แนะนำหนังสือ Other Malays: nationalism and cosmopolitanism in the modern Malay world ของ Joel S. Kahn

คำสำคัญ : มาเลเซีย,สิงคโปร์,
แนะนำหนังสือ Other Malays: nationalism and cosmopolitanism in the modern Malay world ของ Joel S. Kahn

ในความรับรู้ของคนทั่วไป “มาเลย์” หรือ “มลายู” อาจคำที่มีความหมายกว้าง ๆ ที่ระบุถึงผู้คนหรือคาบสมุทรและหมู่เกาะที่อยู่ทางใต้ของไทย เช่น คนมาเลย์ คาบสมุทรมลายู แต่ในงานของคาห์น (Kahn) เรื่อง Other Malays: nationalism and cosmopolitanism in the modern Malay world พยายามแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนของความเป็นมาเลย์ที่อยู่ในเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ การเมือง และสังคม

คาห์นไล่เรียงให้เห็นกระบวนการสร้างสำนึก “มาเลย์” หรือความเป็นมาเลย์กระแสหลักในเส้นทางประวัติศาสตร์ โดยวางเป้าหมายให้สังคมก้าวไปเหนือกว่าความเข้าใจที่คับแคบแบบ “สังคมสมานฉันท์” ซึ่งเกิดขึ้นในกระแสการเมืองร่วมสมัยในมาเลเซีย

ในทางหนึ่ง “มาเลย์อื่น” (Other Malays) แสดงนัยถึงการเบียดขับชนชาวมาเลย์ในแบบที่แตกต่างจากเรื่องเล่าฉบับชาตินิยม ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เคลื่อนที่ข้ามดินแดนไปมาและมีความเป็นคอสโมโปแตน หรือ “ความเป็นพลเมืองโลก” (Cosmopolitanism) อีกนัยหนึ่ง คาห์นต้องการสร้างชุดคำอธิบายความเป็นมาเลย์ที่ตอบโต้กับชาตินิยมมาเลย์กระแสหลัก

ในทัศนะของคาห์น ภาพลักษณ์ของ “กัมปงมาเลย์” (Kampong Melayu) ผุดขึ้นในห้วงยามที่มีกระแสชาตินิยมที่พยายามสร้างนิยาม “มาเลย์” ดังเช่น โมฮาเม็ด ยูโนส อับดุลเลาห์ (Mohamed Eunos Abdullah) ในอำนาจชองเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ภาพของ “กัมปง” หรือหากเทียบเคียงในภาษาไทยคือหน่วยกลุ่มสังคมในระดับหมู่บ้าน ซึ่งอุดมด้วยผู้คนที่ยังชีพด้วยการกสิกรรม จินตภาพของกัมปงมาเลย์จึงจุดเริ่มสำคัญในการแสดงเรื่องเล่าของความเป็นคนมาเลย์ในโลกสมัยใหม่ เมื่อทศวรรษ 1920 ความรู้สึกของการสูญเสียกัมปง นับเป็นผลผลิตของความฝันแบบชาตินิยม

คำอธิบายดังกล่าวกลับชี้ให้เห็นถึงการยอมรับวาทกรรมเชื้อชาติที่ทางการอาณานิคมอังกฤษได้สร้างไว้ แต่พยายามขยายนัยของคำให้สอดคล้องกับ “ต้นกำเนิดของชนชาติ” ที่มีกัมปงเป็นที่มั่นสำคัญ ภาพที่สถิตนิ่งดั่งที่นักชาตินิยมวางไว้นั้นกลับไม่มีอำนาจอธิบายโลกมาเลย์สมัยใหม่ที่ซับซ้อนกว่า ภาพของโลกมาเลย์ที่คาห์นต้องการอธิบายมีความเคลื่อนไหวอย่างสูง จากทั้งการพาณิชย์ การแผ่ขยายความคิดทางศาสนาร่วมสมัยจากตะวันออกกลาง และความเปลี่ยนแปลงสู่ภาวะเมือง ผู้คนในโลกมาเลย์เช่นนั้นกลับไม่รวมอยู่ในเรื่องเล่ามาเลย์ชาตินิยมกระแสหลักแต่อย่างใด

ในหลายบทตอน คาห์นกล่าวถึงการแผ่ขยายเรื่องเล่าตามกระแสชาตินิยม เช่น ในภาพยนตร์ของผู้กำกับภาพยนตร์และนักแสดงชื่อดังอย่าง รัมลี (Ramlee) รวมถึงโครงการพัฒนาความทันสมัยของผู้มีอำนาจอาณานิคมที่ส่งเสริมให้ “ความเป็นมาเลย์” สอดคล้องกับภาพลักษณ์กัมปงดังกล่าว

ข้อสังเกตหนึ่งที่ Lim Khay Thiong ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ในบทความรีวิวหนังสือ “Other Malays” ของคาห์น นั่นคือ เขากลับไม่ระบุให้เห็นว่า คนมาเลย์อื่นเปล่านั้นคือใครบ้าง และหากจะสร้างเรื่องเล่าของความเป็นมาเลย์ฉบับอื่น ๆ ควรเป็นอย่างไร ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง นั่นคือ เรื่องราวที่คาห์นนำเสนอกลับไม่เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้ยินเสียงของ “มาเลย์อื่น” หรือเรื่องเล่าชุดอื่นที่น่าจะเป็นไปได้ในการอธิบายความเป็นมาเลย์ ดังนั้น คนมาเลย์อื่นจึงไร้เสียงหรือเสียงของพวกเขาที่ถูกกดทับโดยเรื่องเล่าชาตินิยมกระแสหลักในประวัติศาสตร์ เป็นไปได้อย่างไรที่เราศึกษาผู้คนโดยปราศจากเสียงของพวกเขาในประวัติศาสตร์ ในทัศนะของ Lim Khay Thiong การนำเสนอเรื่องเล่าชุดอื่นและ “เสียงอื่น ๆ” ดูจะเป็นอุปสรรคของนักวิจัยที่ศึกษาประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองในสังคมมาเลเซียด้วยเช่นกัน

สุดท้ายหนังสือช่วยส่งให้เราเห็นว่ามุมมองที่มีต่อความเป็นมาเลย์ด้วยสายตาที่แตกต่างออกไป และควรตั้งคำถามมากขึ้นกับเรื่องเล่ากระแสหลักแบบชาตินิยมมาเลย์ และมองหาคำอธิบายชุดอื่น ๆ เพื่อท้าท้ายกับวิธีคิดของการเมืองเป็นหนึ่งในสังคมมาเลเซียปัจจุบัน

 

สำหรับผู้ที่สนใจงานวิเคราะห์หนังสือ โปรดอ่านบทสังเคราะห์ดังกล่าวในฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ เรื่อง Other Malays: nationalism and cosmopolitanism in the modern Malay world


หรือสามารถยืมหนังสือต้นฉบับได้ที่ ห้องสมุด ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

 

หมายเหตุ

ภาพประกอบบทความจาก https://nuspress.nus.edu.sg/products/other-malays

อ้างอิง

Kahn, Joel S. (2006). Other Malays: nationalism and cosmopolitanism in the modern Malay world. Singapore: Singapore University Press.

Thiong, Lim Khay. (2013). “Book Review: Other Malays: nationalism and cosmopolitanism in the modern Malay world, by Joel S. Kahn” Asian Ethnicity, 14:1, 125-126.

แนะนำหนังสือ Other Malays: nationalism and cosmopolitanism in the modern Malay world ของ Joel S. Kahn

ในความรับรู้ของคนทั่วไป “มาเลย์” หรือ “มลายู” อาจคำที่มีความหมายกว้าง ๆ ที่ระบุถึงผู้คนหรือคาบสมุทรและหมู่เกาะที่อยู่ทางใต้ของไทย เช่น คนมาเลย์ คาบสมุทรมลายู แต่ในงานของคาห์น (Kahn) เรื่อง Other Malays: nationalism and cosmopolitanism in the modern Malay world พยายามแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนของความเป็นมาเลย์ที่อยู่ในเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ การเมือง และสังคม

คาห์นไล่เรียงให้เห็นกระบวนการสร้างสำนึก “มาเลย์” หรือความเป็นมาเลย์กระแสหลักในเส้นทางประวัติศาสตร์ โดยวางเป้าหมายให้สังคมก้าวไปเหนือกว่าความเข้าใจที่คับแคบแบบ “สังคมสมานฉันท์” ซึ่งเกิดขึ้นในกระแสการเมืองร่วมสมัยในมาเลเซีย

ในทางหนึ่ง “มาเลย์อื่น” (Other Malays) แสดงนัยถึงการเบียดขับชนชาวมาเลย์ในแบบที่แตกต่างจากเรื่องเล่าฉบับชาตินิยม ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เคลื่อนที่ข้ามดินแดนไปมาและมีความเป็นคอสโมโปแตน หรือ “ความเป็นพลเมืองโลก” (Cosmopolitanism) อีกนัยหนึ่ง คาห์นต้องการสร้างชุดคำอธิบายความเป็นมาเลย์ที่ตอบโต้กับชาตินิยมมาเลย์กระแสหลัก

ในทัศนะของคาห์น ภาพลักษณ์ของ “กัมปงมาเลย์” (Kampong Melayu) ผุดขึ้นในห้วงยามที่มีกระแสชาตินิยมที่พยายามสร้างนิยาม “มาเลย์” ดังเช่น โมฮาเม็ด ยูโนส อับดุลเลาห์ (Mohamed Eunos Abdullah) ในอำนาจชองเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ภาพของ “กัมปง” หรือหากเทียบเคียงในภาษาไทยคือหน่วยกลุ่มสังคมในระดับหมู่บ้าน ซึ่งอุดมด้วยผู้คนที่ยังชีพด้วยการกสิกรรม จินตภาพของกัมปงมาเลย์จึงจุดเริ่มสำคัญในการแสดงเรื่องเล่าของความเป็นคนมาเลย์ในโลกสมัยใหม่ เมื่อทศวรรษ 1920 ความรู้สึกของการสูญเสียกัมปง นับเป็นผลผลิตของความฝันแบบชาตินิยม

คำอธิบายดังกล่าวกลับชี้ให้เห็นถึงการยอมรับวาทกรรมเชื้อชาติที่ทางการอาณานิคมอังกฤษได้สร้างไว้ แต่พยายามขยายนัยของคำให้สอดคล้องกับ “ต้นกำเนิดของชนชาติ” ที่มีกัมปงเป็นที่มั่นสำคัญ ภาพที่สถิตนิ่งดั่งที่นักชาตินิยมวางไว้นั้นกลับไม่มีอำนาจอธิบายโลกมาเลย์สมัยใหม่ที่ซับซ้อนกว่า ภาพของโลกมาเลย์ที่คาห์นต้องการอธิบายมีความเคลื่อนไหวอย่างสูง จากทั้งการพาณิชย์ การแผ่ขยายความคิดทางศาสนาร่วมสมัยจากตะวันออกกลาง และความเปลี่ยนแปลงสู่ภาวะเมือง ผู้คนในโลกมาเลย์เช่นนั้นกลับไม่รวมอยู่ในเรื่องเล่ามาเลย์ชาตินิยมกระแสหลักแต่อย่างใด

ในหลายบทตอน คาห์นกล่าวถึงการแผ่ขยายเรื่องเล่าตามกระแสชาตินิยม เช่น ในภาพยนตร์ของผู้กำกับภาพยนตร์และนักแสดงชื่อดังอย่าง รัมลี (Ramlee) รวมถึงโครงการพัฒนาความทันสมัยของผู้มีอำนาจอาณานิคมที่ส่งเสริมให้ “ความเป็นมาเลย์” สอดคล้องกับภาพลักษณ์กัมปงดังกล่าว

ข้อสังเกตหนึ่งที่ Lim Khay Thiong ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ในบทความรีวิวหนังสือ “Other Malays” ของคาห์น นั่นคือ เขากลับไม่ระบุให้เห็นว่า คนมาเลย์อื่นเปล่านั้นคือใครบ้าง และหากจะสร้างเรื่องเล่าของความเป็นมาเลย์ฉบับอื่น ๆ ควรเป็นอย่างไร ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง นั่นคือ เรื่องราวที่คาห์นนำเสนอกลับไม่เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้ยินเสียงของ “มาเลย์อื่น” หรือเรื่องเล่าชุดอื่นที่น่าจะเป็นไปได้ในการอธิบายความเป็นมาเลย์ ดังนั้น คนมาเลย์อื่นจึงไร้เสียงหรือเสียงของพวกเขาที่ถูกกดทับโดยเรื่องเล่าชาตินิยมกระแสหลักในประวัติศาสตร์ เป็นไปได้อย่างไรที่เราศึกษาผู้คนโดยปราศจากเสียงของพวกเขาในประวัติศาสตร์ ในทัศนะของ Lim Khay Thiong การนำเสนอเรื่องเล่าชุดอื่นและ “เสียงอื่น ๆ” ดูจะเป็นอุปสรรคของนักวิจัยที่ศึกษาประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองในสังคมมาเลเซียด้วยเช่นกัน

สุดท้ายหนังสือช่วยส่งให้เราเห็นว่ามุมมองที่มีต่อความเป็นมาเลย์ด้วยสายตาที่แตกต่างออกไป และควรตั้งคำถามมากขึ้นกับเรื่องเล่ากระแสหลักแบบชาตินิยมมาเลย์ และมองหาคำอธิบายชุดอื่น ๆ เพื่อท้าท้ายกับวิธีคิดของการเมืองเป็นหนึ่งในสังคมมาเลเซียปัจจุบัน

 

สำหรับผู้ที่สนใจงานวิเคราะห์หนังสือ โปรดอ่านบทสังเคราะห์ดังกล่าวในฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ เรื่อง Other Malays: nationalism and cosmopolitanism in the modern Malay world


หรือสามารถยืมหนังสือต้นฉบับได้ที่ ห้องสมุด ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

 

หมายเหตุ

ภาพประกอบบทความจาก https://nuspress.nus.edu.sg/products/other-malays

อ้างอิง

Kahn, Joel S. (2006). Other Malays: nationalism and cosmopolitanism in the modern Malay world. Singapore: Singapore University Press.

Thiong, Lim Khay. (2013). “Book Review: Other Malays: nationalism and cosmopolitanism in the modern Malay world, by Joel S. Kahn” Asian Ethnicity, 14:1, 125-126.