Loading...

ผ้าทอสุรินทร์ : ความงามกับความหมาย

“ผ้าทอเมืองสุรินทร์” นับเป็นงานหัตถกรรมที่งดงามและสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน นิทรรศการชุดนี้จะบอกเล่าพัฒนาการและการสืบสานผ้าทอมื

นิทรรศการเล่าเรื่องราวของผ้าไหมทอมือ จังหวัดสุรินทร์

    เรื่องราวต่าง  ถ่ายทอดวิถีการทอผ้าในชุมชนเชื้อสายเขมร  บ้านตำปูงและบ้านนาตัง


    เนื้อหาประกอบด้วย

    • เมื่อกาลก่อนและร่วมสมัย
    • กว่าจะเป็นไหม
    • เส้นไหมและสีสัน
    • ทอเส้นให้เป็นผืน
    • ลวดลาย
    • มรดกไหม


      (ในภาพ แม่บ้านในบ้านนาตังให้หนอนไหมกินใบหม่อนเป็นอาหาร



      (ในภาพ ช่างทอในบ้านนาตังที่คงสืบทอดวัฒนธรรมการทอผ้า)

      (ในภาพ หญิงเชื้อสายเขมรสุรินทร์เข้าพิธีแต่งงาน บ้านนาตัง เจ้าสาวมอบผ้าไหมหลายชิ้นให้กับครอบครัวของฝ่ายชาย ถือเป็นการรับไหว้ และญาติทางฝ่ายชายจะมอบสินสอดให้กับฝ่ายหญิงสำหรับการเริ่มต้นชีวิตครอบครัว)

      (ในภาพ กลุ่มหนุ่มสาวเชื้อสายเขมรสุรินทร์แต่งกายด้วยชุดพื้นเมือง ในงานเทศกาลช้างประจำจังหวัด ราวทศวรรษ 2500

      - ห้องภาพเมืองสุรินทร์ เอื้อเฟื้อภาพ)

      เมื่อกาลก่อน...

      การทอผ้าในวัฒนธรรมไทยและเขมร มีนับเนื่องกว่าศตวรรษ

      เสื้อผ้าจึงไม่ใช่เพียงเครื่องนุ่งห่ม แต่แสดงสถานภาพทางสังคมด้วยลวดลาย วัสดุที่ใช้ในการถักทอ 


      .. 2399 ปรากฏหลักฐานเครื่องบรรณาการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าส่งไปให้กับแฟรงคลิน เพียร์ซ (Franklin Pierce) ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเพื่อแสดงนัยสัมพันธไมตรี 


      ในครั้งนั้น เครื่องบรรณาการประกอบด้วยซิ่นไหมที่มีลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของช่างทอเขมร 

      แต่ธรรมเนียมดังกล่าวเลิกไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

      ...ร่วมสมัย

      ไหมมีความสำคัญกับประเทศไทยในหลายด้าน 


      การทอผ้าในครัวเรือนที่เคยรุ่งเรืองในช่วงกว่าร้อยปีก่อนหน้านี้ กลับลดจำนวนการผลิตลง

      เนื่องจากการผลิตผ้าโรงงานจำนวนมาก 

      เหตุผลอีกส่วนหนึ่งจากสงครามโลกครั้งที่

      ภาวะข้าวยากหมากแพงส่งผลให้การผลิตผ้าทอมือลดลงด้วยเช่นกัน 

      (ในภาพ เป็นภาพถ่ายครอบครัวที่บันทึกช่วงเวลาสำคัญของครอบครัว  สมาชิกในครอบครัวจึงเลือกชุดที่ดีที่สุด ผู้หญิงทุกคนนุ่งซิ่นไหมที่ทอกันเองในบ้านนาตัง วัฒนธรรมการทอผ้าในครัวเรือนแสดงให้เห็นทักษะของผู้หญิงและสมบัติของครอบครัว)

      ก่อนทศวรรษ 2500

       จิม ทอมป์สัน อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยสอบสวนกลาง สหรัฐฯ เข้ามาใช้ชีวิตในเมืองไทยภายหลังการปลดประจำการจากกองทัพ 

      เขามีโอกาสเดินทางไปในภาคอีสาน และสนใจเกี่ยวกับการเลี้ยงไหมและการทอผ้า ซึ่งซบเซาอย่างมากเนื่องจากสงคราม แต่คงพบเห็นชาวบ้านทอผ้าอยู่ใต้ถุนบ้านอยู่บ้าง

       เขาพัฒนาคุณภาพของไหมและผ้าทอ และส่งออกให้นักออกแบบในต่างประเทศ ทำให้ผ้าไหมเป็นที่ต้องการของตลาด สร้างงานและรายได้ให้ท้องถิ่น แต่ผลิตภณฑ์มีราคาสูง

       

      (ภาพจากพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน)

      ทศวรรษ 2500

        สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริในการก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ

       ตั้งแต่เมื่อครั้งตามเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎรในชนบท เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม .. 2498 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

        เป้าหมายของพระองค์คือ การสืบทอดขนบการทอผ้าและยกระดับการครองชีพในชนบท 

      ในช่วงเวลานั้น เด็กสาวในหมู่บ้านไม่ทอผ้า และเริ่มนุ่งกางเกงยีนส์และเสื้อยืด

      หากต้องการซื้อผ้าซิ่นจะต้องไปที่ร้านขายข้าว ไม่มีร้านขายผ้าไหมทอมือ เพราะเขาจะนำผ้าไปแลกเป็นข้าวสำหรับบริโภค


      ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ฑีขะระ 

      นางสนองพระโอษฐ์ 

      ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 

      เครือข่ายผ้าทอในครัวเรือน

          ผ้าไหมทอมือเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนหลายแห่ง ในหลายขั้นตอนของการผลิตนั้นเกิดในครัวเรือน บางครัวเรือนเน้นการปลูกหม่อนและเลี้ยงไหมและผลิตเป็นเส้นไหม อีกครอบครัวจะซื้อเส้นไหมดังกล่าวมามัดย้อมหรือที่เรียกว่า “มัดหมี่"

         

       


      จากนั้น จะขายไหมที่พร้อมสำหรับการทอให้กับอีกครอบครัวหนึ่ง เรียกได้ว่าเป็น “เครือข่ายผ้าทอ” ที่พึ่งพิงกันและกัน

      หม่อนและหนอนไหม

      หนอนไหมจะได้รับการฟูมฟักเหมือนกับเด็กน้อยในครัวครัว โดยต้นหม่อนและหนอนไหมได้รับการส่งเสริมโดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สุรินทร์ 

        




      เจ้าหน้าที่ของศูนย์หม่อนไหมฯ จัดอบรมการเลี้ยงและขายไข่ของหนอนไหมสายพันธุ์ต่าง   เช่น ผู้เลี้ยงไหมจะได้รับการอบรมให้เรียนรู้การคัดเลือกหนอนไหมที่ไม่มีคุณภาพออกจากกระด้งที่เลี้ยงไหม 

      การปลูกหม่อนและการเลี้ยงหนอนไหม

      การเลี้ยงหนอนไหมนับเป็นงานที่ต้องใส่ใจ ใบหม่อนเป็นอาหารโอชาให้หน่อนไหม

      แต่นับวันจะมีจำนวนครอบครัวที่เลี้ยงหนอนไหมลดลง

      การเลี้ยงไหมที่บ้านนาตัง

      เมื่อหนอนไหมพร้อมสำหรับการสาวเส้นไหม จะถูกแยกออกไว้ในจ่อ 

      ชาวบ้านจะปฏิบัติต่อรังไหมอย่างนุ่มนวล พร้อมทั้งกล่าวคำที่ทำให้เส้นไหมที่จะสาวออกจากรังได้คุณภาพมากที่สุด 

      หากใครกลัวหรือรังเกียจหนอนไหม ก็ไม่ควรเข้าใกล้ เพราะยามใดที่หนอนไหมรู้สึกกลัว จะหยุดสร้างเส้นไหม

      หนอนไหมจะกลายเป็นดักแด้ให้ช่างทอได้สาวเป็นเส้นไหม ในระยะ 2-5 วัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ต้องป้องกันไม่ให้มดและแมลงวันเข้าสู่ภายใน จึงมีต้องคลุมด้วยผ้าถุงและหล่อน้ำไว้ที่ขาของชั้นวางกระด้ง 

      ดักแด้ที่แยกไว้ในจ่อ ใช้เวลาราวสองวันก่อนการสาวเส้นไหม ดักแด้บางตัวถูกแยกในขั้นตอนนี้ สำหรับการเพาะพันธุ์ในฤดูกาลต่อไป

