แนะนำหนังสือ Muslims in Singapore: piety, politics and policies ของ Kamaludeen Mohamed Nasir, Alexius A. Pereira and Bryan S. Turner
คำสำคัญ : ศาสนา,สิงคโปร์,
ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ความเชื่อและความศรัทธาของคนมุสลิม-มาเลย์และผลกระทบต่อความสมานฉันท์จุดให้รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญ
รวมถึงเหตุการณ์การโจมตี 9/11
และผลพวงภายหลังเหตุการณ์ในสหรัฐยิ่งตอกย้ำถึงประเด็นปัญหาดังกล่าวในสังคมสิงคโปร์
สังคมที่พยายามโอบอุ้มความแตกต่างทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติให้ดำรงอยู่ในความเป็นพลเมืองเดียวกัน
ด้วยประเด็นของคำสอนทางศาสนาเกี่ยวกับการแต่งกาย อาหารฮาลาล
ความผูกพันของชุมชนด้วยการตอกน้ำถึงการศึกษาทางศาสนาและมิติอื่น ๆ
ที่ลดทอดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมใหญ่ในพื้นที่สาธารณะ แต่ขณะเดียวกัน
รัฐคงให้ความสำคัญกับสำนึกเชื้อชาติและศาสนาที่ปรากฏในนโยบายแห่งชาติกลับส่งผลให้เกิดสังคมที่แบ่งกลุ่ม
(enclaving society) อยู่เนื่อง ๆ
เมื่อพิจารณาสภาพการณ์ของสังคมสิงคโปร์
หนังสือเรื่อง “มุสลิมในสิงคโปร์: ศรัทธา, การเมือง
และนโยบาย” จึงมุ่งหมายในการสร้างความเข้าใจชีวิตประจำวันของมุสลิมในบริบทสังคมใหญ่ไว้ในเบื้องแรก
ผู้เขียนให้ความสำคัญทั้งมิติทางประวัติศาสตร์และสังคมของชุมชนมุสลิม-มาเลย์ในรัฐชาติสิงคโปร์
เพื่อกรุยทางสู่การทำความเข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ของคนมุสลิม-มาเลย์ในสิงคโปร์ร่วมสมัย
นโยบายของรัฐบาลในการจัดการความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนาปรากฏอย่างชัดเจน
เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบของสังคมพหุลักษณ์วัฒนธรรมแบบ “บริหารจัดการและแทรกแซง” (technocratic
and interventionist model) ย่อมก่อให้เกิดข้อขัดแย้งทางสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สังคมแบ่งกลุ่มนั้นก่อเกิดจากนโยบายของพรรครัฐบาลเองที่พยายามจัดวางชีวิตทางศาสนาของผู้คน
โดยอาศัยรัฐบัญญัติ คณะกรรมการ และการผลิตซ้ำภาพเชิงลบของกลุ่มคนมุสลิม
ทั้งหมดนี้กลายเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิด “ระยะห่างทางสังคม” (social
distancing)
รูปแบบของการแทรกแซงดังกล่าวมีความใกล้เคียงกับแนวทางการแบ่งแยกและปกครองกลุ่มคนหลากหลายในสมัยอาณานิคม
สถาบันหลักในชุมชนมุสลิมสิงคโปร์สถาปนาอำนาจในการเฝ้าติดตามและส่งผลต่อศรัทธาและรูปแบบการปฏิบัติของศาสนิกชนในระดับปัจเจกบุคคล
“การปฏิบัติที่กำกับความใกล้ชิด” (rituals of intimacy) และ
“สิ่งที่แสดงศรัทธา” (the practice of piety)
นำมาสู่ขอบเขตระหว่างคนในกับคนนอก หรือ ศานิกชนกับคนต่างความเชื่ออย่างชัดเจน
เนื้อหาในส่วนที่สองจึงเน้นการอภิปรายชีวิตประจำวันโดยอาศัยข้อมูลจากการทำงานภาคสนามใน
