เบื้องหลังหน้ากาก

คำสำคัญ : เลย,
เบื้องหลังหน้ากาก

        แต่การเล่นผีตาโขนของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยในบุญเดือน 6 นั้น มีความหมายที่สำคัญต่อความเป็นอยู่และความเชื่อ งานบุญนั้นคือประเพณีบุญหลวง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และประเพณีผีขนน้ำ บ้านนาซ่าว

        ตำนานเรื่อง “ผีขนน้ำ” และ “ผีตาโขน” มีอยู่หลายสำนวน ผีขนน้ำเกี่ยวข้องกับวิญญาณของวัวและควายที่มีความสำคัญกับเกษตรกรรมในอดีต บ้างกล่าวถึง ผีตามคนในงานบุญผะเหว็ด ที่ผีตามคนเข้ามาขออาหาร หรือจากเวสสันดรชาดก ตอนที่แห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง คนป่าที่เคยอยู่รับใช้อยากจะมาส่งพระเวสสันดรและครอบครัว ต้องหาวัสดุต่าง ๆ มาปกปิดร่างกายเพราะความอายที่ไม่เคยเข้าเมืองมาก่อน ทำให้ ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น “ผีตาโขน” นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงตำนานของเกี่ยวกับคู่หนุ่มสาวที่รักกัน แต่ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายไม่เห็นด้วย จึงลักลอบพบกัน แต่วันหนึ่งพบกันที่อุโมงค์และถูกปิดตายอยู่ภายใน ดวงวิญญาณจึงเฝ้าสมบัติและองค์พระธาตุศรีสองรัก ต่อมาภายหลังมีคนไปของเป็นบริวาร จึงเรียกว่า ผีตามคน หมายถึง ผีที่เผ้าสมบัติตามเอาคนไปอยู่ด้วย จนกลายมาเป็นผีตาโขน






        

        จุดมุ่งหมายของการประกอบพิธีสัมพันธ์กับความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่ผสามผสานระหว่างพราหมณ์ พุทธ และผี และสภาพของเมืองด่านซ้านที่เป็นเมืองกลางหุบเขาสลับซับซ้อร อยู่ติดกับชายแดนไทยและลาว โดยมี “น้ำหมัน” ไหลเลาะไปตามหุบเขาด่านซ้ายจากใต้ขึ้นเหนือ

        กล่าวกันว่าประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนเกิดจากงานบุญหลายงาน เป็นไปตามวัฒนธรรมของคนไท-ลาว สอดคล้องกับฤดูกาลเพาะปลูก

            - บุญผะเหว็ด งานบุญเดือน 4 งานไร่เบาลงทำบุญและฟังเทศน์มหาชาติ โดยเพื่อกันว่าหากจะได้พบพระศรีอาริย์ ต้องอดทนฟังเทศน์มหาเวสสันดรชาดกให้เสร็จสิ้นในวันเดียว

            - บุญบั้งไฟ งานบุญเดือน 6 เป็นช่วงต้นฤดูฝน มีการทำบุญบั้งไฟอำนวยให้การเพาะปลูกอุดมสมบูรณ์ ก่อนเข้าสู่ช่วงทำไร่นา

            - บุญซำฮะ งานบุญเดือน 7 เพื่อชำระล้าง บูชาบรรพบุรุษระลึกถึงผู้มีพระคุณ ไหว้ครู ไหว้หลักบ้านหลักเมือง ไหว้วิญญาณ เป็นอาทิ

        จนกลายเป็นงานบุญใหญ่ เรียกว่า บุญหลวง เป็นโอกาสของการฉลองต้นปีใหม่ บูชาบรรพบุรุษ ที่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองด่านซ้าย อ้อนวอนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงมีการบูชาพระธาตุ ล้างพระธาตุ สรงธาตุ เวียนเทียน สู่ขวัญพระธาตุ โดยมีพ่อกวนและพ่อแสนผู้รับหน้าที่ทำพิธีต่าง ๆ และดูแลพระธาตุศรีสองรัก เรียกว่าเป็นผู้ติดต่อกับอำนาจเหนือธรรมชาติ

        งานบุญหลวงนั้นประกอบด้วย 3 วันสำคัญ ได้แก่

            - วันโฮม เป็นการเบิกอุปคุตโดยนำขบวนโดยคนเฒ่าคนแก่ไปยังริมน้ำหมัน และพ่อแสนเป็นผู้ทำพิธีในลำน้ำหมัน จากนั้น เดินทางกลับมายังวัดโพนชัย ในตอนเย็น มีการรวมตัวที่บ้านเจ้าพ่อกวนเพื่อประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ

            - วันแห่พระมีการฟ้อนของชาวบ้านและผีตาโขนรอบวัดโพนชัยและตามถนนหนหางตั้งแต่เช้า และหยุดพัก จนกลับมาแห่พระในช่วงบ่ายประกอบด้วยพระพุทธรูป 1 องค์และพระสงฆ์ 4 รูป และมีเจ้าพ่อกวนนั่งบนบั้งไฟ เมื่อเสร็จพิธีในโบสถ์ชาวบ้านนำบั้งไฟไปจุดขอฝน เดิมทีมีการล่องเครื่องแต่งกายผีตาโขน เพราะถือเป็นการลอยสิ่งที่ไม่ดีและโรคภัยไข้เจ็บติดไปกับผีตาโขนในลำน้ำหมัน แต่ปัจจุบันเก็บไว้ใช้ปีต่อไป

            - สุดท้ายเป็นวันฟังเทศน์ ชาวบ้านเตรียมแห่กัณฑ์เทศน์ที่จะถวายพระ ซึ่งการเทศน์นั้นกินเวลาถึง 1 วัน 1 คืน จึงต้องมีการนิมนต์พระจากวัดต่าง ๆ มาช่วยกันเทศน์ ในเช้าวันดังกล่าวจะมีการตั้งบาตรและตามด้วยการสะเดาะเคราะห์บ้านเมือง นำเครื่องเซ่นไหว์ไปลอยเคราะห์ในลำน้ำหมัน

 

แหล่งความรู้เพิ่มเติม


        ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมา ความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ลำดับพิธีและผู้นำพิธี รวมถึงความหมายของการจัดงานละเล่น และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในงานบุญหลวง ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย 

        นอกจากนี้ยังมีประเพณีผีขนน้ำ ในบ้านนาซ่าว ที่มีความใกล้เคียงกับผีตาโขนและงานบุญหลวง ชาวบ้าน ณ นาซ่าว อำเภอด่านซ้ายจัดงานประเพณี ผีขนน้ำ ในเดือนหก ตามความเชื่อที่ว่า จะช่วยนำน้ำจากฟ้ามาใช้เพาะปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษตรจะอุดมสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งยังเป็นโอกาสของการทำพิธี เลี้ยงบ้านหรือเลี้ยงผีปู่ตาเพื่อบอกกล่าวปู่ตาหรือเจ้าปู่ ผีผู้รักษาภูมิบ้าน ให้ดูแลชาวบ้านเมื่อลงทำนา ทำไร่ ผีปู่ตาในทีนี้ก็คือ “เจ้าพ่อแสนเมือง” ที่คอยดูแลคุ้มครองให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข

        ปัจจุบัน มีการจัดงานอย่างเป็นทางการมากขึ้น ขบวนแห่ผีขนน้ำกอปรขึ้นจากตัวแทนของหมู่บ้านที่ระบุที่มาอย่างเป็นระบบ ขบวนพิธียังมีการเล่นดนตรีประกอบอย่างครื้นเครง โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่วัดโพธิ์ศรี มีโรงทาน การออกร้านขายของ มีงานบุญทอดผ้าป่า และมีมหรสพยามค่ำคืน

        นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์ หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สำหรับการค้นคว้าเพิ่มเติม ดังนี้


พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองด่านซ้าย(ผีตาโขน)




        พิพิธภัณฑ์ผีตาโขนเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ภายในนำเสนอเรื่องราวประวัติความเป็นมาของผีตาโขน กระบวนการทําหน้ากากผีตาโขน อันเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีและวัฒนธรรมของผู้คนในอําเภอด่านซ้าย นอกจากนี้ยังเปิดวีดิทัศน์เกี่ยวกับงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนให้รับชม ในระหว่างการจัดงานบุญหลวง พิพิธภัณฑ์จัดกิจกรรมระบายสีหน้ากากผีตาโขนฟรี และได้เป็นของขวัญกลับบ้าน นับเป็นสถานที่ที่เหมาะสมกับการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับผีตาโขน ประเพณีของคนด่านซ้ายอย่างดี