      เส้นไหมหลากสี

      เกิดจากการนำปอยหมี่ที่มัดหมี่เรียบร้อยแล้วไปย้อมสีในน้ำเดือด หากต้องการให้ผ้าไหมมีหลาย สีเพิ่มขึ้น นำไปโอบหมี่คือการใช้เชือกฟางเล็ก พันลำหมี่ตรงส่วนที่ยังไม่ถูกมัดหมี่ ตามแบบลายมัดหมี่



      การโอบ (พัน) ต้องโอบ (พัน) ให้เชือกฟางแน่นที่สุดและหลาย รอบ นำหมี่ที่โอบหมี่เรียบร้อย แล้วไปล้างสีออกในน้ำเดือด หมี่ส่วนที่โอบหรือมัดไว้ จะคงสีตามเดิมส่วนที่ไม่ถูกโอบหรือมัดจะถูกล้างออกเป็นสีขาว นำไปย้อมเป็นสีอื่นอีกครั้งหนึ่งตามต้องการ 

      การสาวไหม

      สาธิตการสาวไหมที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สุรินทร์ การดึงเส้นใยออกจากรังไหมโดยการนำรังไหไปต้ม เพื่อละลายกาวที่ผนึกเส้นใยไว้ออกจากกัน แล้วดึงเอาเส้นใยออกมา 

      เตรียมเส้นไหม

      หลังจากการสาวไหมเสร็จแล้ว ก็ทำเป็นเข็ด (เป็นใจ) โดยแยกชนิดต่าง ๆ ของเส้นไหม เช่น ไหมใหญ่ ไหมสาวเลย หรือไหมยอด โดยใช้เครื่องทำเข็ด ซึ่งรียกว่า “เหล่ง” ในภาพเป็นการเหล่งไหมเข้า “อัก” เพื่อให้ได้เส้นไหมที่มีความสม่ำเสมอ

      การเลือกไหมและสีสำหรับทอ

      ช่างทอผ้าจำนวนหนึ่งชอบใช้ไหมน้อย (ไหมชั้นในสุดของดักแด้) เพราะจะให้ผ้าที่มีความนุ่มมากกว่า โดยซื้อเส้นไหมที่ทำในท้องถิ่นหรือบางครั้งจะใช้เส้นไหมสังเคราะห์ หรือเส้นไหมที่ผลิตในแหล่งอื่น

      ส่วนสีย้อมเคมีนั้นแห้งไว แต่ช่างทอบางคนหลีกเลี่ยงการใช้สีเคมี และตลาดเริ่มนิยมใช้สีธรรมชาติมากขึ้น

      โฮล เอกลักษณ์ผ้าเขมรสุรินทร์

      ลายผ้าที่เรียกว่าโฮลเป็นเสมือนกับราชินีของไหมสุรินทร์ ตามลวดลายดั้งเดิมนั้น โฮลประกอบด้วยสี 3 สีที่ย้อมจากวัสดุธรรมชาติ  แดงจากครั่ง เหลือมองจากเขและขนุน และน้ำเงินจากคราม

      ครั่ง ตัวอย่างความเชื่อในการทอผ้า

          ผ้าไหมทอมือในสุรินทร์มีเอกลักษณ์คือสีแดงที่มาจากครั่ง ในภาษาเขมรเรียกว่า “เลียก” ครั่งเป็นแมลงประเภทหนึ่งที่ขับสารมีลักษณะเป็นเหมือนยางหรือชันออกมาไว้ป้องกันตัวเองจากศัตรู สารนี้เรียกว่า "ครั่งดิบ" มีสีแดงม่วง ลักษณะคล้ายขี้ผึ้งสีเหลืองแก่ หรือยางสีส้ม

          ความเชื่อและข้อห้ามจำนวนไม่น้อยเกี่ยวข้องกับครั่งและกระบวนการย้อมสี ในภาษาเขมร “เลียก” หมายถึง “หลบซ่อน” ในช่วงพิธีขึ้นบ้านใหม่ ชุมชนเชื้อสายเขมรสุรินทร์ใช้ครั่งเป็นส่วนประกอบพิธี เพื่อป้องกันบ้านจากภยันตราย ครั่งชิ้นเล็ก ๆ จะเก็บไว้ในตู้หรือลิ้นชัก ด้วยความเชื่อที่ว่าครั่งจะบังตาไม่ให้ขโมยเห็นสิ่งของมีค่าที่เก็บไว้ในเรือน