3 ด้าน ได้แก่ makan (การกิน),
pendidikan (การศึกษา) และ jasad
(ร่างกาย) เรียกได้ว่าลงลึกถึงรายละเอียดของลักษณะและแบบแผนปฏิสัมพันธ์และปฏิกิริยาในทั้ง
3 ด้าน เพราะต่างเป็นพื้นที่ทางสังคมท่ามกลางสมาชิกกลุ่มมุสลิม-มาเลย์ด้วยกันเอง และกับคนต่างศาสนา รวมถึงความสัมพันธ์กับรัฐ
ในบทที่ 4 พิจารณาถึงขนบการกินและการบริโภค
โดยเฉพาะการพิจารณาถึงการรับรองอาหารฮาลาล
ซึ่งคลี่ให้เห็นการดำเนินการในระดับนโยบายที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้นับถือและปฏิบัติ
จากนั้น อาศัยข้อมูลการสัมภาษณ์ของกลุ่มคนต่างพื้นเพ เพศ และวัย และเผยให้เห็นการดำเนินชีวิตประจำวันในการหลีกเลี่ยง
“การแปดเปื้อน” ในหลายสถานการณ์ สมาชิกชุมชนมุสลิมสร้าง “บริเวณฮาลาล”
ในสถานการณืที่แตกต่างกัน
โดยสะท้อนให้เห็นพลังและการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ของตนด้วยการจัดสรรบางอย่างเพื่ออยู่ร่วมกับคนอื่น
ๆ
ในส่วนการศึกษา อาศัยข้อมูลของผู้ปกครองในการเลือกที่จะส่งลูกหลานไปเรียนในโรงเรียนทางศาสนาหรือโรงเรียนของรัฐ
ข้อมูลจำนวนหนึ่งชี้ให้เห็นว่า
มุสลิมผู้ปฏิบัติเลือกส่งลูกหลานไปยังโรงเรียนทางศาสนา
ด้วยความเชื่อมั่นของการปฏิบัติ เช่น การแต่งกาย ที่เหมาะสมกับการเป็นมุสลิมที่ดี แต่ในอีกทางหนึ่ง
มุสลิมบางส่วนเลือกส่งลูกหลานไปยังโรงเรียนรัฐเพื่อส่งเสริมการศึกษาที่เหมาะสมกับโลกในวันข้างหน้าของลูกหลาน
อย่างไรก็ดี Noor Aisha วิพากษ์ถึงการเลือกตัวอย่างประชากร
มุสลิมผู้ปฏิบัติที่อาศัยการประเมินของผู้ให้ข้อมูลและนำมาเชื่อมโยงการการส่งลูกหลานไปยังโรงเรียนสอนศาสนานั้น
เป็นปัญหาในตัวเอง
เพราะมุสลิมผู้ปฏิบัติแต่เลือกส่งลูกหลานไปยังโรงเรียนของรัฐย่อมมีด้วยเช่นกัน
ในบทสุดท้าย
ผู้เขียนกล่าวถึงการจัดการร่างกายด้วยการใส่ผ้าคลุมศีรษะและการเลือกความสัมพันธ์ในการครองคู่
นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งกับสมมติฐานทั่วไปที่มักกล่าวกันว่าการสวมฮิญาบเป็นรูปแบบของการจำกัดตนเองจากโลกสาธารณะ
แต่ข้อมูลสนามจำนวนหนึ่งชี้ให้เห็นถึงการสอบผ้าคลุมศีรษะได้สร้างพลังให้กับเธอในการต่อรองในการดำเนินชีวิตมากกว่าจะเป็นการเบียดบังร่างกายของเธอจาก
“ความแปดเปื้อน”
กล่าวได้ว่า ฮิญาบไม่ใช่อุปสรรคการดำเนินชีวิตประจำวันในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม
ไม่เป็นปัญหาในการสร้างระยะห่างทางสังคม
แต่สำหรับการแต่งงานแล้ว
ศาสนาอิสลามเป็นเงื่อนไขสำคัญมากกว่าเพื่อการรักษาความบริสุทธิ์ทางศาสนา แม้จะพบเห็นการแต่งงานข้ามเชื้อชาติและศาสนาเกิดขึ้นอยู่เนื่อง
ๆ แต่เป็นไปในจำนวนไม่มากนัก
