9 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เล่าเรื่องคนไทยพวน

คำสำคัญ : พวน,
9 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เล่าเรื่องคนไทยพวน

·      พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยมีกว่า 1,548แห่ง เฉพาะพิพิธภัณฑ์ที่เล่าเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์มีกว่า 105 แห่งทั่วประเทศไทย

·      ไทยมีกลุ่มชาติพันธ์อยู่อย่างน้อย 72 กลุ่ม   คน “พวน” หรือ “ไทยพวน” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเชียงขวาง ประเทศ สปป.ลาว  เมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว

·      พิพิธภัณฑ์ที่เล่าเรื่องวัฒนธรรมของคนไทยพวน ตั้งอยู่ในหลายจังหวัด ตามถิ่นฐานที่อยู่ สมัยที่อพยพเข้ามาตั้งรกราก

         “คนไทย” ไม่ได้มีชาติพันธุ์เดียว หากแต่ประกอบไปด้วยคนหลากเชื้อชาติหลากเผ่าพันธุ์  หลายกลุ่มมีประวัติศาสตร์ที่มาที่ไปมาหลายชั่วอายุคน  ฐานข้อมูลงานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร  ให้ข้อมูลว่าไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่อย่างน้อย 72 กลุ่ม !

         หนึ่งในนั้นคือคน “พวน”

         คน “พวน” หรือคน “ไทยพวน” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเชียงขวาง ประเทศ สปป.ลาว  คนพวนอพยพเข้ามาไทยหลายระลอก ตั้งแต่ 200 กว่าปีที่แล้ว  คือสมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5  ตั้งรกรากในหลายพื้นที่ อาทิ นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี สระบุรี ฯลฯ

         วิถีวัฒนธรรมของคนไทยพวน ทั้งภาษาพวนที่ยังพูดกันอยู่  อาหารน่าอร่อย อย่างแกงจานน้ำเสอ หลามมะเขือ  ประเพณีกำฟ้า  การละเล่นผีนางกวัก ฯลฯ  ยังสืบสานและธำรงได้อย่างดี แม้เวลาจะล่วงเลยเป็นร้อยปี  

         อยากชวนทุกคนมาเดินชม  แม้พิพิธภัณฑ์ไม่ได้ดูว้าว! แต่รับรองว่า ถ้าได้พูดคุยกับเจ้าของวัฒนธรรม การไปพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

         มาเรียนรู้วิถีชีวิตและความเป็นมาของคนไทยพวน ที่จะทำให้เราเข้าใจว่า วัฒนธรรมไทยไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดฝั่งคลอง จ.นครนายก


         วัดฝั่งคลองตั้งอยู่ริมถนนสายนครนายก-ปราจีนบรี เดิมเรียกกันว่า "วัดฮิมคลอง" เป็นสำเนียงไทยพวน เพราะตั้งอยู่ริมคลองท่าแดง

         ห้องจัดแสดงชั้นล่างเป็นห้องโถงยาว ด้านหนึ่งจำลอง“เฮือนไทยพวน” และเครื่องใช้ไม้สอยภายในครัวเรือน ชั้นบน แบ่งเป็นห้องๆ เล่าเรื่องเมืองนครนายกและอำเภอปากพลี บุคคลสำคัญในชุมชน ประเพณีความเชื่อ เช่น บายศรีสู่ขวัญ ลำพวน การเข้าผีนางด้ง ภูมิปัญญา ภาษาและพิธีกรรม

         เป็นความภาคภูมิใจของพิพิธภัณฑ์ เมื่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2550

         พิพิธภัณฑ์มีบริการ one day trip สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมชาวไทยพวน มีทั้งเวิร์คชอป ชิมอาหารอร่อยไทยพวน พาไปชมสถานที่น่าสนใจในชุมชน แต่ต้องติดต่อล่วงหน้า

ที่อยู่ วัดฝั่งคลอง หมู่ 4 ต.เกาะหวาย อ.ปากพลี จ.นครนายก 26130

คลิกอ่านรายละเอียด

 

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทยพวน วัดกุฎีทอง จ.ลพบุรี


         ความน่าสนใจมีตั้งแต่ อาคารจัดแสดงที่เป็นอาคารเรียนหลังแรกของชุมชน  อายุกว่า 100 ปี ในนามโรงเรียนประชาบาลวัดกุฎีทอง ก่อตั้งโดยหลวงพ่อนาค วรคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดกุฎีทอง เป็นพระสงฆ์ที่ชาวบ้านศรัทธาเคารพนับถือมาก

         the must ที่ต้องชมอย่างน้อย 2 แห่งภายในชุมชน นอกเหนือการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แล้ว  คือ  บ้านเกิดอาจารย์ประหยัด พงษ์ดำ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศศิลป์  อาจารย์มีเชื้อสายคนพวน และชมเรือนไทยพวนรูปแบบดั้งเดิม หาดูได้ยากแล้ว เหลืออยู่เพียง 2 หลังในชุมชน 

