ชมศิลปะต่างยุคในเมืองเก่าอายุกว่าพันปี นาม “ศรีมโหสถ”

คำสำคัญ : ปราจีนบุรี,
ชมศิลปะต่างยุคในเมืองเก่าอายุกว่าพันปี นาม “ศรีมโหสถ”

            เนื้อหาโดยสังเขปบอกเล่าถึงแหล่งโบราณคดีตามที่ปรากฏในฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีและศิลปกรรมในประเทศไทย เพื่อชวนให้ผู้อ่านเรียนรู้เพิ่มเติม นอกจากสาระทางโบราณคดีแล้ว ยังมีเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์พวนและศิลปกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มคนไทยเชื้อสายพวนที่เข้ามาเมื่อต้นรัตนโกสินทร์

 

รู้จักศรีมโหสถ

          หากเดินทางออกจากตัวเมืองปราจีนบุรีราว 20 กิโลเมตรตามเส้นทางหลวงหมายเลข 319 เมื่อถึงกิโลเมตรที่ 130 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3070 อีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีเมืองโบราณอยู่ทางด้านขวามือ โบราณสถานตั้งอยู่กระจาย โดยสามารถเข้าเยี่ยมชมโบราณสถานได้ทุกวัน นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอศรีมหาโพธิ โบราณสถานบางส่วนเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น ต้นศรีมหาโพธิ์ รอยพระพุทธบาท พระพุทธรูปทวารวดี เป็นต้น

แหล่งโบราณสถานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเมือง “ศรีมโหสถ” ที่มีอายุกว่า 1,000 ปี ที่สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนเกษตรกรรมมาตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 และอาจเก่าถึงพุทธศตวรรษที่ 6 โดยชื่อเมืองตั้งตามชาดกเรื่อง “พระมโหสถ”

ชุมชนดังกล่าวน่าจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ที่พบตามแนวชายฝั่งทะเลเดิมในบริเวณลุ่มแม่น้ำ บางปะกงบริเวณจังหวัดชลบุรี ประมาณ 1,400 5,000 ปี และมีการพัฒนาเมืองต่อเนื่องมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ 12-16

สุจิตต์ วงษ์เทศ (2551, 11) กล่าวถึงเมืองศรีมโหสถที่รับศาสนาพุทธพราหมณ์จากอินเดีย และอยู่บนเส้นทางการค้าทางทะเลกับจีน แต่มาร้างไปราวหลัง พ.ศ. 1700 เพราะเส้นทางคมนาคมเปลี่ยนแปลง อ่าวไทยตื้นเขิน ทำให้ไม่สามารถสัญจรทางน้ำได้ดังแต่ก่อน





เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองขนาดใหญ่ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีคูเมืองขุดตัดทะลุชั้นศิลาแลง กลางเมืองที่คูน้ำเชื่อมทิศเหนือและทิศใต้



ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเมืองศรีมโหสถ




 
สระมรกตและรอยพระพุทธบาทคู่

          กลุ่มโบราณสถานสระมรกต เป็นบึงน้ำโบราณขนาดใหญ่อยู่ห่างจากเมืองศรีมโหสถไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 3 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเป็นส่วนหนึ่งของอโรคยาศาลา (สุขศาลาสมัยโบราณ) ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ ราว พ.ศ. 1400-1800 ประกอบด้วยสระมรกต สระบัวล้า รอยพระพุทธบาท พุทธสถาน และร่องรอยสถูกเก่า

        ในการขุดแต่งโบราณสถานได้พบร่องรอยรอยพระพุทธบาทคู่ อันหมายถึงรอยเท้าของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สลักลงในพื้นศิลาแลงธรรมชาติ เป็นสัญลักษณ์ว่าเคยเสด็จประทับยืนตรงนี้ ว่ากันว่าเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย


สระแก้ว

           

            ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางทิศใต้ ซึ่งเป็นสระน้ำตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ที่สันนิษฐานว่าใช้ในการประกอบพิธีกรรม สระนี้ขุดลงไปในพื้นหินศิลาแลง ผนังทั้งสี่ด้านมีภาพสัตว์ประดับอยู่ เช่น มกร ช้าง นาค สิงห์ ตรงกลางของผนังด้านเหนือมีรูปคชลักษมีและแนวคั่นบันไดลงสู่สระ




