาว เต่พ่าวหรือกี่เพ่าสั้น เป็นชุดทางการกว่าเชี่ยงไฮ้ข่อ

นิยมใช้แต่งในงานสำคัญและถ่ายรูป ใช้ทั้งเด็กและหญิงสาว

เป็นชุดที่เน้นทรวดทรง

(ภาพ : ห้องโบตั๋น พิพิธภัณฑ์เพอรานากันภูเก็ต)

งานแต่ง “บาบ๋า”

ในช่วงทศวรรษ 1900 งานวิวาห์บาบ๋านับเป้นงานใหญ่ เป็นงานเฉลิมฉลองของญาติ เพื่อน และคนใกล้ชิด ที่มีการจัดงานตั้งแต่ 7 วันจนถึง 2 สัปดาห์

เพราะเปรียยเหมือนการหลอมรวม 2 ครอบครัวมังกรคู่มังกร หงส์คู่หงส์ดังสุภาษิตจีนว่าไว้

(ภาพ : ภาพประกอบการจัดแสดง พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว)

เจ้าบ่าวในพิธีมงคลสมรส

เจ้าบ่าวสวมเสื้อผ้าแบบตะวันตก แม้ภูเก็ตจะเป็นเมืองร้อน แต่ในงานที่เป็นทางการเช่นนี้ ใส่สูท ผูกเน็คไทหรือหูกระต่าย ประดับด้วยขนนก สมกับการเรียกขานสวมแม่เสื้อ ใส่เกือกแบเร็ตที่เป็นรองเท้าหนัง (ภาพ : ห้องโบตั๋น พิพิธภัณฑ์เพอรานากันภูเก็ต)

เครื่องแต่งกายเจ้าสาวอย่างวิจิตร

มีลักษณะเหมือนกับบาจู ปันจาง มักเป็นผ้าลูกไม้โปร่งหรือผ้าป่านแก้ว ข้างในเป็นเสื้อคอตั้งแบบจีน ปลายแขนเสื้อจับจีบแบบมาเลย์ เอวลอยแบบเสื้อพม่า นุ่งปาเต๊ะแบบชาวอินโดนีเซีย

สิ่งนี้สะท้อนความหลากหลายในการประยุกต์เสื้อผ้าแบบต่าง ให้กลายเป็นเอกลักษณ์ของบาบ๋า 

ชุดเจ้าสาวในยุคแรก

ชุดเจ้าสาวแบบครุยยาวยุคแรก เรียก กู่ข้วน ใช้ผ้าเนื้อนิม เช่น ผ้าต่วน ผ้าซาติน นิยมใช้สีชมพู (ภาพ : ห้องโบตั๋น พิพิธภัณฑ์เพอรานากันภูเก็ต)

เครื่องประดับ

โกสัง (kerosang) ทำหน้าที่แทนกระดุม ประกอบด้วย 3 ชิ้น ได้แก่ โกสัง ฮาติ-ฮาติ เป็นชิ้นใหญ่สุดมักเป็นรูปหัวใจ และเข็มกลัดกลมอีกสองชิ้นเข้าชุดกัน เหมือนแม่-ลูก

โกปี้จี๋ สร้อยคอทอง มีปิ่นตั้งรูปดาวประดับที่หน้าอก ตุ้มหูระย้า สวมแหวน กำไลข้อมือข้อเท้า 

ฮั๋วก่วน

ฮั๋วก๋วน  มงกุฎดอกไม้ไหวครอบมวยผมเจ้าสาวที่ทำจากดิ้นเงินดิ้นทอง เป็นดอกไม้ไหว ดอกไม้ไหวประดับด้วย หงส์ ที่มีความหมายถึงสัตว์ที่ยิ่งใหญ่ และมีเสียงกังวาน สอนให้สาวเจ้ารู้จักกล่าว ปิยะวาจาเมื่อเข้าสู่เรือนชานของเจ้าบ่าว ด้านหน้าประดับด้วยดอกไม้และผีเสื้อที่แทนความผูกพัน การสั่นไหวของมงกุฎบอกเล่าถึงความตื่นเต้นของเจ้าสาว