ผีตาโขน : สนุกสนานวันบุญหลวง 



        หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย “การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมกรณีศึกษาบ้านด่ายซ้าย นาเวียง และนาหอ ลุ่มน้ำหมัน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย” โครงการอบรมและวิจัยเชิงปฏิบัติการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและชาติพันธุ์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เนื้อหาเป็นการศึกษาระบบความเชื่อของชาวบ้านบริเวณบ้านด้านซ้าย โดยมี นพ. ภักดี สืบนุการณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลด่านซ้าย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยในพื้นที่ภายใต้การติดตามชี้แนะของ รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะ เรียกได้ว่าหนังสือสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาและความเชื่อในสังคมด่านซ้าย ผ่านรูปแบบสมุดภาพนิทานตำนานท้องถิ่น


ผีตาโขน มรดกแผ่นดินศรีสองรัก   



        หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงบอกเล่าประเพณีการเล่นผีตาโขน แต่พยายามให้คำอธิบายถึงบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดเลย เมืองที่เรียกว่าเป็นดานหน้าในหุบเขา “ด่านซ้าย” นับเป็นชุมชนสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างคนสองฝั่งแม่น้ำโขงผ่านความเชื่อและพิธีกรรม ผีตาโขนในฐานะมรดกวัฒนธรรมจึงสะท้อนพุทธศาสนาและความเชื่อในวิญญาณ แม้ในปัจจุบันการท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนในการเพิ่มสีสันให้กับพิธี แต่คงไว้ซึ่งความหมายต่อชุมชน


ผีตาโขน :ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

         งานวิจัยฉบับนี้ให้ความสำคัญกับความเป็นมา องค์ประกอบ และวิธีการเล่นผีตาโขน รวมถึงการศึกษาคุณค่าทางสังคมของการเล่นผีตาโขนที่มีต่อสังคม ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าการเล่นผีตาโขนในประเพณีบุญหลวงมีคติความเชื่อแบบผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธ ศาสนาพราหณ์ และภูติผีปีศาจ ตลอดจนอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ตามโลกทัศน์ของชาวอำเภอด่านซ้าย จุดมุ่งหมายของการเล่นจึงเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจ การเล่นยังช่วยรักษาบรรทัดฐานและสร้างเอกภาพในสังคม เพราะผู้คนศรัทธาในสิ่งเดียวกัน การพัฒนาการละเล่นผีตาโขนจนกลายเป็นเทศกาลนั้น นับเป็นการกระจายรายได้ภายในท้องถิ่นจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาชมงานประเพณีมากขึ้นในแต่ละปี 

เบื้องหลังหน้ากาก

        แต่การเล่นผีตาโขนของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยในบุญเดือน 6 นั้น มีความหมายที่สำคัญต่อความเป็นอยู่และความเชื่อ งานบุญนั้นคือประเพณีบุญหลวง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และประเพณีผีขนน้ำ บ้านนาซ่าว

        ตำนานเรื่อง “ผีขนน้ำ” และ “ผีตาโขน” มีอยู่หลายสำนวน ผีขนน้ำเกี่ยวข้องกับวิญญาณของวัวและควายที่มีความสำคัญกับเกษตรกรรมในอดีต บ้างกล่าวถึง ผีตามคนในงานบุญผะเหว็ด ที่ผีตามคนเข้ามาขออาหาร หรือจากเวสสันดรชาดก ตอนที่แห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง คนป่าที่เคยอยู่รับใช้อยากจะมาส่งพระเวสสันดรและครอบครัว ต้องหาวัสดุต่าง ๆ มาปกปิดร่างกายเพราะความอายที่ไม่เคยเข้าเมืองมาก่อน ทำให้ ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น “ผีตาโขน” นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงตำนานของเกี่ยวกับคู่หนุ่มสาวที่รักกัน แต่ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายไม่เห็นด้วย จึงลักลอบพบกัน แต่วันหนึ่งพบกันที่อุโมงค์และถูกปิดตายอยู่ภายใน ดวงวิญญาณจึงเฝ้าสมบัติและองค์พระธาตุศรีสองรัก ต่อมาภายหลังมีคนไปของเป็นบริวาร จึงเรียกว่า ผีตามคน หมายถึง ผีที่เผ้าสมบัติตามเอาคนไปอยู่ด้วย จนกลายมาเป็นผีตาโขน






        

        จุดมุ่งหมายของการประกอบพิธีสัมพันธ์กับความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่ผสามผสานระหว่างพราหมณ์ พุทธ และผี และสภาพของเมืองด่านซ้านที่เป็นเมืองกลางหุบเขาสลับซับซ้อร อยู่ติดกับชายแดนไทยและลาว โดยมี “น้ำหมัน” ไหลเลาะไปตามหุบเขาด่านซ้ายจากใต้ขึ้นเหนือ