สระบัวแก้วฐานข้อมูลศิลปกรรมในประเทศไทย


 

ชาวพวนแห่งศรีมโหสถ

         

            ชาวพวนเป็นคนในที่ราบสูง เดิมอยู่ในทุ่งไหหิน แขวงเชียงขวาง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของลาวติดกับเวียดนาม ด้วยเหตุที่คนพวนอพยพมาจากลาวและเข้ามาตั้งถิ่นในฐานในไทยราว 200 ปีที่ผ่านมา กลุ่มคนถูกกวาดต้อนเข้ามาหลายครั้ง และถูกเกณฑ์ให้มาอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ เช่น สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม กบินทร์บุรี นครนายก เป็นต้น จึงมีการเรียกว่า ลาวพวน อันหมายถึง คนลาวที่มาจากเมืองพวนในแคว้นหัวพันห้าทั้งหก แต่สำหรับคนพวนจะเรียกตนเองว่า ไทพวน ที่หมายถึง คนจากที่ราบสูง เพราะ “ไท” หมายถึงชาว, คน และ “พวน” เป็นคำเดียวกับพูนหรือโพนที่หมายถึงที่ราบสูง

        คนพวนที่อำเภอศรีมหาโพธิและศรีมโหสถ จังหวัดฉะเชิงเทรา เข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2380 ให้เป็นด่านหน้าป้องกันกรุงเทพฯ เมื่อมีศึกมาทางตะวันออก เมื่อมีการตั้งชุมชนหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงสร้างหอผีปู่ตาให้คุ้มครองคนในหมู่บ้าน และยังได้วัดประจำหมู่บ้าน จึงปรากฏงานช่างของชาวพวนที่ยังคงเอกลักษณ์ ได้แก่เจดีย์ศิลปะเชียงขวาง เช่น เจดีย์วัดแสงสว่าง บ้านโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ


อ้างอิง


ศรีศักร วัลลิโภดม. 2543. “ลาวในเมืองไทย” ใน เมืองศรีมโหสถ. กรุงเทพฯ : พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. 2557. ทอดน่องท่องเที่ยว อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี. ปราจีนบุรี : เทศบาลตำบลโคกปีบ.

สุจิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ. 2551. ต้นโพธิ์ : ดงศรีมหาโพธิ์เมืองมโหสถ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี. ปราจีนบุรี : จังหวัดปราจีนบุรี


 

พระเจดีย์ ณ วัดแสงสว่าง บ้านโคกไทย ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ

         

            หนึ่งในโบราณสถานที่โดดเด่น พระเจดีย์สำคัญมีศิลปกรรมแบบลาวแบบเชียงขวาง “สร้างราวหลัง พ.ศ. 2380 ฐานบัวคว่ำบัวหงาน สูงขึ้นไปเป็นฐานเอนลอดซ้อนลดหลั่น เป็นผังย่อมุมแล้วต่อด้วยองค์ระฆังกลม มีปล้องไฉนและฉัตรโลหะเป็นยอดสุด มีศาลผีอารักษ์อยู่รอบฐาน” อาจารย์ประภัสร์ ชูวิเชียร อธิบายไว้เมื่อ พ.ศ. 2557

มีการสันนิษฐานว่าพระเจดีย์สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระพุทธเลิศหล้านภาลัยหรือรัชกาลที่ 2 คราวคล้องช้างเผือกได้บริเวณนี้ จึงได้สร้างพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์และแก้บนเทพารักษ์ในการคล้องช้าง

ส่วนอุโบสถของวัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2472 เป็นอาคารก่ออิฐ หลังคาเป็นเครื่องไม้ มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ประดับ หน้าบันมีปูนปั้นรูปครุฑ แต่มีการเปลี่ยนแปลงโดยตลอด บริเวณโบสถ์เก่าชาวบ้านยังคงเรียกว่า "วัดโคกมอญ" ส่วนพื้นที่รายรอบพระเจดีย์ชาวบ้านเรียกว่า "วัดแสงสว่าง"

 

อ้างอิง


อรวรรณ เชื้อน้อย. เจดีย์ที่ปรากฏในชุมชนชาวพวน : กรณีศึกษาวัดมหาเจดีย์ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา และวัดแสงสว่าง อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร : กรุงเทพฯ, 2547


