อ่าน
7
นาที

“ชาติพันธุ์ผู้ไทข้ามชาติ” บริบทใหม่ของการศึกษาอัตลักษณ์

คำสำคัญ : นครพนม,ผู้ไท,อัตลักษณ์วัฒนธรรม,
 “ชาติพันธุ์ผู้ไทข้ามชาติ” บริบทใหม่ของการศึกษาอัตลักษณ์

IN FOCUS

  • ความเข้าใจเกี่ยวกับชาติพันธุ์ควรได้รับการทบทวนและพิจารณาในบริบทโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะในกรณีของผู้ไท ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่ประเทศไทย ลาว เวียดนาม และจีนอาเซียนซึ่งเป็นประชาคมที่มีเกิดขึ้นมีบทบาทในการพัฒนาความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันข้ามพรมแดนรัฐชาติ
  • ผู้ไทเป็นหนึ่งในหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดการรวมตัวข้ามรัฐชาติ เช่นเดียวกับไทดำ ลื้อ ซึ่งการถ่ายทอดการเลือกรับ หรือการระบุถึงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ จากแต่ละถิ่นฐาน ในที่นี้คือรัฐชาติ ต่างมีเงื่อนไขที่กำกับความเป็นชาติพันธุ์ 
  • แม้จะระบุถึงความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน แต่ละกลุ่มจากแต่ละประเทศนั้นเลือกรับหรือส่งอิทธิพลกันภายในชาติพันธุ์ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทที่เพิ่งสร้างการรำผู้ไทในช่วงเวลาไม่กี่ทศวรรษ แต่ผู้ไทในลาวก็ยอมรับกับความเป็นต้นฉบับนั้น ในขณะที่เมื่อคนผู้ไทยจากประเทศไทยข้ามแดนไปมาหาสู่คนผู้ไทในลาว ก็พิจารณาถึงความดั้งเดิมของกลุ่มผ่านการดำเนินชีวิตในลาว ทั้ง ที่ความเปลี่ยนแปลงของชาติพันธุ์ผู้ไทเกิดขึ้นอยู่โดยตลอดในเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใน สปป. ลาว