      เตรียมสีย้อมจากครั่ง

        ช่างทอหยุดการเตรียมสีทันที เมื่อมีผู้หญิงเดินเข้ามาใกล้บริเวณนั้น เนื่องจากไม่แน่ใจว่า ผู้หญิงที่เดินเข้ามาตั้งท้องหรือมีประจำเดือนหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อห้าม เพราะอาจจะทำให้สีที่ได้ไม่ติดเส้นไหมที่ย้อม

        บางคนย้อมผ้าในช่วงเวลากลางคืนหรือกลางป่า เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ใครมารบกวนในระหว่างการย้อมสี

          ปัจจุบัน มีการใช้ “ด่างฟอกไหมขาว” เพื่อฟอกสีเหลืองตามธรรมชาติของเส้นไหมดิบ   และผสมสารส้มในสีย้อมสำหรับให้สีติดทนนาน เรียกได้ว่าเป็นการผสมผสานระหว่างสิ่งที่เป็นธรรมชาติและสารสังเคราะห์

      การทอผ้าในครัวเรือนและในกลุ่มแม่บ้าน

       ช่างทอที่ทอผ้าด้วยกี่มือจะเป็นผู้บังคับตะกอให้แยกเส้นด้ายยืนออกจากกันด้วยเท้าเหยียบ และใช้มือสอดกระสวยใต้เส้นด้าย จากนั้น ดึงฟันฟืมกระทบเส้นด้ายพุ่งให้ติดกันทีละเส้นนั้น 

       





       แต่กี่กระตุกเริ่มได้รับความนิยมมากว่า 20 ปี ผู้ทอใช้มือกระตุกเชือกที่ติดกับกระสวย แล้วกระสวยจะวิ่งผ่านเส้นด้ายยืนที่แยกออกจากกัน

      ในแต่ละชั่วรุ่น

      หญิงเชื้อสายเขมรสุรินทร์กล่าวไว้ว่า ความรู้สึกนั้นสอดผสานอยู่ในผืนผ้าที่พวกหล่อนทอ หากช่างทออยู่ในอารมณ์โกรธหรือเสียใจ ผ้าที่ทอจะแน่นเฉกเช่นสิ่งที่ “แน่นอก” ฉะนั้น ความสุข ความหิว ความโสกเศร้า หรือความรัก ปรากฏในลวดลายของผืนผ้า ลวดลายนั้น ๆ สะท้อนให้เห็นชั่วขณะของการทอผ้า 

      การสืบทอด

          บ้านแม่ชอุ่มในบ้านนาตัง คงสืบทอดการทอผ้าและการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ และถ่ายทอดความรู้ให้กับหลานสาว แม้อั้มผู้เป็นหลานในวัยสามสิบเศษทำงาน ณ ท่าเรือสัตหีบ จังหวัชลบุรี แต่เมื่อกลับมาเยี่ยมบ้าน เธอคงทอผ้าและหวังว่าสักวันจะย้ายกลับมาตั้รกรากที่บ้านเกิด

      กลุ่มแม่บ้าน บ้านตำปูง

          กลุ่มแม่บ้านตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2546 ด้วยการสนับสนุนทั้งในระดับจังหวัดและระดับตำบล ผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านจะจำหน่ายให้กับมูลนิธิศิลปาชีพ

          ทุกวันนี้ มีสมาชิกกลุ่มราว 50 คน ช่างทอผ้าบางคนทอผ้าแบบเต็มเวลา ณ ที่ทำการของกลุ่มแม่บ้าน บางคนทอผ้าเป็นรายได้เสริมให้ครอบครัว บ้างใช้เวลาทอผ้าในครัวเรือนและใช้กรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม

          กลุ่มแม่บ้านเริ่มใช้สีย้อมสังเคราะห์และเส้นใยสำเร็จจากภายนอก รวมถึงการใช้กี่กระตุกเพื่อเพิ่มจำนวนการผลิตให้เป็นสินค้าของชุมชน นอกจากนี้ ยังมีการปรับลวดลายให้เหมาะสมกับตลาดทั้งในระดับท้องถิ่นและลูกค้าภายนอกชุมชน