 

ชมศิลปะต่างยุคในเมืองเก่าอายุกว่าพันปี นาม “ศรีมโหสถ”

            เนื้อหาโดยสังเขปบอกเล่าถึงแหล่งโบราณคดีตามที่ปรากฏในฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีและศิลปกรรมในประเทศไทย เพื่อชวนให้ผู้อ่านเรียนรู้เพิ่มเติม นอกจากสาระทางโบราณคดีแล้ว ยังมีเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์พวนและศิลปกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มคนไทยเชื้อสายพวนที่เข้ามาเมื่อต้นรัตนโกสินทร์

 

รู้จักศรีมโหสถ

          หากเดินทางออกจากตัวเมืองปราจีนบุรีราว 20 กิโลเมตรตามเส้นทางหลวงหมายเลข 319 เมื่อถึงกิโลเมตรที่ 130 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3070 อีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีเมืองโบราณอยู่ทางด้านขวามือ โบราณสถานตั้งอยู่กระจาย โดยสามารถเข้าเยี่ยมชมโบราณสถานได้ทุกวัน นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอศรีมหาโพธิ โบราณสถานบางส่วนเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น ต้นศรีมหาโพธิ์ รอยพระพุทธบาท พระพุทธรูปทวารวดี เป็นต้น

แหล่งโบราณสถานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเมือง “ศรีมโหสถ” ที่มีอายุกว่า 1,000 ปี ที่สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนเกษตรกรรมมาตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 และอาจเก่าถึงพุทธศตวรรษที่ 6 โดยชื่อเมืองตั้งตามชาดกเรื่อง “พระมโหสถ”

ชุมชนดังกล่าวน่าจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ที่พบตามแนวชายฝั่งทะเลเดิมในบริเวณลุ่มแม่น้ำ บางปะกงบริเวณจังหวัดชลบุรี ประมาณ 1,400 5,000 ปี และมีการพัฒนาเมืองต่อเนื่องมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ 12-16

สุจิตต์ วงษ์เทศ (2551, 11) กล่าวถึงเมืองศรีมโหสถที่รับศาสนาพุทธพราหมณ์จากอินเดีย และอยู่บนเส้นทางการค้าทางทะเลกับจีน แต่มาร้างไปราวหลัง พ.ศ. 1700 เพราะเส้นทางคมนาคมเปลี่ยนแปลง อ่าวไทยตื้นเขิน ทำให้ไม่สามารถสัญจรทางน้ำได้ดังแต่ก่อน





เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองขนาดใหญ่ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีคูเมืองขุดตัดทะลุชั้นศิลาแลง กลางเมืองที่คูน้ำเชื่อมทิศเหนือและทิศใต้



ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเมืองศรีมโหสถ




 
สระมรกตและรอยพระพุทธบาทคู่

          กลุ่มโบราณสถานสระมรกต เป็นบึงน้ำโบราณขนาดใหญ่อยู่ห่างจากเมืองศรีมโหสถไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 3 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเป็นส่วนหนึ่งของอโรคยาศาลา (สุขศาลาสมัยโบราณ) ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ ราว พ.ศ. 1400-1800 ประกอบด้วยสระมรกต สระบัวล้า รอยพระพุทธบาท พุทธสถาน และร่องรอยสถูกเก่า

        ในการขุดแต่งโบราณสถานได้พบร่องรอยรอยพระพุทธบาทคู่ อันหมายถึงรอยเท้าของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สลักลงในพื้นศิลาแลงธรรมชาติ เป็นสัญลักษณ์ว่าเคยเสด็จประทับยืนตรงนี้ ว่ากันว่าเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย


สระแก้ว

           

            ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางทิศใต้ ซึ่งเป็นสระน้ำตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ที่สันนิษฐานว่าใช้ในการประกอบพิธีกรรม สระนี้ขุดลงไปในพื้นหินศิลาแลง ผนังทั้งสี่ด้านมีภาพสัตว์ประดับอยู่ เช่น มกร ช้าง นาค สิงห์ ตรงกลางของผนังด้านเหนือมีรูปคชลักษมีและแนวคั่นบันไดลงสู่สระ




สระบัวแก้วฐานข้อมูลศิลปกรรมในประเทศไทย


 

ชาวพวนแห่งศรีมโหสถ

         

            ชาวพวนเป็นคนในที่ราบสูง เดิมอยู่ในทุ่งไหหิน แขวงเชียงขวาง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของลาวติดกับเวียดนาม ด้วยเหตุที่คนพวนอพยพมาจากลาวและเข้ามาตั้งถิ่นในฐานในไทยราว 200 ปีที่ผ่านมา กลุ่มคนถูกกวาดต้อนเข้ามาหลายครั้ง และถูกเกณฑ์ให้มาอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ เช่น สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม กบินทร์บุรี นครนายก เป็นต้น จึงมีการเรียกว่า ลาวพวน อันหมายถึง คนลาวที่มาจากเมืองพวนในแคว้นหัวพันห้าทั้งหก แต่สำหรับคนพวนจะเรียกตนเองว่า ไทพวน ที่หมายถึง คนจากที่ราบสูง เพราะ “ไท” หมายถึงชาว, คน และ “พวน” เป็นคำเดียวกับพูนหรือโพนที่หมายถึงที่ราบสูง

        คนพวนที่อำเภอศรีมหาโพธิและศรีมโหสถ จังหวัดฉะเชิงเทรา เข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2380 ให้เป็นด่านหน้าป้องกันกรุงเทพฯ เมื่อมีศึกมาทางตะวันออก เมื่อมีการตั้งชุมชนหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงสร้างหอผีปู่ตาให้คุ้มครองคนในหมู่บ้าน และยังได้วัดประจำหมู่บ้าน จึงปรากฏงานช่างของชาวพวนที่ยังคงเอกลักษณ์ ได้แก่เจดีย์ศิลปะเชียงขวาง เช่น เจดีย์วัดแสงสว่าง บ้านโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ


อ้างอิง


ศรีศักร วัลลิโภดม. 2543. “ลาวในเมืองไทย” ใน เมืองศรีมโหสถ. กรุงเทพฯ : พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. 2557. ทอดน่องท่องเที่ยว อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี. ปราจีนบุรี : เทศบาลตำบลโคกปีบ.

สุจิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ. 2551. ต้นโพธิ์ : ดงศรีมหาโพธิ์เมืองมโหสถ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี. ปราจีนบุรี : จังหวัดปราจีนบุรี


 

พระเจดีย์ ณ วัดแสงสว่าง บ้านโคกไทย ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ

         

            หนึ่งในโบราณสถานที่โดดเด่น พระเจดีย์สำคัญมีศิลปกรรมแบบลาวแบบเชียงขวาง “สร้างราวหลัง พ.ศ. 2380 ฐานบัวคว่ำบัวหงาน สูงขึ้นไปเป็นฐานเอนลอดซ้อนลดหลั่น เป็นผังย่อมุมแล้วต่อด้วยองค์ระฆังกลม มีปล้องไฉนและฉัตรโลหะเป็นยอดสุด มีศาลผีอารักษ์อยู่รอบฐาน” อาจารย์ประภัสร์ ชูวิเชียร อธิบายไว้เมื่อ พ.ศ. 2557

มีการสันนิษฐานว่าพระเจดีย์สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระพุทธเลิศหล้านภาลัยหรือรัชกาลที่ 2 คราวคล้องช้างเผือกได้บริเวณนี้ จึงได้สร้างพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์และแก้บนเทพารักษ์ในการคล้องช้าง

ส่วนอุโบสถของวัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2472 เป็นอาคารก่ออิฐ หลังคาเป็นเครื่องไม้ มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ประดับ หน้าบันมีปูนปั้นรูปครุฑ แต่มีการเปลี่ยนแปลงโดยตลอด บริเวณโบสถ์เก่าชาวบ้านยังคงเรียกว่า "วัดโคกมอญ" ส่วนพื้นที่รายรอบพระเจดีย์ชาวบ้านเรียกว่า "วัดแสงสว่าง"

 

อ้างอิง


อรวรรณ เชื้อน้อย. เจดีย์ที่ปรากฏในชุมชนชาวพวน : กรณีศึกษาวัดมหาเจดีย์ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา และวัดแสงสว่าง อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร : กรุงเทพฯ, 2547