         ชุมชนมีความภาคภูมิใจที่จะนำเสนอเอกลักษณ์ด้านอาหารพื้นถิ่นในหลายเมนู อาทิ แกงจานน้ำเสอ แกงแค แจ่วซู่ลู่(ลาบปลา) หลามมะเขือ

ที่อยู่ วัดกุฎีทอง หมู่ 3 ต.บางน้ำเชี่ยว อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี 16120

คลิกอ่านรายละเอียด

 

พิพิธภัณฑ์ไทยพวน บ้านทราย จ.ลพบุรี


         อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ถือได้ว่ามีชาวไทยพวนอาศัยอยู่มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ

         ภายในพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เป็นสิ่งบ่งบอกถึงวัฒนธรรมของชาวไทยพวนบ้านทราย อาทิเช่น เครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ในครัวเรือน  การจำลองกวงเฮือน(ห้องนอน)  การทำผ้าทอมัดหมี่   การละเล่นนางกวัก  เครื่องแต่งกายดั้งเดิมของชาวไทยพวน  

         นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงวัตถุสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากแหล่งโบราณคดีวัดจันเสน  และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ซึ่งที่บ้านเชียงนี้ชาวพวนบ้านทรายถือว่าเป็นพี่น้องชาวพวนด้วยกัน

ที่อยู่ วัดบ้านทราย หมู่ 2 ต.บ้านทราย อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี 15110

คลิกอ่านรายละเอียด

 

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน บ้านดงกระทงยาม จ.ปราจีนบุรี


         พิพิธภัณฑ์มีที่มาจากการรวมตัวของชาวบ้านในงานประเพณีเผาข้าวหลาม ขึ้น15 ค่ำ เดือน 3 ในช่วงทศวรรษ 2540  หลังจบงานจึงรวบรวมข้าวของบริจาคจากชุมชน ได้เรือนไม้เดิมที่เคยเป็นบ้านชาวไทยพวนที่รื้อมาถวายวัด และกระเบื้องมุงหลังคาโบสถ์หลังเก่า ก่อสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เป็นสัญลักษณ์การร่วมแรงร่วมใจของวัดและชุมชน

         จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ท้องถิ่น  อาทิ เครื่องมือทำการเกษตร เครื่องมือดักจับสัตว์น้ำ ที่แสดงถึงวิถีชีวิตชาวบ้านที่สัมพันธ์กับสภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูน้ำหลาก

         โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ คือ พระพุทธรูปและฆ้องสำริด ที่เล่าสืบกันมาว่าได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์พร้อมการอพยพลงมาอยู่ที่บ้านดงกระทงยาม  คัมภีร์ใบลานที่เป็นเรื่องทางพุทธศาสนาและตำรายาโบราณ  จารด้วยอักษรธรรม

ที่อยู่ วัดบ้านใหม่ดงกระทงยาม ต.ดงกระทงยาม อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี 25140

คลิกอ่านรายละเอียด


พิพิธภัณฑ์ไทยพวน บ้านหัวกระสังข์ จ.ฉะเชิงเทรา


         ภายในพิพิธภัณฑ์ไม่ได้เล่าเรื่องราวเฉพาะ แต่มีลักษณะเป็นการจัดเก็บเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ได้แก่ หมวดเครื่องจักสาน  อุปกรณ์ช่างไม้ เครื่องปั้นดินเผา  เครื่องถ้วย

         วัสดุต่าง ๆ ได้รับการปิดป้ายแสดงชื่อเรียกวัตถุ ทั้งภาษาไทยกลางและคำที่แสดงการออกเสียงเป็นภาษาพวน เช่น ตะกร้าใหญ่ หรือ “กะซะ” สำหรับใช้ใส่ของเมื่อออกไปทำนา  พลั่วสาดข้าวหรือ “กาบสะเค่า” ใช้สำหรับสาดข้าวให้ฝุ่นละอองปลิวออกไป หลังจากการนวดข้าว

         แม้ชื่อจะบอกว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ แต่อีกหน้าที่สำคัญของอาคารจัดแสดง คือเป็นสถานที่ประกอบพิธีล้อมบ้านในเดือน 6  พิธีกรรมสำคัญที่สืบทอดต่อกันมาไม่ขาดสายของชุมชน  เป็นการขับไล่สิ่งที่ไม่ดีออกไปจากหมู่บ้าน หรือเรียกว่า การทำบุญกลางบ้าน

ที่อยู่ เทศบาลตำบลบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา 24120

คลิกอ่านรายละเอียด


 ที่มาข้อมูล: ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)


9 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เล่าเรื่องคนไทยพวน (หน้า 2)

9 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เล่าเรื่องคนไทยพวน

·      พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยมีกว่า 1,548แห่ง เฉพาะพิพิธภัณฑ์ที่เล่าเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์มีกว่า 105 แห่งทั่วประเทศไทย

·      ไทยมีกลุ่มชาติพันธ์อยู่อย่างน้อย 72 กลุ่ม   คน “พวน” หรือ “ไทยพวน” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเชียงขวาง ประเทศ สปป.ลาว  เมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว

·      พิพิธภัณฑ์ที่เล่าเรื่องวัฒนธรรมของคนไทยพวน ตั้งอยู่ในหลายจังหวัด ตามถิ่นฐานที่อยู่ สมัยที่อพยพเข้ามาตั้งรกราก

         “คนไทย” ไม่ได้มีชาติพันธุ์เดียว หากแต่ประกอบไปด้วยคนหลากเชื้อชาติหลากเผ่าพันธุ์  หลายกลุ่มมีประวัติศาสตร์ที่มาที่ไปมาหลายชั่วอายุคน  ฐานข้อมูลงานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร  ให้ข้อมูลว่าไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่อย่างน้อย 72 กลุ่ม !

         หนึ่งในนั้นคือคน “พวน”

         คน “พวน” หรือคน “ไทยพวน” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเชียงขวาง ประเทศ สปป.ลาว  คนพวนอพยพเข้ามาไทยหลายระลอก ตั้งแต่ 200 กว่าปีที่แล้ว  คือสมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5  ตั้งรกรากในหลายพื้นที่ อาทิ นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี สระบุรี ฯลฯ

         วิถีวัฒนธรรมของคนไทยพวน ทั้งภาษาพวนที่ยังพูดกันอยู่  อาหารน่าอร่อย อย่างแกงจานน้ำเสอ หลามมะเขือ  ประเพณีกำฟ้า  การละเล่นผีนางกวัก ฯลฯ  ยังสืบสานและธำรงได้อย่างดี แม้เวลาจะล่วงเลยเป็นร้อยปี  

         อยากชวนทุกคนมาเดินชม  แม้พิพิธภัณฑ์ไม่ได้ดูว้าว! แต่รับรองว่า ถ้าได้พูดคุยกับเจ้าของวัฒนธรรม การไปพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

         มาเรียนรู้วิถีชีวิตและความเป็นมาของคนไทยพวน ที่จะทำให้เราเข้าใจว่า วัฒนธรรมไทยไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดฝั่งคลอง จ.นครนายก


         วัดฝั่งคลองตั้งอยู่ริมถนนสายนครนายก-ปราจีนบรี เดิมเรียกกันว่า "วัดฮิมคลอง" เป็นสำเนียงไทยพวน เพราะตั้งอยู่ริมคลองท่าแดง

         ห้องจัดแสดงชั้นล่างเป็นห้องโถงยาว ด้านหนึ่งจำลอง“เฮือนไทยพวน” และเครื่องใช้ไม้สอยภายในครัวเรือน ชั้นบน แบ่งเป็นห้องๆ เล่าเรื่องเมืองนครนายกและอำเภอปากพลี บุคคลสำคัญในชุมชน ประเพณีความเชื่อ เช่น บายศรีสู่ขวัญ ลำพวน การเข้าผีนางด้ง ภูมิปัญญา ภาษาและพิธีกรรม

         เป็นความภาคภูมิใจของพิพิธภัณฑ์ เมื่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2550

         พิพิธภัณฑ์มีบริการ one day trip สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมชาวไทยพวน มีทั้งเวิร์คชอป ชิมอาหารอร่อยไทยพวน พาไปชมสถานที่น่าสนใจในชุมชน แต่ต้องติดต่อล่วงหน้า

ที่อยู่ วัดฝั่งคลอง หมู่ 4 ต.เกาะหวาย อ.ปากพลี จ.นครนายก 26130

คลิกอ่านรายละเอียด

 

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทยพวน วัดกุฎีทอง จ.ลพบุรี


         ความน่าสนใจมีตั้งแต่ อาคารจัดแสดงที่เป็นอาคารเรียนหลังแรกของชุมชน  อายุกว่า 100 ปี ในนามโรงเรียนประชาบาลวัดกุฎีทอง ก่อตั้งโดยหลวงพ่อนาค วรคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดกุฎีทอง เป็นพระสงฆ์ที่ชาวบ้านศรัทธาเคารพนับถือมาก

         the must ที่ต้องชมอย่างน้อย 2 แห่งภายในชุมชน นอกเหนือการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แล้ว  คือ  บ้านเกิดอาจารย์ประหยัด พงษ์ดำ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศศิลป์  อาจารย์มีเชื้อสายคนพวน และชมเรือนไทยพวนรูปแบบดั้งเดิม หาดูได้ยากแล้ว เหลืออยู่เพียง 2 หลังในชุมชน 