        กล่าวกันว่าประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนเกิดจากงานบุญหลายงาน เป็นไปตามวัฒนธรรมของคนไท-ลาว สอดคล้องกับฤดูกาลเพาะปลูก

            - บุญผะเหว็ด งานบุญเดือน 4 งานไร่เบาลงทำบุญและฟังเทศน์มหาชาติ โดยเพื่อกันว่าหากจะได้พบพระศรีอาริย์ ต้องอดทนฟังเทศน์มหาเวสสันดรชาดกให้เสร็จสิ้นในวันเดียว

            - บุญบั้งไฟ งานบุญเดือน 6 เป็นช่วงต้นฤดูฝน มีการทำบุญบั้งไฟอำนวยให้การเพาะปลูกอุดมสมบูรณ์ ก่อนเข้าสู่ช่วงทำไร่นา

            - บุญซำฮะ งานบุญเดือน 7 เพื่อชำระล้าง บูชาบรรพบุรุษระลึกถึงผู้มีพระคุณ ไหว้ครู ไหว้หลักบ้านหลักเมือง ไหว้วิญญาณ เป็นอาทิ

        จนกลายเป็นงานบุญใหญ่ เรียกว่า บุญหลวง เป็นโอกาสของการฉลองต้นปีใหม่ บูชาบรรพบุรุษ ที่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองด่านซ้าย อ้อนวอนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงมีการบูชาพระธาตุ ล้างพระธาตุ สรงธาตุ เวียนเทียน สู่ขวัญพระธาตุ โดยมีพ่อกวนและพ่อแสนผู้รับหน้าที่ทำพิธีต่าง ๆ และดูแลพระธาตุศรีสองรัก เรียกว่าเป็นผู้ติดต่อกับอำนาจเหนือธรรมชาติ

        งานบุญหลวงนั้นประกอบด้วย 3 วันสำคัญ ได้แก่

            - วันโฮม เป็นการเบิกอุปคุตโดยนำขบวนโดยคนเฒ่าคนแก่ไปยังริมน้ำหมัน และพ่อแสนเป็นผู้ทำพิธีในลำน้ำหมัน จากนั้น เดินทางกลับมายังวัดโพนชัย ในตอนเย็น มีการรวมตัวที่บ้านเจ้าพ่อกวนเพื่อประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ

            - วันแห่พระมีการฟ้อนของชาวบ้านและผีตาโขนรอบวัดโพนชัยและตามถนนหนหางตั้งแต่เช้า และหยุดพัก จนกลับมาแห่พระในช่วงบ่ายประกอบด้วยพระพุทธรูป 1 องค์และพระสงฆ์ 4 รูป และมีเจ้าพ่อกวนนั่งบนบั้งไฟ เมื่อเสร็จพิธีในโบสถ์ชาวบ้านนำบั้งไฟไปจุดขอฝน เดิมทีมีการล่องเครื่องแต่งกายผีตาโขน เพราะถือเป็นการลอยสิ่งที่ไม่ดีและโรคภัยไข้เจ็บติดไปกับผีตาโขนในลำน้ำหมัน แต่ปัจจุบันเก็บไว้ใช้ปีต่อไป

            - สุดท้ายเป็นวันฟังเทศน์ ชาวบ้านเตรียมแห่กัณฑ์เทศน์ที่จะถวายพระ ซึ่งการเทศน์นั้นกินเวลาถึง 1 วัน 1 คืน จึงต้องมีการนิมนต์พระจากวัดต่าง ๆ มาช่วยกันเทศน์ ในเช้าวันดังกล่าวจะมีการตั้งบาตรและตามด้วยการสะเดาะเคราะห์บ้านเมือง นำเครื่องเซ่นไหว์ไปลอยเคราะห์ในลำน้ำหมัน

 

แหล่งความรู้เพิ่มเติม


        ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมา ความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ลำดับพิธีและผู้นำพิธี รวมถึงความหมายของการจัดงานละเล่น และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในงานบุญหลวง ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย 

        นอกจากนี้ยังมีประเพณีผีขนน้ำ ในบ้านนาซ่าว ที่มีความใกล้เคียงกับผีตาโขนและงานบุญหลวง ชาวบ้าน ณ นาซ่าว อำเภอด่านซ้ายจัดงานประเพณี ผีขนน้ำ ในเดือนหก ตามความเชื่อที่ว่า จะช่วยนำน้ำจากฟ้ามาใช้เพาะปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษตรจะอุดมสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งยังเป็นโอกาสของการทำพิธี เลี้ยงบ้านหรือเลี้ยงผีปู่ตาเพื่อบอกกล่าวปู่ตาหรือเจ้าปู่ ผีผู้รักษาภูมิบ้าน ให้ดูแลชาวบ้านเมื่อลงทำนา ทำไร่ ผีปู่ตาในทีนี้ก็คือ “เจ้าพ่อแสนเมือง” ที่คอยดูแลคุ้มครองให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข

        ปัจจุบัน มีการจัดงานอย่างเป็นทางการมากขึ้น ขบวนแห่ผีขนน้ำกอปรขึ้นจากตัวแทนของหมู่บ้านที่ระบุที่มาอย่างเป็นระบบ ขบวนพิธียังมีการเล่นดนตรีประกอบอย่างครื้นเครง โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่วัดโพธิ์ศรี มีโรงทาน การออกร้านขายของ มีงานบุญทอดผ้าป่า และมีมหรสพยามค่ำคืน

        นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์ หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สำหรับการค้นคว้าเพิ่มเติม ดังนี้


พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองด่านซ้าย(ผีตาโขน)




        พิพิธภัณฑ์ผีตาโขนเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ภายในนำเสนอเรื่องราวประวัติความเป็นมาของผีตาโขน กระบวนการทําหน้ากากผีตาโขน อันเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีและวัฒนธรรมของผู้คนในอําเภอด่านซ้าย นอกจากนี้ยังเปิดวีดิทัศน์เกี่ยวกับงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนให้รับชม ในระหว่างการจัดงานบุญหลวง พิพิธภัณฑ์จัดกิจกรรมระบายสีหน้ากากผีตาโขนฟรี และได้เป็นของขวัญกลับบ้าน นับเป็นสถานที่ที่เหมาะสมกับการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับผีตาโขน ประเพณีของคนด่านซ้ายอย่างดี


ผีตาโขน : สนุกสนานวันบุญหลวง 



        หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย “การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมกรณีศึกษาบ้านด่ายซ้าย นาเวียง และนาหอ ลุ่มน้ำหมัน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย” โครงการอบรมและวิจัยเชิงปฏิบัติการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและชาติพันธุ์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เนื้อหาเป็นการศึกษาระบบความเชื่อของชาวบ้านบริเวณบ้านด้านซ้าย โดยมี นพ. ภักดี สืบนุการณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลด่านซ้าย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยในพื้นที่ภายใต้การติดตามชี้แนะของ รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะ เรียกได้ว่าหนังสือสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาและความเชื่อในสังคมด่านซ้าย ผ่านรูปแบบสมุดภาพนิทานตำนานท้องถิ่น


ผีตาโขน มรดกแผ่นดินศรีสองรัก   



        หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงบอกเล่าประเพณีการเล่นผีตาโขน แต่พยายามให้คำอธิบายถึงบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดเลย เมืองที่เรียกว่าเป็นดานหน้าในหุบเขา “ด่านซ้าย” นับเป็นชุมชนสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างคนสองฝั่งแม่น้ำโขงผ่านความเชื่อและพิธีกรรม ผีตาโขนในฐานะมรดกวัฒนธรรมจึงสะท้อนพุทธศาสนาและความเชื่อในวิญญาณ แม้ในปัจจุบันการท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนในการเพิ่มสีสันให้กับพิธี แต่คงไว้ซึ่งความหมายต่อชุมชน


ผีตาโขน :ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

         งานวิจัยฉบับนี้ให้ความสำคัญกับความเป็นมา องค์ประกอบ และวิธีการเล่นผีตาโขน รวมถึงการศึกษาคุณค่าทางสังคมของการเล่นผีตาโขนที่มีต่อสังคม ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าการเล่นผีตาโขนในประเพณีบุญหลวงมีคติความเชื่อแบบผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธ ศาสนาพราหณ์ และภูติผีปีศาจ ตลอดจนอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ตามโลกทัศน์ของชาวอำเภอด่านซ้าย จุดมุ่งหมายของการเล่นจึงเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจ การเล่นยังช่วยรักษาบรรทัดฐานและสร้างเอกภาพในสังคม เพราะผู้คนศรัทธาในสิ่งเดียวกัน การพัฒนาการละเล่นผีตาโขนจนกลายเป็นเทศกาลนั้น นับเป็นการกระจายรายได้ภายในท้องถิ่นจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาชมงานประเพณีมากขึ้นในแต่ละปี