สำหรับ Syed Muhd Khairudin Aljunied เห็นว่างานชิ้นนี้เป็นก้าวย่างสำคัญของการศึกษามุสลิมในสังคมร่วมสมัยของสิงคโปร์ แม้จะมีประเด็นของการบรรณาธิกรณ์ที่อ้างซ้ำข้อมูลที่ไม่จำเป็นในบางบทตอน แต่โดยภาพรวมแล้ว การเลือกใช้กรอบทางทฤษฎีในการศึกษาชนส่วนน้อยชาวมุสลิมในบริบทใหญ่ เพื่อวิเคราะห์ถึงผลกระทบของความทันสมัยต่อชุมชนทางศาสนาที่เติบโตอย่างรวดเร็วในโลกทุกวันนี้ นับได้ว่าเป็นงานที่มีความน่าสนใจ ในทางตรงข้าม Noor Aisha ชี้ให้เห็นว่า ผู้เขียนมองข้ามมิติทางสังคมวิทยาศาสนา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งความหลากหลายของกลุ่มทางสังคมที่มีต่อศาสนาและศรัทธาเดียวกัน แต่แต่ละกลุ่มสังคมสร้างความเข้าใจและประสบการณ์ที่แตกต่างกันอย่างไร เพื่อทำให้ภาพความเข้าใจถึงความซับซ้อนในชีวิตทางศาสนาของมุสลิมมีความชัดเจนมากขึ้น มากกว่าสมมติฐานกระแสหลักที่ตอกน้ำถึงความเป็นศาสนา(religiosity) ของมุสลิมได้สร้างเงื่อนไขของการสร้างระยะห่างทางสังคมอย่างไร และกลายเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและแรงตึงระหว่างกลุ่มสังคมที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน
สำหรับผู้ที่สนใจงานวิเคราะห์หนังสือ
โปรดอ่านบทสังเคราะห์ดังกล่าวในฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ เรื่อง Muslimsin Singapore: piety, politics and policies
หรือสามารถยืมหนังสือต้นฉบับได้ที่ ห้องสมุด ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)
อ้างอิง
Aisha, Noor (2012) Reviewed Work(s): Muslims in Singapore: Piety, Politics and Policies by Kamaludeen Mohamed Nasir, Alexius Pereira and Bryan S. Turner, Asian Journal of Social Science, Vol. 40, No. 1, Special Focus: Trade and Finance in the Malay World:

ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ความเชื่อและความศรัทธาของคนมุสลิม-มาเลย์และผลกระทบต่อความสมานฉันท์จุดให้รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญ
รวมถึงเหตุการณ์การโจมตี 9/11
และผลพวงภายหลังเหตุการณ์ในสหรัฐยิ่งตอกย้ำถึงประเด็นปัญหาดังกล่าวในสังคมสิงคโปร์
สังคมที่พยายามโอบอุ้มความแตกต่างทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติให้ดำรงอยู่ในความเป็นพลเมืองเดียวกัน
ด้วยประเด็นของคำสอนทางศาสนาเกี่ยวกับการแต่งกาย อาหารฮาลาล
ความผูกพันของชุมชนด้วยการตอกน้ำถึงการศึกษาทางศาสนาและมิติอื่น ๆ
ที่ลดทอดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมใหญ่ในพื้นที่สาธารณะ แต่ขณะเดียวกัน
รัฐคงให้ความสำคัญกับสำนึกเชื้อชาติและศาสนาที่ปรากฏในนโยบายแห่งชาติกลับส่งผลให้เกิดสังคมที่แบ่งกลุ่ม
(enclaving society) อยู่เนื่อง ๆ
เมื่อพิจารณาสภาพการณ์ของสังคมสิงคโปร์
หนังสือเรื่อง “มุสลิมในสิงคโปร์: ศรัทธา, การเมือง
และนโยบาย” จึงมุ่งหมายในการสร้างความเข้าใจชีวิตประจำวันของมุสลิมในบริบทสังคมใหญ่ไว้ในเบื้องแรก
ผู้เขียนให้ความสำคัญทั้งมิติทางประวัติศาสตร์และสังคมของชุมชนมุสลิม-มาเลย์ในรัฐชาติสิงคโปร์
เพื่อกรุยทางสู่การทำความเข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ของคนมุสลิม-มาเลย์ในสิงคโปร์ร่วมสมัย
นโยบายของรัฐบาลในการจัดการความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนาปรากฏอย่างชัดเจน
เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบของสังคมพหุลักษณ์วัฒนธรรมแบบ “บริหารจัดการและแทรกแซง” (technocratic
and interventionist model) ย่อมก่อให้เกิดข้อขัดแย้งทางสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สังคมแบ่งกลุ่มนั้นก่อเกิดจากนโยบายของพรรครัฐบาลเองที่พยายามจัดวางชีวิตทางศาสนาของผู้คน
โดยอาศัยรัฐบัญญัติ คณะกรรมการ และการผลิตซ้ำภาพเชิงลบของกลุ่มคนมุสลิม
ทั้งหมดนี้กลายเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิด “ระยะห่างทางสังคม” (social
distancing)
รูปแบบของการแทรกแซงดังกล่าวมีความใกล้เคียงกับแนวทางการแบ่งแยกและปกครองกลุ่มคนหลากหลายในสมัยอาณานิคม
สถาบันหลักในชุมชนมุสลิมสิงคโปร์สถาปนาอำนาจในการเฝ้าติดตามและส่งผลต่อศรัทธาและรูปแบบการปฏิบัติของศาสนิกชนในระดับปัจเจกบุคคล
“การปฏิบัติที่กำกับความใกล้ชิด” (rituals of intimacy) และ
“สิ่งที่แสดงศรัทธา” (the practice of piety)
นำมาสู่ขอบเขตระหว่างคนในกับคนนอก หรือ ศานิกชนกับคนต่างความเชื่ออย่างชัดเจน
เนื้อหาในส่วนที่สองจึงเน้นการอภิปรายชีวิตประจำวันโดยอาศัยข้อมูลจากการทำงานภาคสนามใน
3 ด้าน ได้แก่ makan (การกิน),
pendidikan (การศึกษา) และ jasad
(ร่างกาย) เรียกได้ว่าลงลึกถึงรายละเอียดของลักษณะและแบบแผนปฏิสัมพันธ์และปฏิกิริยาในทั้ง
3 ด้าน เพราะต่างเป็นพื้นที่ทางสังคมท่ามกลางสมาชิกกลุ่มมุสลิม-มาเลย์ด้วยกันเอง และกับคนต่างศาสนา รวมถึงความสัมพันธ์กับรัฐ
ในบทที่ 4 พิจารณาถึงขนบการกินและการบริโภค
โดยเฉพาะการพิจารณาถึงการรับรองอาหารฮาลาล
ซึ่งคลี่ให้เห็นการดำเนินการในระดับนโยบายที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้นับถือและปฏิบัติ
จากนั้น อาศัยข้อมูลการสัมภาษณ์ของกลุ่มคนต่างพื้นเพ เพศ และวัย และเผยให้เห็นการดำเนินชีวิตประจำวันในการหลีกเลี่ยง
“การแปดเปื้อน” ในหลายสถานการณ์ สมาชิกชุมชนมุสลิมสร้าง “บริเวณฮาลาล”
ในสถานการณืที่แตกต่างกัน
โดยสะท้อนให้เห็นพลังและการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ของตนด้วยการจัดสรรบางอย่างเพื่ออยู่ร่วมกับคนอื่น
ๆ
ในส่วนการศึกษา อาศัยข้อมูลของผู้ปกครองในการเลือกที่จะส่งลูกหลานไปเรียนในโรงเรียนทางศาสนาหรือโรงเรียนของรัฐ
ข้อมูลจำนวนหนึ่งชี้ให้เห็นว่า
มุสลิมผู้ปฏิบัติเลือกส่งลูกหลานไปยังโรงเรียนทางศาสนา
ด้วยความเชื่อมั่นของการปฏิบัติ เช่น การแต่งกาย ที่เหมาะสมกับการเป็นมุสลิมที่ดี แต่ในอีกทางหนึ่ง
มุสลิมบางส่วนเลือกส่งลูกหลานไปยังโรงเรียนรัฐเพื่อส่งเสริมการศึกษาที่เหมาะสมกับโลกในวันข้างหน้าของลูกหลาน
อย่างไรก็ดี Noor Aisha วิพากษ์ถึงการเลือกตัวอย่างประชากร
