นิทานเล่าตำนานสถานที่
คำสำคัญ : นครราชสีมา, บุรีรัมย์, มหาสารคาม, ยโสธร, ระนอง, ร้อยเอ็ด, สมุทรสงคราม, สุรินทร์, อุดรธานี,
ในที่นี้
เป็นข้อมูลจากฐานข้อมูลนิทานและฐานข้อมูลประเพณีจำนวน 9
รายการ บอกเล่าถึงสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ ผาแดงนางไอ่
ธาตุก่องข้าวน้อย จึงกล่าวได้ว่านิทานและตำนานเหล่านี้เป็น “นิทานประจำถิ่น”
เป็นเรื่องที่เล่าสืบทอดกันมาในท้องถิ่นต่าง
ๆ และมักเป็นเรื่องที่เชื่อกันมาว่า เคยเกิดขึ้นจริง เนื้อเรื่องมักเกี่ยวข้อง
หรือเป็นการอธิบายความเป็นมา ของสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น
ทั้งสิ่งที่มีอยู่โดยธรรมชาติ เช่น ภูเขา เกาะ หิน ลำธาร ถ้ำ ฯลฯ
และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเนื่องในศาสนา ได้แก่ เจดีย์ต่าง ๆ*
นิทานไม่เพียงให้คำอธิบายถึงความเป็นมาของท้องถิ่นเหล่านี้
แต่หลายเรื่องให้คติสอนใจ เช่น การไม่ให้ใช้บันดาลโทสะจากตำนานก่องข้าวน้อย
ที่ลูกใช้โทสะจากความเหน็ดเหนื่อยในการทำงานและเห็นก่องข้าวที่ตนคิดว่าไม่เพียงพอ
ทำให้ทำร้ายแม่ผู้ชราจนถึงแก่ชีวิต หรือการสอนไม่ให้ด่วนตัดสินคนที่การเห็นเพียงอย่างเดียวดังปรากฏในตำนานกุดนางใย
หรือเรื่องราวของความรักไม่โรยด้วยกลีบกุหลาบในเรื่องท้าวปาจิต นางอรพิณ
นิทานประจำถิ่นหลายเรื่องให้คำอธิบายเกี่ยวกับประเพณีของท้องถิ่นเช่นกัน
ตัวอย่างตำนานของถ้ำพระขยางค์กล่าวถึงเจ้าเมืองที่ผู้เรียนวิชาวิปัสสนาในยามชรา
จนผู้คนพากันเรียกว่า “พ่อตาหลวงแก้ว” วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของท่านตามความศรัทธาของชาวบ้าน
คอยปกปักคุ้มครองผู้คนที่สัญจรไปมาบริเวณเขาแหลมเนียงให้ปลอดภัยจากภัยภิบัติ จึงได้ปรากฏเป็นศาลที่มีคนแวะเวียนมาสักการะบูชา
บนบานศาลกล่าว และทุกปีในวันตรุษจีน ได้จัดงานประเพณีขึ้นถ้ำพระขยางค์
สำหรับผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติม
- นิทาน ตำนานเรื่องเล่าพื้นบ้าน
อ้างอิง
*สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
เล่มที่ 26 เรื่องที่ 1 นิทานพื้นบ้านไทย
นิทานประจำถิ่น, จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=26&chap=1&page=t26-1-infodetail05.html, เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562.