Loading...

นิทรรศการ “พวน” ในพาข้าว

สารคดีเรื่อง “พาข้าว” ซึ่งจะชวนให้ผู้ชมไปทำความรู้จัก เมนูอาหารของชาวไทยพวนในบ้านทราย จังหวัดลพบุรี โดยอาศัยคำบอกเล่าของผู้คนในชุมชน ถึงประวัติความเป็นมา การปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม และการเรียนรู้วัฒนธรรมอาหารจากคนรุ่นพ่อแม่



หัวใจสำคัญของสารคดีเรื่องนี้ ไม่ได้อยู่เพียงขั้นตอนการทำอาหาร แต่เรื่องเล่าที่ฉายให้เห็นมรดกวัฒนธรรมของการกิน รวมถึงประเพณีการทำบุญถวายภัตราหารแด่พระภิกษุสงฆ์ ที่ชาวบ้านคงใช้พาข้าวเป็นภาชนะนำข้าวปลาไปวัดเพื่อทำบุญ

รากเหง้าคนพวน

คนพวนย้ายมาจากเมืองเชียงขวาง ในลาว สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และมาอยู่อาศัยในลพบุรี สิงห์บุรี ปราจีนบุรี นครนายก ราวสองร้อยปีที่แล้ว” สมคิด จูมทอง

ชีวิตกับธรรมชาติ

“...เดิมทำนาปีละครั้ง นอกจากนี้ ยังมีการปลูกพืชผักฝักแฟงตามคันนาหรือที่เรียกว่าโคนนาเป็นพืชธรรมชาติ  แล้วก็มีปลา ปลาด้วย ผักด้วยใช้ในการดำเนินชีวิต หากปลามาก ก็จะทำปลาร้า ปลาส้ม

“อาหารพวนคงอยู่ตลอด ไม่ว่าจะปรับเปลี่ยนตามสังคมปัจจุบัน"

อาหารพวนคงอยู่ตลอด ไม่ว่าจะปรับเปลี่ยนตามสังคมปัจจุบัน แต่หลัก คงอยู่ เพราะวัตถุดิบในการประกอบหอาหาร แต่ปัจจุบัน พยายามส่งเสริม เมื่อไปแสดงในงานสมเด็จพระนารายณ์ที่วังนารายณ์ ลพบุรี พยายามเอาอาหารพวนไปแสดง น้ำพริกแจ่วก็ยังมี แกงขี้เหล็กไม่ใส่กะทิ หมกเมาะ ขาดไม่ได้เลย เพราะมีมาแต่ดั้งเดิมสมคิด จูมทอง

(ในภาพเป็นงานบุญประเพณีบุญห่อข้าว หรือ สารทพวน จัดขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 9 ที่ลูกหลานคนเตรียมพาข้าวไปทำบุญอุทิศให้กับบรรพบุรุษ)

ปลาร้า

"กินไม่ทุกข์ไม่ยาก"

ทำปล้าราก็ทำตั้งแต่เด็กน้อย ปลาสับก็ได้ ทอดก็ได้ บางคนเขากินดิบ ...“กินไม่ทุกข์ไม่ยากถ้ามีปลาก็ต้มปลาไป ไม่ก็เอาน้ำพริกไปที่นา กินที่นาก็จี่ปลาร้า มีพริกก็เอาพริก มีมะนาวก็เอามะนาว ไปนากินอย่างนี้เป็นส่วนมาก เมื่อก่อนนี้ ทุกข์แต่กินสบาย” แม่สมบุญ บุญนำมา

“ปลาร้าที่เราซื้อกับที่เราทำ มันหอมต่างกัน”

ไม่มีเคล็ดลับอะไร เอาเกล็ดออก ล้างให้ดี แล้วหั่นเป็นชิ้น ค้างเกลือไว้ข้าวยัดท้อง หมักให้เข้าได้คืนสองคืน แล้วก็หาข้าวเปลือกคั่ว แล้วมาตำและคลุก เดี๋ยวไม่ใช้ข้าวเปลือกใช้แต่ลำอ่อน ...ความหอมมาจากข้าวติดลำที่คั่ว

“หมักไว้เป็นปี ถึงเป็นกิน”

ปิดไว้อย่างนี้ น้ำขึ้นจะไม่ล้น หมักไว้ปีหนึ่ง ถึงเป็นกิน ที่ว่าอร่อยเนื้อมันจะเละ ถ้าแข็งอยู่ไม่อร่อย เดินผ่านก็หอมชื่นใจทำปลาร้ากินเอง

ปลาร้าทอดยำกับพริกและหอมแดง

แกงขี้เหล็ก

…แม่สอนให้ทำอาหารจากง่าย ๆ เริ่มจากแกงหน่อไม้ แล้วก็แกงขี้เหล็ก

บ้านนอกเราก็อย่างนี้ พ่อแม่ต้องดิ้นรนทำมาหากิน ไปอยู่ตามท้องนา หาปลาจากนา ก็นำเอามาเป็นอาหาร แล้วก็เลี้ยงไก่เลี้ยงหมู ให้ลูกอยู่เฝ้าบ้านแม่สอนให้ทำอาหารจากง่าย เริ่มจากแกงหน่อไม้ แล้วก็แกงขี้เหล็ก เราก็จะไว้ว่าใส่นี่นะ ปลาร้านี่ขึ้นเป็นหลัก เหมือนคนแถวอีสานเน้อ”   


แม่สุดใจ ทองทวิน

“ในหน้าฝนใบขี้เหล็กงามจัด ไม่เข้มข้น”

แกงขี้เหล็ก ไม่แนะนำทำในช่วงฝน ต้องทำหน้าแล้งเพราะว่าไม่มีฝน มีดอกมีใบ...แล้วเราก็เลือกยอดขาว

เครื่องแกงมีหอยเคอ หอมขาว หอมแดง กระชาย พริกแห้งมาโขลกมีแต่สมุนไพรทั้งนั้นเน้อ คนแก่เขาทำเมื่อก่อน ใบย่านางก็เอามาคั้น ล้างให้ดีแล้วก็มาคั้น 

“ถ้าไม่ขมก็ไม่อร่อยนะ ขี้เหล็ก”

ต้มใบขี้เหล็กจนเดือด ซอยพอให้ขาดออกจากกัน สมัยก่อนใส่ครก มันเละเกิน เราอยากกินใบ เอาใบย่านางที่คั้นน้ำไว้ต้มให้เดือด แล้วเอาใบขี้เหล็ก เครื่องแกงใส่หม้อ ใส่เกลือหน่อย เติมปลาร้า ... แกงขี้เหล็กนี่ก็ใส่น้ำปลาร้าเจอจางกับน้ำปลา มันไม่ได้ใส่กะทิ

“ถ้าไม่ขมก็ไม่อร่อยนะ ขี้เหล็ก”

เมื่อก่อนใส่หนังควายตากแห้ง แล้วพ่อก็จะเอามาเผาจนไหม้ แกจะมาทุบเศษดำ  นั้นออก แล้วก็มาทุบใส่ในหม้อแกง เดี๋ยวนี้ทำงานใส่แคบหมู หรือ หมูสับมาสับ  ใส่ เพิ่มความหวาน แกงขี้เหล็กทั้งขมทั้งหวาน

หมกเมาะ

“เป็นแกงที่ทำในโอกาสพิเศษ”

หมกเมาะใบย้อปลาข้อใส่ใบยอ หมกเมาะอีกอย่างหนึ่ง ใส่ไก่ผักกาดเป็นแกงที่พบเห็นได้ในโอกาสพิเศษต่าง เช่น งานแต่งงาน งานประเพณีกำฟ้านงคราญ สุมนทา

เครื่องแกงของหมกเมาะ

 น้ำกะทิ หอม กระเทียม ผิวมะกรูด พริกแกง ข่า กระชาย ตะไคร้ พริกแห้ง

“คนพวนชอบมัน ๆ ยิ่งมันยิ่งอร่อยเข้มข้น”

ส่วนมากเป็นปลาข้อมากกว่า ปลาข้อทำความสะอาดและหั่นเป็นชิ้น ...ต้มกะทิ ใช้หัวกะทิ ต้มให้แตกมันให้หอม  ใส่พริกแกงที่เตรียมไว้ เมื่อเดือดเอาปลาลง ปรุงรส และตามด้วยใบยอ หรือ ผักกาด ต้มจนสุก

แจ่ว

“มันก็จินตนาการออกมาเอง”

มันก็จินตนาการออกมาเอง ทำอาหารมาตั้งแต่อายุ 12 ไปช่วยเขางานโน้นงานนี้ ก็จะเห็นออกมา ...น้ำพริก คนพวนเข้าเรียก แจ่ว ที่ยืนพื้น จะมีพวกนี้ แจ่วก็กินกับผักต้ม ผักปัง ตำลึงข้างรั้ว กระถิ่น กระเจี๊ยบ แต่คนพวนเรียก มะเมือกสกุลไทย นามกูล

แจ่วปลาบ่น แจ่วปลาบ่น แจ่วพริกแห้ง แจ่วปลาสดต้มน้ำปลาร้า แจ่วบอง แจ่วบองโบราณ

แจ่วบอง

ทำแจ่วบอง ย่างพริกแล้วก็มาโขลก ใส่กระเทียมที่เราเผา โขลกเข้าด้วยกัน ใส่เกลือแล้วก็มะขามเปียก โขลกได้สักพัก กะว่าให้รสเปรี้ยวมันออก แล้วใส่น้ำตาล แจ่วบองเก็บไว้ได้นานถึงเดือน

แจ่วพริกสด

แจ่วพริกสดก็ต้องมีปลาทุกครั้ง แต่ถ้าเราตำง่าย ก็ไม่ต้องมีปลา ใส่เกลือนิดหนึ่ง ป้องกันไม่ให้พริกเผ็ด ให้รสกลมกล่อม ไม่ให้พริกกระเด็น พอใส่ปลาแล้วก็ใส่มะเขือเทศ มาใส่น้ำปลาร้าทีหลัง ...คนพวนนั้นกินง่าย

นานาทัศนะ...มรดกอาหารพวน

รสชาติไม่มีกลมกล่อม เปรี้ยวก็เปรี้ยวไปเลย เค็มก็เค็มไปเลย แต่ถ้าปัจจุบันนี้ เขาตัดน้ำตาลนิดหนึ่ง ทำให้รสชาติกลอมกล่อม ...การรับทำอาหาร ก็จะมีชาวบ้านมาถามรับจ้างตามงานแต่งงาน งานบวชนาค งานทำบุญบ้าน แต่อาหารออกไปทางไทย คนรุ่นใหม่ต้องมาประยุกต์ให้คนรุ่นก่อนกินตามไปด้วย เพราะสมัยใหม่จะมีโต๊ะจีน แล้วก็พอจะทิ้งรสพวนแต่ก็ไม้ทิ้งเสียเลย เวลามีงานวัฒนธรรมก็จะทำแกงทางพวน แกงขี้เหล็ก ปลาร้าสับ ปลาร้าทอด แล้วก็แกงเมาะ” (สกุลไทย นามกูล)





ไม่มีหาย ก็กินอย่างนี้ทุกวัน ลูกหลานก็ยังกิน แม่ทำให้กินก็กิน ถ้าเขาไม่กิน ต่อไปก็ไม่ต้องกิน” (นงคราญ สุมนทา)


ทำอาหารพื้นบ้านไม่ค่อยได้แล้ว รุ่นนี้ เขาไปซื้อกินแต่เขาก็ดูตาม แต่ทำอาหารรุ่นใหม่ ถ้าแม่ทำปลาร้าค ทำน้ำพริกปลา เขาก็แบ่งไปกินททำงาน เขารู้ว่าแม่ทำอะไร ใส่อะไรบ้าน” (สุดใจ ทองทวิง)


เหมือนเก่า หุงข้าวกินก็หุงฟืน เดี๋ยวนี้หุงหม้อไฟฟ้า ตั้งแต่พ่อแม่เกิดมา ทำปลาร้า ทำน้ำปลา จน 80 ป่านนี้” (สมบุญ บุญนำมา)

สารคดีเรื่อง พาข้าว โดย พิสุทธิ์ ศรีหมอก อำนวยการผลิตโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)


แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติและวัฒนธรรมพวน

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนบ้านดงกระทงยาม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี

พิพิธภัณฑ์ไทยพวน บ้านเชียง ข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี (รอการอัพเดตข้อมูล)