      รูปแบบสำคัญของผ้าไหมสุรินทร์

            ลายผ้าอาจแบ่งได้หลายลักษณะ เช่น “ท้องถิ่น” “ประเพณี” “สมัยใหม่” “เขมร” “ไทย” “เขมรสุรินทร์” “ประยุกต์” ฯลฯ แต่ใช่ว่าจะแบ่งแยกได้อย่างชัดเจน เพราะการออกแบบนั้นเกิดขึ้นได้อยู่เสมอขึ้นอยู่กับผู้ทอ

            แต่รูปแบบสำคัญของผ้าไหมสุรินทร์นั่นคือ “มัดหมี่” นั่นคือเทคนิคการมัดย้อมเส้นไหมก่อนการทอและกลายเป็นลวดลายที่งดงาม ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างลวดลายเอกลักษณ์ของผ้าไหมทอมือ

      โฮล

          “โฮล” ได้รับการกล่าวขานโดยคนท้องถิ่นว่าเป็น “ราชินีผ้าไหมสุรินทร” ชื่อของลายมาจากคำภาษาเขมรว่า “โฮร” ที่หมายถึง ไหล เพราะลายผ้าเสมือนสายน้ำที่ไหล

          เดิมที ผู้หญิงจะใส่ซิ่นโฮลแต่ในปัจจุบันทั้งชายและหญิงประยุกต์ผ้าโฮลเป็นเครื่องแต่งกายในวาระสำคัญ เช่น งานแต่งงาน เทศกาล

      อัมปรม

          “อัมปรม” เป็นลวดลายที่เกิดจากการมัดย้อมทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง เทคนิคการมัดย้อมแบบนี้เดิมทีพบในจีน อินเดีย ญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย แต่กลายเป็นเทคนิคการทอในสุรินทร์ไม่น้อยกว่า2,000 ปี

      อันลูยซีม

        หากแปลเป็นไทยคือคลานมาสยามนงเยาว์ ทรงวิชา กล่าวถึงชื่อเรียกของลวดลายที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบระหว่างราชสำนักสยามกับเขมร และเมื่อคนเชื้อสายเขมรได้รับอนุญาตให้ตั้งรกรากในสุรินทร์ จึงแสดงความภักดีด้วยการสร้างสรรค์ลวดลายและสอยลูกหลานให้รู้จักความหมาย 

      นุ่งผ้าไหม ใส่ปะเกือม เรือมกันตรึม

          ในอำเภอเขวาสินรินทร์ มีการจัดเทศกาล “นุ่งผ้าไหม ใส่ปะเกือม เรือมกันตรึม” เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่มรดกวัฒนธรรมเชื้อสายเขมรให้กับผู้คนในท้องถิ่น

          แม่ ๆ ที่เป็นสมาชิกในชุมชนสวมใส่เสื้อผ้าไหมที่ทอในชุมชน ซึ่งแสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของชุมชนเชื้อสายเขมรสุรินทร์และความภาคภูมิใจแก่ผู้มาเยือน

      นุ่งผ้าไหม ใส่ปะเกือม เรือมกันตรึม

          ธิดาปะเกือมในเทศกาล “นุ่งผ้าไหม ใส่ปะเกือม เรือมกันตรึม” พ.ศ. 2555 และ พ.ศ.2556

          หญิงเชื้อสายเขมรสุรินทร์คงสะสมผ้าไหม ส่วนหนึ่งเป็นมรดกตกทอด อีกส่วนหนึ่งเป็นผ้าที่ทอขึ้นใหม่ เพื่อส่งต่อให้กับคนรุ่นต่อไป

      ณ ตลาดสีเขียว

       ผ้าไหมขายในตัวเมืองสุรินทร์  แม่ค้าเป็นสมาชิกของเครือข่ายช่างทอในพื้นที่ และผู้ซื้อเป็นคนในท้องถิ่นสุรินทร์

      ขอบคุณ

       นิทรรศการเรื่องนี้ดัดแปลงจากนิทรรศการออนไลน์ โครงการโรงเรียนภาคสนาม เรื่อง ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกับงานพิพิธภัณฑ์ .. 2555 ซึ่งพัฒนาโดย อเล็กซานดรา เดลเฟอโร ในกำกับของ ดร. อเล็กซานดรา เดนิส 


      ภาพประกอบ

          ภาพถ่ายโดย อเล็กซานดร้า เดลเฟอโร

          ภาพจากภายนอก

          จิม ทอมป์สัน จาก http://asiastore.org/wp-content/uploads/2014/09/jimthompson-studio1.jpg

          สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/pictures29/l29-16a.jpg