9 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เล่าเรื่องคนไทยพวน (หน้า 2)

คำสำคัญ : พวน,
9 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เล่าเรื่องคนไทยพวน (หน้า 2)

พิพิธภัณฑ์และการแสดงวิถีชีวิตของชาวไทยพวน บ้านป่าแดง จ.พิจิตร


         คนไทยพวนบ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม เคลื่อนย้ายมาจากจังหวัดลพบุรีราวร้อยปีที่แล้ว พิพิธภัณฑ์ก่อสร้างและจัดทำโดยเทศบาลตำบลหนองพยอม

         วัฒนธรรมสำคัญของคนพวนได้รับการบอกเล่าผ่านหุ่นจำลอง วิถีชีวิตคนไทยพวน ประกอบด้วย 5 ฉากสำคัญ ได้แก่

1. ฉากของหญิงทอผ้าและปั่นฝ้าย ผ้าทอในตำบลหนองพยอมนับเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญของชุมชนจนมีชื่อเสียงและเป็นที่เรียกกันติดปากว่า “ผ้าทอป่าแดง”

2.   ฉากการรักษาพื้นบ้าน ที่กล่าวถึงหมอยาต้ม หมอฝนยา หมอยาต้ม และหมอนวด ที่เคยมีบทบาทสำคัญในชุมชน

3.   ฉากการละเล่นพื้นบ้าน รูปแสดงด้วยเด็กๆ เล่นม้าก้านกล้วย เดินบนกะลา

4.   ฉากครอบครัว พ่อ แม่ และลูก นั่งสนทนากันบนแคร่

5.  ฉากร่อนเปลือกข้าว หญิงแต่งกายด้วยซิ่นและเสื้อคอกระเช้า ถือกระด้งร่อนเปลือกข้าว ใกลกันนั้นมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการทำนำ เช่น สีฝัด ไสะข้าว

ที่อยู่ ภายในเทศบาลตำบลหนองพยอม อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร 66110

คลิกอ่านรายละเอียด

 

พิพิธภัณฑ์ไทยพวน วัดมาบปลาเค้า จ.เพชรบุรี


         สิ่งหนึ่งที่บ่งบอกความเป็นลูกหลานพวน บ้านมาบปลาเค้า คือ นามสกุล ที่มักจะขึ้นต้นได้ด้วยคำว่า "คำ" เช่น คำเนตร  คำเกต  

         สิ่งของจัดแสดงส่วนใหญ่เป็นของใช้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้านที่ ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว อาทิ เครื่องใช้ในครัวเรือน อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า เครื่องแต่งกายนางรำเก่า เครื่องมือช่าง นอกจากนี้ยังมีสมบัติของวัด อาทิ ธรรมาสน์เก่า แผ่นศิลาจารึกจากโบสถ์หลังเก่าของวัด สมุดไทย
 

         ภาษาไทยพวน เป็นเอกลักษณ์หนึ่งที่ชาวบ้านพยายามรักษาไว้ พิพิธภัณฑ์ทำป้าย "ไทยพวนวันละคำ" พร้อมคำแปล ติดไว้บริเวณกำแพงติดกับถนนในหมู่บ้าน หวังว่าอย่างน้อยลูกหลานชาวไทยพวนในหมู่บ้านที่ผ่านไปผ่านมา จะสามารถจดจำคำต่าง ๆ เหล่านี้ได้บ้าง 

 

ที่อยู่ วัดมาบปลาเค้า หมู่ 3 ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี 76130

คลิกอ่านรายละเอียด

 

พิพิธภัณฑ์ไทยพวน บ้านเชียง จ.อุดรธานี


         แม้อาคารพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่อาคารใหญ่โต แต่ภายในบอกเล่าเรื่องราวความเป็นไทยพวนบ้านเชียงในมิติต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ มีบอร์ดนิทรรศหารให้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิประเทศและการตั้งถิ่นฐาน ประวัติคุ้มต่าง ๆ มีวีดิโอที่เล่าประวัติบ้านไทยพวนบ้านเชียงขนาดสั้น เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพรวม

         นำเสนอประวัติบุคคลสำคัญของชุมชนไทยพวนบ้านเชียง เล่าประวัติโรงเรียน วัดสำคัญในพื้นที่ เช่น วัดโพธิ์ศรี นำเสนอเรื่องราวงานบุญสำคัญ เช่น สงกรานต์ไทยพวน บุญเบิกบ้าน

         ภายนอกอาคาร นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิต เช่น เกวียนในอดีตใช้บรรทุกข้าว อุปกรณ์ในการทำนา กี่ทอผ้า ครัวพร้อมเครื่องประกอบอาหาร

ที่อยู่ ข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง หมู่ที่ 13 ถ.สุทธิพงษ์ ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี 41320

คลิกอ่านรายละเอียด

 

พิพิธภัณฑ์ไทยพวน บ้านผือ จ.อุดรธานี


         พ.ศ.2518 หลังจากที่พระครูพระพิทักษ์พิชคามเขต อดีตเจ้าอาวาสของวัดลุมพินีวัน บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีโอกาสเดินทางและร่วมกิจกรรมของชมรมไทยพวนแห่งประเทศไทย ณ วัดอัมรินทราราม กรุงเทพมหานคร กลายเป็นแรงผลักดันก่อให้เกิดพิพิธภัณฑ์ไทยพวน บ้านผือ

         แต่เดิมพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในวัดลุมพีนีวัน  ปัจจุบันย้ายมาตั้งชั่วคราว ภายในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี

         ดาวเด่นของพิพิธภัณฑ์เป็นเรื่องการนำเสนอความสามารถในการทอผ้าของชาวบ้าน ที่คิดค้นลวดลายขึ้นมาใหม่ ได้แก่ ลายต้นผือ และลายต้นข้าว  และยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าขาวม้า ที่เป็นผ้าทอสำคัญและเป็นผลิตภัณฑ์ของชมรมชาวไทยพวนบ้านผือ เรียกว่า “ผ้าขะม้าอีโป้มงคลเก้าสี”

ที่อยู่ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 41160

คลิกอ่านรายละเอียด

 

ที่มาข้อมูล: ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)


9 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เล่าเรื่องคนไทยพวน (หน้า 1)

9 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เล่าเรื่องคนไทยพวน (หน้า 2)

พิพิธภัณฑ์และการแสดงวิถีชีวิตของชาวไทยพวน บ้านป่าแดง จ.พิจิตร


         คนไทยพวนบ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม เคลื่อนย้ายมาจากจังหวัดลพบุรีราวร้อยปีที่แล้ว พิพิธภัณฑ์ก่อสร้างและจัดทำโดยเทศบาลตำบลหนองพยอม

         วัฒนธรรมสำคัญของคนพวนได้รับการบอกเล่าผ่านหุ่นจำลอง วิถีชีวิตคนไทยพวน ประกอบด้วย 5 ฉากสำคัญ ได้แก่

1. ฉากของหญิงทอผ้าและปั่นฝ้าย ผ้าทอในตำบลหนองพยอมนับเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญของชุมชนจนมีชื่อเสียงและเป็นที่เรียกกันติดปากว่า “ผ้าทอป่าแดง”

2.   ฉากการรักษาพื้นบ้าน ที่กล่าวถึงหมอยาต้ม หมอฝนยา หมอยาต้ม และหมอนวด ที่เคยมีบทบาทสำคัญในชุมชน

3.   ฉากการละเล่นพื้นบ้าน รูปแสดงด้วยเด็กๆ เล่นม้าก้านกล้วย เดินบนกะลา

4.   ฉากครอบครัว พ่อ แม่ และลูก นั่งสนทนากันบนแคร่

5.  ฉากร่อนเปลือกข้าว หญิงแต่งกายด้วยซิ่นและเสื้อคอกระเช้า ถือกระด้งร่อนเปลือกข้าว ใกลกันนั้นมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการทำนำ เช่น สีฝัด ไสะข้าว

ที่อยู่ ภายในเทศบาลตำบลหนองพยอม อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร 66110

คลิกอ่านรายละเอียด

 

พิพิธภัณฑ์ไทยพวน วัดมาบปลาเค้า จ.เพชรบุรี


         สิ่งหนึ่งที่บ่งบอกความเป็นลูกหลานพวน บ้านมาบปลาเค้า คือ นามสกุล ที่มักจะขึ้นต้นได้ด้วยคำว่า "คำ" เช่น คำเนตร  คำเกต  

         สิ่งของจัดแสดงส่วนใหญ่เป็นของใช้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้านที่ ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว อาทิ เครื่องใช้ในครัวเรือน อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า เครื่องแต่งกายนางรำเก่า เครื่องมือช่าง นอกจากนี้ยังมีสมบัติของวัด อาทิ ธรรมาสน์เก่า แผ่นศิลาจารึกจากโบสถ์หลังเก่าของวัด สมุดไทย
 

         ภาษาไทยพวน เป็นเอกลักษณ์หนึ่งที่ชาวบ้านพยายามรักษาไว้ พิพิธภัณฑ์ทำป้าย "ไทยพวนวันละคำ" พร้อมคำแปล ติดไว้บริเวณกำแพงติดกับถนนในหมู่บ้าน หวังว่าอย่างน้อยลูกหลานชาวไทยพวนในหมู่บ้านที่ผ่านไปผ่านมา จะสามารถจดจำคำต่าง ๆ เหล่านี้ได้บ้าง 

 

ที่อยู่ วัดมาบปลาเค้า หมู่ 3 ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี 76130

คลิกอ่านรายละเอียด

 

พิพิธภัณฑ์ไทยพวน บ้านเชียง จ.อุดรธานี


         แม้อาคารพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่อาคารใหญ่โต แต่ภายในบอกเล่าเรื่องราวความเป็นไทยพวนบ้านเชียงในมิติต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ มีบอร์ดนิทรรศหารให้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิประเทศและการตั้งถิ่นฐาน ประวัติคุ้มต่าง ๆ มีวีดิโอที่เล่าประวัติบ้านไทยพวนบ้านเชียงขนาดสั้น เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพรวม

         นำเสนอประวัติบุคคลสำคัญของชุมชนไทยพวนบ้านเชียง เล่าประวัติโรงเรียน วัดสำคัญในพื้นที่ เช่น วัดโพธิ์ศรี นำเสนอเรื่องราวงานบุญสำคัญ เช่น สงกรานต์ไทยพวน บุญเบิกบ้าน

         ภายนอกอาคาร นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิต เช่น เกวียนในอดีตใช้บรรทุกข้าว อุปกรณ์ในการทำนา กี่ทอผ้า ครัวพร้อมเครื่องประกอบอาหาร

ที่อยู่ ข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง หมู่ที่ 13 ถ.สุทธิพงษ์ ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี 41320

คลิกอ่านรายละเอียด

 

พิพิธภัณฑ์ไทยพวน บ้านผือ จ.อุดรธานี


         พ.ศ.2518 หลังจากที่พระครูพระพิทักษ์พิชคามเขต อดีตเจ้าอาวาสของวัดลุมพินีวัน บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีโอกาสเดินทางและร่วมกิจกรรมของชมรมไทยพวนแห่งประเทศไทย ณ วัดอัมรินทราราม กรุงเทพมหานคร กลายเป็นแรงผลักดันก่อให้เกิดพิพิธภัณฑ์ไทยพวน บ้านผือ

         แต่เดิมพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในวัดลุมพีนีวัน  ปัจจุบันย้ายมาตั้งชั่วคราว ภายในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี

         ดาวเด่นของพิพิธภัณฑ์เป็นเรื่องการนำเสนอความสามารถในการทอผ้าของชาวบ้าน ที่คิดค้นลวดลายขึ้นมาใหม่ ได้แก่ ลายต้นผือ และลายต้นข้าว  และยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าขาวม้า ที่เป็นผ้าทอสำคัญและเป็นผลิตภัณฑ์ของชมรมชาวไทยพวนบ้านผือ เรียกว่า “ผ้าขะม้าอีโป้มงคลเก้าสี”

ที่อยู่ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 41160

คลิกอ่านรายละเอียด

 

ที่มาข้อมูล: ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)


9 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เล่าเรื่องคนไทยพวน (หน้า 1)