         ชุมชนมีความภาคภูมิใจที่จะนำเสนอเอกลักษณ์ด้านอาหารพื้นถิ่นในหลายเมนู อาทิ แกงจานน้ำเสอ แกงแค แจ่วซู่ลู่(ลาบปลา) หลามมะเขือ

ที่อยู่ วัดกุฎีทอง หมู่ 3 ต.บางน้ำเชี่ยว อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี 16120

คลิกอ่านรายละเอียด

 

พิพิธภัณฑ์ไทยพวน บ้านทราย จ.ลพบุรี


         อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ถือได้ว่ามีชาวไทยพวนอาศัยอยู่มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ

         ภายในพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เป็นสิ่งบ่งบอกถึงวัฒนธรรมของชาวไทยพวนบ้านทราย อาทิเช่น เครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ในครัวเรือน  การจำลองกวงเฮือน(ห้องนอน)  การทำผ้าทอมัดหมี่   การละเล่นนางกวัก  เครื่องแต่งกายดั้งเดิมของชาวไทยพวน  

         นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงวัตถุสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากแหล่งโบราณคดีวัดจันเสน  และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ซึ่งที่บ้านเชียงนี้ชาวพวนบ้านทรายถือว่าเป็นพี่น้องชาวพวนด้วยกัน

ที่อยู่ วัดบ้านทราย หมู่ 2 ต.บ้านทราย อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี 15110

คลิกอ่านรายละเอียด

 

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน บ้านดงกระทงยาม จ.ปราจีนบุรี


         พิพิธภัณฑ์มีที่มาจากการรวมตัวของชาวบ้านในงานประเพณีเผาข้าวหลาม ขึ้น15 ค่ำ เดือน 3 ในช่วงทศวรรษ 2540  หลังจบงานจึงรวบรวมข้าวของบริจาคจากชุมชน ได้เรือนไม้เดิมที่เคยเป็นบ้านชาวไทยพวนที่รื้อมาถวายวัด และกระเบื้องมุงหลังคาโบสถ์หลังเก่า ก่อสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เป็นสัญลักษณ์การร่วมแรงร่วมใจของวัดและชุมชน

         จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ท้องถิ่น  อาทิ เครื่องมือทำการเกษตร เครื่องมือดักจับสัตว์น้ำ ที่แสดงถึงวิถีชีวิตชาวบ้านที่สัมพันธ์กับสภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูน้ำหลาก

         โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ คือ พระพุทธรูปและฆ้องสำริด ที่เล่าสืบกันมาว่าได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์พร้อมการอพยพลงมาอยู่ที่บ้านดงกระทงยาม  คัมภีร์ใบลานที่เป็นเรื่องทางพุทธศาสนาและตำรายาโบราณ  จารด้วยอักษรธรรม

ที่อยู่ วัดบ้านใหม่ดงกระทงยาม ต.ดงกระทงยาม อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี 25140

คลิกอ่านรายละเอียด


พิพิธภัณฑ์ไทยพวน บ้านหัวกระสังข์ จ.ฉะเชิงเทรา


         ภายในพิพิธภัณฑ์ไม่ได้เล่าเรื่องราวเฉพาะ แต่มีลักษณะเป็นการจัดเก็บเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ได้แก่ หมวดเครื่องจักสาน  อุปกรณ์ช่างไม้ เครื่องปั้นดินเผา  เครื่องถ้วย

         วัสดุต่าง ๆ ได้รับการปิดป้ายแสดงชื่อเรียกวัตถุ ทั้งภาษาไทยกลางและคำที่แสดงการออกเสียงเป็นภาษาพวน เช่น ตะกร้าใหญ่ หรือ “กะซะ” สำหรับใช้ใส่ของเมื่อออกไปทำนา  พลั่วสาดข้าวหรือ “กาบสะเค่า” ใช้สำหรับสาดข้าวให้ฝุ่นละอองปลิวออกไป หลังจากการนวดข้าว

         แม้ชื่อจะบอกว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ แต่อีกหน้าที่สำคัญของอาคารจัดแสดง คือเป็นสถานที่ประกอบพิธีล้อมบ้านในเดือน 6  พิธีกรรมสำคัญที่สืบทอดต่อกันมาไม่ขาดสายของชุมชน  เป็นการขับไล่สิ่งที่ไม่ดีออกไปจากหมู่บ้าน หรือเรียกว่า การทำบุญกลางบ้าน

ที่อยู่ เทศบาลตำบลบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา 24120

คลิกอ่านรายละเอียด


 ที่มาข้อมูล: ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)


9 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เล่าเรื่องคนไทยพวน (หน้า 2)