มุสลิมผู้ปฏิบัติที่อาศัยการประเมินของผู้ให้ข้อมูลและนำมาเชื่อมโยงการการส่งลูกหลานไปยังโรงเรียนสอนศาสนานั้น
เป็นปัญหาในตัวเอง
เพราะมุสลิมผู้ปฏิบัติแต่เลือกส่งลูกหลานไปยังโรงเรียนของรัฐย่อมมีด้วยเช่นกัน
ในบทสุดท้าย
ผู้เขียนกล่าวถึงการจัดการร่างกายด้วยการใส่ผ้าคลุมศีรษะและการเลือกความสัมพันธ์ในการครองคู่
นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งกับสมมติฐานทั่วไปที่มักกล่าวกันว่าการสวมฮิญาบเป็นรูปแบบของการจำกัดตนเองจากโลกสาธารณะ
แต่ข้อมูลสนามจำนวนหนึ่งชี้ให้เห็นถึงการสอบผ้าคลุมศีรษะได้สร้างพลังให้กับเธอในการต่อรองในการดำเนินชีวิตมากกว่าจะเป็นการเบียดบังร่างกายของเธอจาก
“ความแปดเปื้อน”
กล่าวได้ว่า ฮิญาบไม่ใช่อุปสรรคการดำเนินชีวิตประจำวันในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม
ไม่เป็นปัญหาในการสร้างระยะห่างทางสังคม
แต่สำหรับการแต่งงานแล้ว
ศาสนาอิสลามเป็นเงื่อนไขสำคัญมากกว่าเพื่อการรักษาความบริสุทธิ์ทางศาสนา แม้จะพบเห็นการแต่งงานข้ามเชื้อชาติและศาสนาเกิดขึ้นอยู่เนื่อง
ๆ แต่เป็นไปในจำนวนไม่มากนัก
สำหรับ Syed Muhd Khairudin Aljunied เห็นว่างานชิ้นนี้เป็นก้าวย่างสำคัญของการศึกษามุสลิมในสังคมร่วมสมัยของสิงคโปร์ แม้จะมีประเด็นของการบรรณาธิกรณ์ที่อ้างซ้ำข้อมูลที่ไม่จำเป็นในบางบทตอน แต่โดยภาพรวมแล้ว การเลือกใช้กรอบทางทฤษฎีในการศึกษาชนส่วนน้อยชาวมุสลิมในบริบทใหญ่ เพื่อวิเคราะห์ถึงผลกระทบของความทันสมัยต่อชุมชนทางศาสนาที่เติบโตอย่างรวดเร็วในโลกทุกวันนี้ นับได้ว่าเป็นงานที่มีความน่าสนใจ ในทางตรงข้าม Noor Aisha ชี้ให้เห็นว่า ผู้เขียนมองข้ามมิติทางสังคมวิทยาศาสนา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งความหลากหลายของกลุ่มทางสังคมที่มีต่อศาสนาและศรัทธาเดียวกัน แต่แต่ละกลุ่มสังคมสร้างความเข้าใจและประสบการณ์ที่แตกต่างกันอย่างไร เพื่อทำให้ภาพความเข้าใจถึงความซับซ้อนในชีวิตทางศาสนาของมุสลิมมีความชัดเจนมากขึ้น มากกว่าสมมติฐานกระแสหลักที่ตอกน้ำถึงความเป็นศาสนา(religiosity) ของมุสลิมได้สร้างเงื่อนไขของการสร้างระยะห่างทางสังคมอย่างไร และกลายเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและแรงตึงระหว่างกลุ่มสังคมที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน
สำหรับผู้ที่สนใจงานวิเคราะห์หนังสือ
โปรดอ่านบทสังเคราะห์ดังกล่าวในฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ เรื่อง Muslimsin Singapore: piety, politics and policies
หรือสามารถยืมหนังสือต้นฉบับได้ที่ ห้องสมุด ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)
อ้างอิง
Aisha, Noor (2012) Reviewed Work(s): Muslims in Singapore: Piety, Politics and Policies by Kamaludeen Mohamed Nasir, Alexius Pereira and Bryan S. Turner, Asian Journal of Social Science, Vol. 40, No. 1, Special Focus: Trade and Finance in the Malay World: