ไทใหญ่ : ว่าด้วยเครื่องแต่งกาย

คำสำคัญ :
ไทใหญ่ : ว่าด้วยเครื่องแต่งกาย


        งานชิ้นนี้ให้ความสำคัญกับการเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนฉานสู่เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน โดยมี “บ้านเทอดไทย” จังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ศึกษา “ความเป็นไทใหญ่ก่อเกิดและเป็นบทสนทนากับกลุ่มคนทั้งในประเทศพม่า ซึ่งเป็นบ้านเกิด และในไทยซึ่งเป็นสถานที่ปลายทางของการตั้งถิ่นฐานใหม่ ฉะนั้น ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทจึงไม่ได้เกิดขึ้นมาเพียงเพราะการสืบทอดมรดกวัฒนธรรมดังที่มักอธิบายกัน หากแต่เป็นการตอบโต้กับสถานการณ์ โดยเฉพาะการเมืองของทั้งสองฝั่งที่ส่งอิทธิพลต่อการก่อร่างสร้างความเป็นไทใหญ่ ฉะนั้น ชาติพันธุ์สำนึกที่ McLean อ่านผ่านผ้าทอและเครื่องแต่งกายของชาวฉานต่างถิ่น จึงเรียกว่า “อัตลักษณ์ข้ามรัฐชาติ (พม่า-ไทย)” ของความเป็นไท (ใหญ่)

        เครื่องแต่งกายนับเป็นสัญลักษณ์ที่เห็นและเด่นชัดในการจำแนกแยกแยะและแสดงถึงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ชัดเจน กลายเป็นสิ่งที่ระบุเรื่องราวการเดินทางอพยพและวัฒนธรรมร่วมสมัย เพราะเครื่องแต่งกายแบบไทใหญ่ดังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ อาศัยการหยิบยืมรูปแบบเครื่องแต่งกายกลุ่มไทต่าง ๆ  

        การสร้างอัตลักษณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์สำคัญ ๆ 2-3 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ข้อตกลงปางโหลง ค.ศ.1947 จนถึงการสถาปนาสหภาพพม่า ค.ศ. 1948 การสังหารเจ้าฟ้าของฉานเป็นจำนวนมาก เมื่อนายพลเนวินครองอำนาจตั้งแต่ ค.ศ.1962 จุดแตกหักที่สำคัญนั่นคือ นโยบายการสร้างพม่าที่บังคับให้กลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่พม่าละทิ้งภาษาและวัฒนธรรมของตน นับแต่ทศวรรษ 1960 กับ 1970 เกิดการปะทุกของกลุ่มต่อต้านตามตะเข็บชายแดน เกิดการลักลอบค้าฝิ่น เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า กลุ่มคนจำนวนหนึ่งเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อตั้งถิ่นฐานในเชียงใหม่และเชียงราย หลายคนเคยเป็นสมาชิกของกลุ่มกองทัพกู้ชาติต่าง ๆ ช่วงเวลานั้น ภาพลักษณ์ของคนอพยพไม่สู้ดีนัก จากอิทธิพลของพ่อค้ายา “ขุนส่า” แต่ในเหตุการณ์กลับเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดกระบวนการปราบปรามยาเสพติดที่รัฐบาลไทยร่วมกับกองทัพสหรัฐฯ จนทำให้ราชายาเสพติดต้องออกจากไทย

        แรงปะทะสำคัญที่ผสมโรงเข้ากับกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ไทใหญ่ มาจาก 2 ส่วน

        หนึ่ง กระบวนการกลายเป็นไทย (Thai-ization) ที่สังคมใหญ่พยายามกลืนกลายคนต่างชาติพันธุ์ให้อยู่ในระบบวัฒนธรรมไทย (ชาติ ศาสน์ กษัตริย์) นับแต่ทศวรรษ 1980 ที่มีกระบวนการอย่างชัดเจนในระบบการศึกษาและศาสนา รวมทั้งโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่เข้ามาในรูปแบบของการส่งเสริมอาชีพ

        สอง ตั้งแต่ ค.ศ. 2002เริ่มการรื้อฟื้นวัฒนธรรมความเป็นฉาน (Shan-ization) กองกำลังฉานสามารถพิชิตชัยชนะในหลายสมรภูมิ จากความช่วยเหลือของชาวบ้านเทิดไทย นับเป็นเงื่อนไขที่สร้างความผูกพันของคนไทใหญ่ในบ้านเทอดไทยและในรัฐฉาน

เครื่องแต่งกายร่วมสมัย


        ดังที่กล่าวไว้แล้ว ปัจจุบันสิ่งที่เรียกว่าเป็นเครื่องแต่งกายไทใหญ่มาจากการผสมผสานของกลุ่มคนต่าง ๆ ที่อพยพมาจากรัฐฉาน ไม่มีลักษณะของเสื้อ ผ้านุ่ง หรือกางเกงที่เฉพาะ หากแต่เมื่อนำมาเป็นเครื่องแต่งกายในงานสำคัญระดับหมู่บ้านและชุมชนแล้ว จะกลายเป็นเครื่องแต่งกายของคนไทใหญ่ในประเทศไทย ในที่นี้  McLean ศึกษาเปรียบเทียบการแต่งกายของคนไทหลง ไทเหมา ไทงาน ไทเขินในรัฐฉาน เพื่อนำมาอธิบายถึงการคงอยู่และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการแต่งกายที่เรียกว่า “ไทใหญ่” นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับกลุ่มคนในแต่ละช่วงวัย เพราะคนอพยพและลูกหลานนั้นเติบโตมาในสังคมด้วยบริบททางประวัติศาสตร์แตกต่างกัน

        กลุ่มคนสูงวัยที่เน้นการสืบสานประเพณี ระบุตัวตนกับกลุ่มไทย่อยต่าง ๆ ที่อพยพมาจากรัฐฉาน  กลุ่มคนอาวุโสจึงนุ่งซิ่นขาวและเสื้อขาวแบบไทใหญ่ในโอกาสที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ส่วนชายสูงวัยนุ่งกางเกงสีขาวและเสื้อเชิ้ตขาว และสวมเครื่องศีรษะในโอกาสพิเศษทางวัฒนธรรม คนในวัยนี้ยังใส่เสื้อผ่าหน้า แขนยาวทรกระบอก เรียกว่า เสื้อ ต้องแตก (ท้องแตก) ติดกระดุมจียนเรียงตามแนวสาบเสื้อ ในชีวิตประจำวันนุ่งซิ่นทอมือที่เรียบง่ายสีดำล้วนไม่มีลวดลาย

        ผู้ใหญ่ช่วงวัย 30-50 ปี แม้กลุ่มเหล่านี้เกิดและเติบโตในฉาน แต่ต้องหนีออกจากพื้นที่ มาตั้งรกรากและมีครอบครัวในบ้านเทอดไทย พวกเขาเติบโตในยุคกระบวนการกลายเป็นไทย จึงไม่เน้นการแสดงลักษณะเฉพาะของกลุ่ม หญิงนุ่งเสื้อยืดและโสร่งที่หาซื้อได้จากตลาด ส่วนชายนุ่งเสื้อยืดกับกางเกงที่หาได้จากตลาดเช่นกัน พวกเขาสวมเครื่องแต่งกายไทใหญ่ในโอกาสพิเศษเท่านั้น โดยหาซื้อเครื่องแต่งกายแบบไทเหมาจากกลุ่มแม่บ้าน

        ผู้ใหญ่ช่วงอายุ 1830 ปีเป็นกลุ่มที่เกิดและเติบโตในบ้านเทอดไทย แต่มีจำนวนไม่มากนักในหมู่บ้านเพราะเดินทางออกไปทำงานนอกพื้นที่ บางส่วนได้แต่งงานกับคนไทยและตั้งรกรากในเมืองใหญ่ กลุ่มดังกล่าวกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์เพื่อเยี่ยมเยือนครอบครัว และไม่สวมเครื่องแต่งกายตามประเพณี เมื่ออยู่ในหมู่บ้าน หญิงจะใส่เสื้อแขนสั้นตามแบบที่นิยมทั่วไป นุ่งซิ่นสำเร็จหรือผ้าถุงที่หาซื้อได้ในตลาด

        ส่วนกลุ่มที่มีอายุน้อยที่สุด หรือต่ำกว่า 18-20ปี กลับเป็นกลุ่มที่สร้างอัตลักษณ์ไทใหญ่ พวกเขาเกิดความผูกพันกับคนรุ่นปู่ย่าตายาย มักระบุว่าตนเองมีสัญชาติไทย เชื้อชาติไทใหญ่ ทั้งเด็กหนุ่มและเด็กสาวสวมเสื้อผ้าไทใหญ่ในโอกาสสำคัญและเข้าใจถึงความหลากหลายของกลุ่มไทที่สูญหายไป บางส่วนยังสังกัดกลุ่มฟื้นฟูวัฒนธรรมที่มีกิจกรรมในการเรียนรู้วัฒนธรรมของบรรพชนอย่างชัดเจน

        McLean บันทึกภาพของเครื่องแต่งกายในวาระต่าง ๆ ตามเทศกาลของไทใหญ่ตามปฏิทินจันทรคติ ประกอบด้วยวันเลินสาม (Wan Lern Saam) ในเดือนกุมภาพันธ์ เชื่อกันว่าเป็นการเริ่มต้นฤดูร้อน ปอยสอนน้ำ (Poy son Nam) หรือ สงกรานต์ และปอยโมกไฟ (Poy Moak Fai) หรือบุญบั้งไฟ) ในเดือนเมษายน เข้าวา (Kao Waa) หรือเข้าพรรรษา, ออกวา (Oak Waa) หรือออกพรรษา ยี่เป็งหรือลอยกระทง และยังมีงานที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการในวาระอื่น ๆ เช่น การประดิษฐานพระพุทธรูป การต้อนรับครูบาบุญชุ่มที่ผู้คนให้ความนับถือศรัทธา

        ภาพต่าง ๆ ที่ผู้เขียนบันทึกไว้ ได้รับการจัดพิมพ์สี่สีไว้ท้ายเล่มประกอบให้ผู้ที่สนใจสังเกตเครื่องแต่งกายไทใหญ่อย่างมีพินิจพิเคราะห์ เครื่องแต่งกายไทใหญ่ในประเทศไทยจึงไม่ได้เกิดจากการรักษาประเพณี แต่เป็นการผสมผสานและคงความแตกต่างระหว่างกลุ่มคนในช่วงวัยที่แตกต่างในหมู่บ้าน ด้วยเงื่อนไขทางการเมืองและวัฒนธรรม ความน่าสนใจของการทำความเข้าใจเครื่องแต่งกายดังเช่นในงานเขียนเล่มนี้คลี่ให้เห็นบริบททางสังคมและประวัติศาสตร์ที่จะช่วยให้เห็นความเคลื่อนไหวของเครื่องนุ่งห่ม ที่ไม่ใช่แบบแผนที่ตายตัวแต่ปรับเปลี่ยนตามสภาพการณ์และไม่หยุดนิ่ง

 

 

ภาพประกอบจากคลังจดหมายเหตุมานุษยวิทยา



เด็กผู้หญิงชาวไทใหญ่ในแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย มกราคม พ.ศ. 2511           


   

เด็กผู้หญิงสองคนแต่งตัวในชุดไทใหญ่, อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย มกราคม พ.ศ. 2511               



ผู้ชายแก่ชาวไทใหญ่คนที่ถวายงาช้างแด่พระเจ้าอยู่หัว, อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย มกราคม พ.ศ. 2511               




หมายเหตุ ภาพประกอบจากฐานจดหมายเหตุมานุษยวิทยาของ ศ.คายส์ ที่ศึกษาไทใหญ่ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

สำหรับผู้สนใจอ่านงานวิเคราะห์ฉบับเต็ม โปรดติดตามได้ที่ ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย McLean, Maya. Dress and Tai Yai Identity in Thoed Thai, Northern Thailand. Studies in the material cultures of Southeast Asia ; -- no. 18 (Bangkok : White Lotus, 2012)

 

ไทใหญ่ : ว่าด้วยเครื่องแต่งกาย


        งานชิ้นนี้ให้ความสำคัญกับการเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนฉานสู่เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน โดยมี “บ้านเทอดไทย” จังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ศึกษา “ความเป็นไทใหญ่ก่อเกิดและเป็นบทสนทนากับกลุ่มคนทั้งในประเทศพม่า ซึ่งเป็นบ้านเกิด และในไทยซึ่งเป็นสถานที่ปลายทางของการตั้งถิ่นฐานใหม่ ฉะนั้น ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทจึงไม่ได้เกิดขึ้นมาเพียงเพราะการสืบทอดมรดกวัฒนธรรมดังที่มักอธิบายกัน หากแต่เป็นการตอบโต้กับสถานการณ์ โดยเฉพาะการเมืองของทั้งสองฝั่งที่ส่งอิทธิพลต่อการก่อร่างสร้างความเป็นไทใหญ่ ฉะนั้น ชาติพันธุ์สำนึกที่ McLean อ่านผ่านผ้าทอและเครื่องแต่งกายของชาวฉานต่างถิ่น จึงเรียกว่า “อัตลักษณ์ข้ามรัฐชาติ (พม่า-ไทย)” ของความเป็นไท (ใหญ่)

        เครื่องแต่งกายนับเป็นสัญลักษณ์ที่เห็นและเด่นชัดในการจำแนกแยกแยะและแสดงถึงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ชัดเจน กลายเป็นสิ่งที่ระบุเรื่องราวการเดินทางอพยพและวัฒนธรรมร่วมสมัย เพราะเครื่องแต่งกายแบบไทใหญ่ดังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ อาศัยการหยิบยืมรูปแบบเครื่องแต่งกายกลุ่มไทต่าง ๆ  

        การสร้างอัตลักษณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์สำคัญ ๆ 2-3 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ข้อตกลงปางโหลง ค.ศ.1947 จนถึงการสถาปนาสหภาพพม่า ค.ศ. 1948 การสังหารเจ้าฟ้าของฉานเป็นจำนวนมาก เมื่อนายพลเนวินครองอำนาจตั้งแต่ ค.ศ.1962 จุดแตกหักที่สำคัญนั่นคือ นโยบายการสร้างพม่าที่บังคับให้กลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่พม่าละทิ้งภาษาและวัฒนธรรมของตน นับแต่ทศวรรษ 1960 กับ 1970 เกิดการปะทุกของกลุ่มต่อต้านตามตะเข็บชายแดน เกิดการลักลอบค้าฝิ่น เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า กลุ่มคนจำนวนหนึ่งเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อตั้งถิ่นฐานในเชียงใหม่และเชียงราย หลายคนเคยเป็นสมาชิกของกลุ่มกองทัพกู้ชาติต่าง ๆ ช่วงเวลานั้น ภาพลักษณ์ของคนอพยพไม่สู้ดีนัก จากอิทธิพลของพ่อค้ายา “ขุนส่า” แต่ในเหตุการณ์กลับเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดกระบวนการปราบปรามยาเสพติดที่รัฐบาลไทยร่วมกับกองทัพสหรัฐฯ จนทำให้ราชายาเสพติดต้องออกจากไทย

        แรงปะทะสำคัญที่ผสมโรงเข้ากับกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ไทใหญ่ มาจาก 2 ส่วน

        หนึ่ง กระบวนการกลายเป็นไทย (Thai-ization) ที่สังคมใหญ่พยายามกลืนกลายคนต่างชาติพันธุ์ให้อยู่ในระบบวัฒนธรรมไทย (ชาติ ศาสน์ กษัตริย์) นับแต่ทศวรรษ 1980 ที่มีกระบวนการอย่างชัดเจนในระบบการศึกษาและศาสนา รวมทั้งโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่เข้ามาในรูปแบบของการส่งเสริมอาชีพ

        สอง ตั้งแต่ ค.ศ. 2002เริ่มการรื้อฟื้นวัฒนธรรมความเป็นฉาน (Shan-ization) กองกำลังฉานสามารถพิชิตชัยชนะในหลายสมรภูมิ จากความช่วยเหลือของชาวบ้านเทิดไทย นับเป็นเงื่อนไขที่สร้างความผูกพันของคนไทใหญ่ในบ้านเทอดไทยและในรัฐฉาน

เครื่องแต่งกายร่วมสมัย


        ดังที่กล่าวไว้แล้ว ปัจจุบันสิ่งที่เรียกว่าเป็นเครื่องแต่งกายไทใหญ่มาจากการผสมผสานของกลุ่มคนต่าง ๆ ที่อพยพมาจากรัฐฉาน ไม่มีลักษณะของเสื้อ ผ้านุ่ง หรือกางเกงที่เฉพาะ หากแต่เมื่อนำมาเป็นเครื่องแต่งกายในงานสำคัญระดับหมู่บ้านและชุมชนแล้ว จะกลายเป็นเครื่องแต่งกายของคนไทใหญ่ในประเทศไทย ในที่นี้  McLean ศึกษาเปรียบเทียบการแต่งกายของคนไทหลง ไทเหมา ไทงาน ไทเขินในรัฐฉาน เพื่อนำมาอธิบายถึงการคงอยู่และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการแต่งกายที่เรียกว่า “ไทใหญ่” นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับกลุ่มคนในแต่ละช่วงวัย เพราะคนอพยพและลูกหลานนั้นเติบโตมาในสังคมด้วยบริบททางประวัติศาสตร์แตกต่างกัน

        กลุ่มคนสูงวัยที่เน้นการสืบสานประเพณี ระบุตัวตนกับกลุ่มไทย่อยต่าง ๆ ที่อพยพมาจากรัฐฉาน  กลุ่มคนอาวุโสจึงนุ่งซิ่นขาวและเสื้อขาวแบบไทใหญ่ในโอกาสที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ส่วนชายสูงวัยนุ่งกางเกงสีขาวและเสื้อเชิ้ตขาว และสวมเครื่องศีรษะในโอกาสพิเศษทางวัฒนธรรม คนในวัยนี้ยังใส่เสื้อผ่าหน้า แขนยาวทรกระบอก เรียกว่า เสื้อ ต้องแตก (ท้องแตก) ติดกระดุมจียนเรียงตามแนวสาบเสื้อ ในชีวิตประจำวันนุ่งซิ่นทอมือที่เรียบง่ายสีดำล้วนไม่มีลวดลาย

        ผู้ใหญ่ช่วงวัย 30-50 ปี แม้กลุ่มเหล่านี้เกิดและเติบโตในฉาน แต่ต้องหนีออกจากพื้นที่ มาตั้งรกรากและมีครอบครัวในบ้านเทอดไทย พวกเขาเติบโตในยุคกระบวนการกลายเป็นไทย จึงไม่เน้นการแสดงลักษณะเฉพาะของกลุ่ม หญิงนุ่งเสื้อยืดและโสร่งที่หาซื้อได้จากตลาด ส่วนชายนุ่งเสื้อยืดกับกางเกงที่หาได้จากตลาดเช่นกัน พวกเขาสวมเครื่องแต่งกายไทใหญ่ในโอกาสพิเศษเท่านั้น โดยหาซื้อเครื่องแต่งกายแบบไทเหมาจากกลุ่มแม่บ้าน

        ผู้ใหญ่ช่วงอายุ 1830 ปีเป็นกลุ่มที่เกิดและเติบโตในบ้านเทอดไทย แต่มีจำนวนไม่มากนักในหมู่บ้านเพราะเดินทางออกไปทำงานนอกพื้นที่ บางส่วนได้แต่งงานกับคนไทยและตั้งรกรากในเมืองใหญ่ กลุ่มดังกล่าวกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์เพื่อเยี่ยมเยือนครอบครัว และไม่สวมเครื่องแต่งกายตามประเพณี เมื่ออยู่ในหมู่บ้าน หญิงจะใส่เสื้อแขนสั้นตามแบบที่นิยมทั่วไป นุ่งซิ่นสำเร็จหรือผ้าถุงที่หาซื้อได้ในตลาด

        ส่วนกลุ่มที่มีอายุน้อยที่สุด หรือต่ำกว่า 18-20ปี กลับเป็นกลุ่มที่สร้างอัตลักษณ์ไทใหญ่ พวกเขาเกิดความผูกพันกับคนรุ่นปู่ย่าตายาย มักระบุว่าตนเองมีสัญชาติไทย เชื้อชาติไทใหญ่ ทั้งเด็กหนุ่มและเด็กสาวสวมเสื้อผ้าไทใหญ่ในโอกาสสำคัญและเข้าใจถึงความหลากหลายของกลุ่มไทที่สูญหายไป บางส่วนยังสังกัดกลุ่มฟื้นฟูวัฒนธรรมที่มีกิจกรรมในการเรียนรู้วัฒนธรรมของบรรพชนอย่างชัดเจน

        McLean บันทึกภาพของเครื่องแต่งกายในวาระต่าง ๆ ตามเทศกาลของไทใหญ่ตามปฏิทินจันทรคติ ประกอบด้วยวันเลินสาม (Wan Lern Saam) ในเดือนกุมภาพันธ์ เชื่อกันว่าเป็นการเริ่มต้นฤดูร้อน ปอยสอนน้ำ (Poy son Nam) หรือ สงกรานต์ และปอยโมกไฟ (Poy Moak Fai) หรือบุญบั้งไฟ) ในเดือนเมษายน เข้าวา (Kao Waa) หรือเข้าพรรรษา, ออกวา (Oak Waa) หรือออกพรรษา ยี่เป็งหรือลอยกระทง และยังมีงานที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการในวาระอื่น ๆ เช่น การประดิษฐานพระพุทธรูป การต้อนรับครูบาบุญชุ่มที่ผู้คนให้ความนับถือศรัทธา

        ภาพต่าง ๆ ที่ผู้เขียนบันทึกไว้ ได้รับการจัดพิมพ์สี่สีไว้ท้ายเล่มประกอบให้ผู้ที่สนใจสังเกตเครื่องแต่งกายไทใหญ่อย่างมีพินิจพิเคราะห์ เครื่องแต่งกายไทใหญ่ในประเทศไทยจึงไม่ได้เกิดจากการรักษาประเพณี แต่เป็นการผสมผสานและคงความแตกต่างระหว่างกลุ่มคนในช่วงวัยที่แตกต่างในหมู่บ้าน ด้วยเงื่อนไขทางการเมืองและวัฒนธรรม ความน่าสนใจของการทำความเข้าใจเครื่องแต่งกายดังเช่นในงานเขียนเล่มนี้คลี่ให้เห็นบริบททางสังคมและประวัติศาสตร์ที่จะช่วยให้เห็นความเคลื่อนไหวของเครื่องนุ่งห่ม ที่ไม่ใช่แบบแผนที่ตายตัวแต่ปรับเปลี่ยนตามสภาพการณ์และไม่หยุดนิ่ง

 

 

ภาพประกอบจากคลังจดหมายเหตุมานุษยวิทยา



เด็กผู้หญิงชาวไทใหญ่ในแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย มกราคม พ.ศ. 2511           


   

เด็กผู้หญิงสองคนแต่งตัวในชุดไทใหญ่, อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย มกราคม พ.ศ. 2511               



ผู้ชายแก่ชาวไทใหญ่คนที่ถวายงาช้างแด่พระเจ้าอยู่หัว, อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย มกราคม พ.ศ. 2511               




หมายเหตุ ภาพประกอบจากฐานจดหมายเหตุมานุษยวิทยาของ ศ.คายส์ ที่ศึกษาไทใหญ่ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

สำหรับผู้สนใจอ่านงานวิเคราะห์ฉบับเต็ม โปรดติดตามได้ที่ ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย McLean, Maya. Dress and Tai Yai Identity in Thoed Thai, Northern Thailand. Studies in the material cultures of Southeast Asia ; -- no. 18 (Bangkok : White Lotus, 2012)