(ภาพ :  ห้องโบตั๋น พิพิธภัณฑ์เพอรานากันภูเก็ต)

เด็กนั่งข้าง

ทำหน้าที่เป็นเพื่อนเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าสาว เด็กผู้ชายสวมสูทและกลัดเข็มกลัดรูปดอกไม้ เรียกบินตั้ง” (ภาพ: ห้องโบตั๋น พิพิธภัณฑ์เพอรานากัน ภูเก็ต)

เด็กนั่งข้าง

เด็กนั่งข้างที่เป็นผู้หญิงแต่งกายเหมือนเจ้าสาว ต่างกันตรงเครื่องประดับศีรษะ คล้ายหมวก (ภาพห้องโบตั๋น พิพิธภัณฑ์เพอรานากัน ภูเก็ต)

งานฝีมือ

งานเย็บปักเป็นส่วนหนึ่งที่ผู้หญิงบาบ๋าได้รับการถ่ายทอด เพื่อเตรียมตัวออกเรือน

การฉลุผ้าคัตเวิร์ค การปักลูกปัด การเย็บหมอน ปลอกหมอน 

ทักษะเหล่านี้กลายเป็นคุณสมบัติติดตัว และสืบทอดให้กับลูกสาวต่อไป

(ภาพ : ห้องเพชรน้ำหนึ่ง พิพิธภัณฑ์เพอรานากัน ภูเก็ต)

ในความเปลี่ยนแปลง

ปัจจุบันนี้ รูปแบบของการดำเนินชีวิตในชุมชนบาบ๋าเปลี่ยนแปลง แต่เอกลักษณ์ของเครื่องแต่งกายได้รับการฟื้นฟูในบริบทร่วมสมัย เสื้อเกอบาญา เสื้อผ้าลูกไม้ต่อดอก และปาเต๊ะ กลายเป็นชุดที่ได้รับการระบุว่าเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นของคนภูเก็ต 

ในโอกาสสำคัญ เช่น การจัดงานวิวาห์ การจัดงานถนนคนเดิน งานเฉลิมฉลองต่าง คนในท้องถิ่นจำนวนหนึ่งสวมใส่เสื้อเกอบาญา หรือปัจจุบันเรียก เสื้อยาหย่า และนุ่งโสร่งให้เจนตา

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม : พิพิธภัณฑ์เพอรานากัน ภูเก็ต

พิพิธภัณฑ์เพอรานากัน ภูเก็ต ตั้งอยู่ในอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ไม่ห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต แสดงพัฒนาการของชุมชนและบอกเล่าเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมในย่านเมืองเก่า การแต่งกาย เครื่องประดับ และเป้นแหล่งรวมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมบาบ๋าอย่างน่าสนใจ

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม : พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว

พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ตั้งอยู่ในย่านเมืองเก่า เมืองภูเก็ต บอกเล่าถึงชุมชนชาวจีนในเมืองภูเก็ต ทั้งในแง่ของประวัติศาสตร์ ย่านชุมชน เอกลักษณ์ประเพณี

ขอบคุณ

  • ฤดี ภูมิถาวร... “การแต่งกาย ผู้หญิงบาบ๋าภูเก็ต” ภูเก็ต : สมาคมเพอรานากัน ภูเก็ต
  • ปราณี สกุลพิพัฒน์ และประภัสสร โพธิ์ศรีทอง. 2549. “ภูมิไทยชุดไทย ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน” รายงานการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.
  • Sakulpipatana, Pranee. 2010. ”Window’s of the Phuket Baba Wedding” Phuket: The Thai Peranakan Association.
  • Lim GS, Catherine. 2004. “Gateway to Peranakan Culture”. Singapore: Asiapac.
  • พิพิธภัณฑ์เพอรานากันภูเก็ต
  • พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว