แนะนำหนังสือ Finding their Voice: Northeastern Villagers and the Thai State ของ Charles F. Keyes

คำสำคัญ : ไทย,
แนะนำหนังสือ Finding their Voice: Northeastern Villagers and the Thai State ของ Charles F. Keyes

“เสียงอีสาน” ในหนังสือเรื่อง Finding their Voice: Northeastern Villagers and the Thai State ของคายส์ (Charles F. Keyes) นับว่ามีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นเสมือนบทวิเคราะห์ความเป็นอีสานร่วมสมัย โดยพิจารณาถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจากมิติทางเศรษฐกิจและการเมือง ความเป็นอีสานจึงแสดงนัยของแรงตึงที่เกิดขึ้นระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค ที่ดำเนินมาในสองสามศตวรรษ โดยเฉพาะความพยายามในการอธิบายถึงความเป็นอีสานจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองในไทยในเวลานี้

เนื้อหาโดยสังเขป ในบทแรก คายส์ผูกโยงความเป็นอีสานเข้ากับ “พุทธ” ในฐานะสถาบันทางศาสนา จากนั้นจึงมากล่าวถึงประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้ายของผู้คนจากลาวสู่สยาม และการแผ่อำนาจทางการเมืองของสยาม ในช่วงศตวรรษที่ 18-19 จนเกิดกระบวนการ “กบฏผีบุญ” ตามสายตาของศูนย์กลางการปกครอง  จากความพยายามในการจัดการสถาบันสงฆ์และการศึกษาแบบรวมศูนย์ จนถึงระยะเวลาของการก้าวสู่ระบอบการปกครองใหม่ที่เปิดให้คนอีสานสามารถเลือกตัวแทน แต่กลับถูกกำจัดจากข้ออ้างความเชื่อมโยงกับลัทธิคอมมิวนิสต์ สภาวะดังกล่าวกลายเป็นบ่อเกิดของความรู้สึกของการถูกเลือกปฏิบัติ

เข้าสู่ในช่วงทศวรรษ 2520 ที่รัฐบาลตรากฎหมายเพื่อเปิดทางให้กับอดีตแนวร่วมคอมมิวนิสต์เข้าร่วมพัฒนาชาติไทย จนนำมาสู่การจัดตั้งองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนมาก และความเคลื่อนไหวเพื่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ในช่วงสุดท้าย คายส์เชื่อมโยงพลังมวลชนอีสานกับการเมืองร่วมสมัยในช่วงสองทศวรรษ พวกเขาสนับสนุนพรรคการเมืองประชานิยมของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และการเคลื่อนไหวของ “คนเสื้อแดง” ทั้งหมดนี้เพื่อชี้ให้เห็นถึงพลวัตของชาวบ้านอีสานจากสังคมกสิกรรมดั้งเดิมสู่การมีส่วนร่วมภาคพลเมืองอย่างลึกซึ้ง เขาเน้นย้ำให้เห็นว่า คนอีสานที่ออกมาเรียกร้องทางการเมืองเหล่านี้ไม่ใช่ “ไร้เดียงสา” หากแต่เป็นพลเมืองไทยที่มีความเข้าใจถึงสิทธิและความยุติธรรมอย่างที่สุด (Keyes 2014, 184)

ในทัศนะของคายส์ ข้อวิพากษ์สำคัญอันเป็นต้นต่อของช่องว่างระหว่างศูนย์กลางกับปริมณฑลนั่นคือ “ปัญหาอีสาน” ที่ถูกระบุว่าเป็นข้ออ้างในการดำเนินโครงการพัฒนาในช่วงสงครามเย็น ภายใต้การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ที่รัฐบาลสหรัฐให้การสนับสนุนรัฐบาลไทย จนถึงช่วงเวลาของความขัดแย้งทางการเมืองร่วมสมัย กลับมาจากการขาดความเข้าใจของชนชั้นปกครองและชนชั้นกลางในเมืองต่อสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในชนบท (Sangkhamanee 2015, 328)

อย่างไรก็ดีข้อวิจารณ์หนังสือเล่มนี้ ปรากฏในหลายลักษณะ ดังเช่น มัสกัต (Robert J. Muscat) มุ่งอภิปรายถึงโครงการพัฒนาของรัฐบาลไทยในช่วงสงครามเย็น หรือตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1963 ถึงต้นทศวรรษ 1980 เพราะคายส์ให้ข้อสรุปถึงผลกระทบในเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางสภาพแวดล้อมจากการก่อสร้างขนาดใหญ่ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมของการเคลื่อนย้ายผู้คนและค่านิยมเชิงวัตถุ และในเชิงจิตวิทยาที่คนอีสานมองข้าราชการที่เข้ามาพัฒนาพื้นที่อย่างกังขา ด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวงจากเม็ดเงินที่เข้าสู่พื้นที่ ในที่นี้ มัสกัตพยายามชี้ให้เห็นความเติบโตที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ของโครงการพัฒนาต่าง ๆ ทั้งถนนและเขื่อน (Muscat 2015, 169) ส่วนข้อปัญหาทางจิตวิทยาระหว่างข้าราชการท้องถิ่นกับคนอีสาน เป็นประเด็นที่ได้รับการระบุและแสวงหาทางแก้ไขระหว่างองค์กรความช่วยเหลือสหรัฐกับรัฐบาลกลางเช่นกัน (Muscat 2015, 168)

แชมเบอร์ส (Paul Chambers) เองได้ชี้ให้เห็นสิ่งที่ต้องทบทวนในงานชิ้นนี้ นั่นคือ คำนิยามแบบกว้างของ “ความเป็นอีสาน” ที่คายส์อ้างจากงานศึกษาชาวอีสานเมื่อหลายทศวรรษก่อนจากพื้นที่ของการศึกษาภาคสนามนั้นครอบคลุมความหลากหลายของความเป็นอีสานที่มีพลวัตอย่างมาก และที่สำคัญหมายรวมถึงกลุ่มเชื้อสายอื่นนอกจากลาวอีสานมากน้อยเพียงใด ความสำนึกของคนไทยเชื้อสายเขมรจะสอดคล้องกับสิ่งที่คายส์พยายามอธิบายไว้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังปรากฏกลุ่มคนอีสานที่เคลื่อนไหวต่อต้านระบอบทักษิณปรากฏด้วยเช่นกัน (Chambers 2015, 204) ภาพที่เหมารวมของ “คนอีสาน” ที่ให้การสนับสนุนพรรคการเมืองแบบประชานิยมเช่นนี้ นับเป็นสิ่งที่ต้องระวังในการอ่าน

ทั้งหลายทั้งปวงงานชิ้นนี้ไล่เรียงให้เห็นพลวัตความสัมพันธ์ทางการเมืองภายในประเทศ และช่วยให้เห็นภาพคนอีสานที่ตอบโต้กับเงื่อนไขของการเมืองเศรษฐกิจทั้งในประเทศและบริบทโลก โดยเฉพาะการทำความเข้าใจถึงอัตลักษณ์ ที่สามารถอธิบายได้มากกว่าชีวิตความเป็นอยู่หรือวัฒนธรรมที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพชน เพราะท้องถิ่นดำรงอยู่ในกระแสความเปลี่ยนแปลงในระดับต่าง ๆ ทั้งพื้นที่ ภูมิภาค ประเทศ และโลก

 

สำหรับผู้ที่สนใจงานวิเคราะห์หนังสือ ในฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์


หรือสามารถยืมหนังสือต้นฉบับได้ที่ ห้องสมุด ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร


หมายเหตุ

ภาพประกอบบทความจาก https://silkwormbooks.com/products/finding-their-voice

อ้างอิง

Chambers, Paul (2015) Charles Keyes, Finding Their Voice: Northeastern Villagers and the Thai State. Chiang Mai, Thailand: Silkworm Books, Asian Affairs: An American

Review, 42:4, 203-204.

Keyes, Charles (2014) Finding Their Voice: Northeastern Villagers and the Thai State. Chiang Mai: Silkworm Books.

Muscat, Robert J. (2015) Book ReviewFinding Their Voice: Northeastern Villagers and The Thai State. Journal of Mekong Societies, 2:11, 165-171.

Sangkhamanee, Jakkrit (2015) Charles Keyes. Finding Their Voice: Northeastern Villagers and the Thai State. Chiang Mai: Silkworm Books, 2014. 262 pp. TRaNS: Trans -Regional and -National Studies of Southeast Asia, 3:2, 328-330.

แนะนำหนังสือ Finding their Voice: Northeastern Villagers and the Thai State ของ Charles F. Keyes

“เสียงอีสาน” ในหนังสือเรื่อง Finding their Voice: Northeastern Villagers and the Thai State ของคายส์ (Charles F. Keyes) นับว่ามีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นเสมือนบทวิเคราะห์ความเป็นอีสานร่วมสมัย โดยพิจารณาถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจากมิติทางเศรษฐกิจและการเมือง ความเป็นอีสานจึงแสดงนัยของแรงตึงที่เกิดขึ้นระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค ที่ดำเนินมาในสองสามศตวรรษ โดยเฉพาะความพยายามในการอธิบายถึงความเป็นอีสานจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองในไทยในเวลานี้

เนื้อหาโดยสังเขป ในบทแรก คายส์ผูกโยงความเป็นอีสานเข้ากับ “พุทธ” ในฐานะสถาบันทางศาสนา จากนั้นจึงมากล่าวถึงประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้ายของผู้คนจากลาวสู่สยาม และการแผ่อำนาจทางการเมืองของสยาม ในช่วงศตวรรษที่ 18-19 จนเกิดกระบวนการ “กบฏผีบุญ” ตามสายตาของศูนย์กลางการปกครอง  จากความพยายามในการจัดการสถาบันสงฆ์และการศึกษาแบบรวมศูนย์ จนถึงระยะเวลาของการก้าวสู่ระบอบการปกครองใหม่ที่เปิดให้คนอีสานสามารถเลือกตัวแทน แต่กลับถูกกำจัดจากข้ออ้างความเชื่อมโยงกับลัทธิคอมมิวนิสต์ สภาวะดังกล่าวกลายเป็นบ่อเกิดของความรู้สึกของการถูกเลือกปฏิบัติ

เข้าสู่ในช่วงทศวรรษ 2520 ที่รัฐบาลตรากฎหมายเพื่อเปิดทางให้กับอดีตแนวร่วมคอมมิวนิสต์เข้าร่วมพัฒนาชาติไทย จนนำมาสู่การจัดตั้งองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนมาก และความเคลื่อนไหวเพื่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ในช่วงสุดท้าย คายส์เชื่อมโยงพลังมวลชนอีสานกับการเมืองร่วมสมัยในช่วงสองทศวรรษ พวกเขาสนับสนุนพรรคการเมืองประชานิยมของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และการเคลื่อนไหวของ “คนเสื้อแดง” ทั้งหมดนี้เพื่อชี้ให้เห็นถึงพลวัตของชาวบ้านอีสานจากสังคมกสิกรรมดั้งเดิมสู่การมีส่วนร่วมภาคพลเมืองอย่างลึกซึ้ง เขาเน้นย้ำให้เห็นว่า คนอีสานที่ออกมาเรียกร้องทางการเมืองเหล่านี้ไม่ใช่ “ไร้เดียงสา” หากแต่เป็นพลเมืองไทยที่มีความเข้าใจถึงสิทธิและความยุติธรรมอย่างที่สุด (Keyes 2014, 184)

ในทัศนะของคายส์ ข้อวิพากษ์สำคัญอันเป็นต้นต่อของช่องว่างระหว่างศูนย์กลางกับปริมณฑลนั่นคือ “ปัญหาอีสาน” ที่ถูกระบุว่าเป็นข้ออ้างในการดำเนินโครงการพัฒนาในช่วงสงครามเย็น ภายใต้การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ที่รัฐบาลสหรัฐให้การสนับสนุนรัฐบาลไทย จนถึงช่วงเวลาของความขัดแย้งทางการเมืองร่วมสมัย กลับมาจากการขาดความเข้าใจของชนชั้นปกครองและชนชั้นกลางในเมืองต่อสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในชนบท (Sangkhamanee 2015, 328)

อย่างไรก็ดีข้อวิจารณ์หนังสือเล่มนี้ ปรากฏในหลายลักษณะ ดังเช่น มัสกัต (Robert J. Muscat) มุ่งอภิปรายถึงโครงการพัฒนาของรัฐบาลไทยในช่วงสงครามเย็น หรือตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1963 ถึงต้นทศวรรษ 1980 เพราะคายส์ให้ข้อสรุปถึงผลกระทบในเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางสภาพแวดล้อมจากการก่อสร้างขนาดใหญ่ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมของการเคลื่อนย้ายผู้คนและค่านิยมเชิงวัตถุ และในเชิงจิตวิทยาที่คนอีสานมองข้าราชการที่เข้ามาพัฒนาพื้นที่อย่างกังขา ด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวงจากเม็ดเงินที่เข้าสู่พื้นที่ ในที่นี้ มัสกัตพยายามชี้ให้เห็นความเติบโตที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ของโครงการพัฒนาต่าง ๆ ทั้งถนนและเขื่อน (Muscat 2015, 169) ส่วนข้อปัญหาทางจิตวิทยาระหว่างข้าราชการท้องถิ่นกับคนอีสาน เป็นประเด็นที่ได้รับการระบุและแสวงหาทางแก้ไขระหว่างองค์กรความช่วยเหลือสหรัฐกับรัฐบาลกลางเช่นกัน (Muscat 2015, 168)

แชมเบอร์ส (Paul Chambers) เองได้ชี้ให้เห็นสิ่งที่ต้องทบทวนในงานชิ้นนี้ นั่นคือ คำนิยามแบบกว้างของ “ความเป็นอีสาน” ที่คายส์อ้างจากงานศึกษาชาวอีสานเมื่อหลายทศวรรษก่อนจากพื้นที่ของการศึกษาภาคสนามนั้นครอบคลุมความหลากหลายของความเป็นอีสานที่มีพลวัตอย่างมาก และที่สำคัญหมายรวมถึงกลุ่มเชื้อสายอื่นนอกจากลาวอีสานมากน้อยเพียงใด ความสำนึกของคนไทยเชื้อสายเขมรจะสอดคล้องกับสิ่งที่คายส์พยายามอธิบายไว้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังปรากฏกลุ่มคนอีสานที่เคลื่อนไหวต่อต้านระบอบทักษิณปรากฏด้วยเช่นกัน (Chambers 2015, 204) ภาพที่เหมารวมของ “คนอีสาน” ที่ให้การสนับสนุนพรรคการเมืองแบบประชานิยมเช่นนี้ นับเป็นสิ่งที่ต้องระวังในการอ่าน

ทั้งหลายทั้งปวงงานชิ้นนี้ไล่เรียงให้เห็นพลวัตความสัมพันธ์ทางการเมืองภายในประเทศ และช่วยให้เห็นภาพคนอีสานที่ตอบโต้กับเงื่อนไขของการเมืองเศรษฐกิจทั้งในประเทศและบริบทโลก โดยเฉพาะการทำความเข้าใจถึงอัตลักษณ์ ที่สามารถอธิบายได้มากกว่าชีวิตความเป็นอยู่หรือวัฒนธรรมที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพชน เพราะท้องถิ่นดำรงอยู่ในกระแสความเปลี่ยนแปลงในระดับต่าง ๆ ทั้งพื้นที่ ภูมิภาค ประเทศ และโลก

 

สำหรับผู้ที่สนใจงานวิเคราะห์หนังสือ ในฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์


หรือสามารถยืมหนังสือต้นฉบับได้ที่ ห้องสมุด ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร


หมายเหตุ

ภาพประกอบบทความจาก https://silkwormbooks.com/products/finding-their-voice

อ้างอิง

Chambers, Paul (2015) Charles Keyes, Finding Their Voice: Northeastern Villagers and the Thai State. Chiang Mai, Thailand: Silkworm Books, Asian Affairs: An American

Review, 42:4, 203-204.

Keyes, Charles (2014) Finding Their Voice: Northeastern Villagers and the Thai State. Chiang Mai: Silkworm Books.

Muscat, Robert J. (2015) Book ReviewFinding Their Voice: Northeastern Villagers and The Thai State. Journal of Mekong Societies, 2:11, 165-171.

Sangkhamanee, Jakkrit (2015) Charles Keyes. Finding Their Voice: Northeastern Villagers and the Thai State. Chiang Mai: Silkworm Books, 2014. 262 pp. TRaNS: Trans -Regional and -National Studies of Southeast Asia, 3:2, 328-330.